ธรณีวิทยา

Geology

เพื่อให้นักศึกษารู้ถึงการเกิดของดิน ลักษณะโครงสร้างและชื่อเรียกของชั้นเปลือกโลกตามหลักการทางธรณีวิทยา รู้จักแร่ประกอบในมวลดิน สามารถเรียกชื่อของหินอัคนี หินชั้น และหินแปร สามารถเข้าใจและชื่อลักษณะทางภูมิประเทศ ที่เกิดจากการกระทำของตัวการต่างๆได้ อาทิ แรงโน้มถ่วงของโลก ลม ธารน้ำแข็ง น้ำใต้ดิน น้ำผิวดิน คลื่น เป็นต้น สามารถทราบลักษณะธรณีโครงสร้าง สามารถอ่านและแปรความหมายจากแผนที่ธรณีวิทยาได้ ทราบลักษณะทางธรณีวิทยาของประเทศไทย และสามารถนำความรู้ด้านธรณีวิทยามาประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมได้ เช่น งานตรวจสอบที่ตั้งแหล่งก่อสร้าง งานขุดเจาะแหล่งน้ำบาดาล งานเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ เป็นต้น
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ความเข้าใจในวิชาธรณีวิทยา เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการศึกษาได้
ศึกษาเกี่ยวกับการสำรวจทางธรณีวิทยาที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมโยธา ลักษณะโครงสร้างและชื่อเรียกของชั้นเปลือกโลกตามหลักการธรณีวิยา ลักษณะการเกิดรอยเคลื่อนตัวของชั้นเปลือกโลกตามหลัการธรณีวิทยา ลักษณะการเกิดร้อยเคลื่อนตัวของชั้นเปลือกโลก ลักษณะธรณีวิทยาที่เหมาะสมกับที่ตั้งอ่างเก็บน้ำ เขื่อน และการก่อสร้างงานวิศวกรรมโยธาขนาดใหญ่ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรณีวิทยาในงานชลประทาน และการขุดเจาะน้ำบาดาล
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาในห้องเรียน
- นักศึกษาสอบถามได้ในห้องเรียน นอกเวลาเรียนที่ห้องพักอาจารย์
1.1.1  มีวินัยตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.2  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่า และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.3  สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคลองค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม
1.1.4  มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพและมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาจา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
1.2.1  ลงชื่อเข้าเรียนทุกครั้ง
1.2.2  แจ้งกติกา ข้อตกลง มารยาทในการเรียนการสอนในชั่วโมงแรก
1.2.3  มอบหมายเอกสารอ่านประกอบ ภาพ วีดีทัศน์ ที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนเพื่อเพิ่มเติมประสบการณ์
1.2.4  มอบหมายแบบฝึกหัด รายงาน กำหนดวันส่ง การนำเสนอผลงาน ติดตามผล
1.2.5  บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา การกระทำผิดจรรยาบรรณวิศวกร
1.3.1  พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2  มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3  ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
2.1.1  มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์
2.1.2  มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรมโยธา
2.1.3  สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.4  สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
2.1.5  สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน โดยการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษาและมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอการศึกษาโดยใช้ปัญหาและโครงงาน Problem – based Learning และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1  ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2  ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูลกรณีศึกษาหรือโจทย์จาก Problem– based Learning
3.1.1  มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
3.1.2  สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.3  สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.4  มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
3.1.5  สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้ และเทคโนโลยี
3.2.1  มอบให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาและการ นำเสนอผลงาน อภิปรายกลุ่ม
3.2.2  ใช้กรณีศึกษาทางการประยุกต์ในวิศวกรรมโยธา
3.2.3  วิเคราะห์กรณีศึกษา การวิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎีที่เหมาะสม
3.2.4  จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง
3.3.1  สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวัดผลตามจุดประสงค์การสอน
3.3.2  วัดผลจากการประเมินโครงการ การนำเสนอผลงาน
3.3.3  สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1  สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิขาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.2  รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภา สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.1.3  มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.2.1  จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2  มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น อ่านบทความงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาการใช้ทฤษฎีที่เรียนมาแก้ปัญหาโจทย์ที่นักศึกษาสนใจ ต้องการทราบคำตอบ และมีวิธีตรวจสอบความถูกต้อง
4.2.3  ชี้ให้เห็นความสำคัญของความปลอดภัยในการทำงานแลการรักษาสภาแวดล้อมต่อสังคม
4.3.1  ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2  ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.1.1  มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
5.1.2  มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
5.1.3  สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.1.4  มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
5.1.5  สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรมเพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2.1  มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจากเว็บไซต์ ทำแบบฝึกหัด และตรวจสอบความถูกต้อง
5.2.2  นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1  ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2  ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
6.1.1  มีทักษะในการบริหารจัดการทั้งเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.1.2  มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
6.2.1  มีการสาธิตการปฏิบ้ติงานโดยผู้เชี่ยวชาญ
6.2.2 จัดกิจกรรมกลุ่ม โดยมอบหมายงานให้บริหารจัดการเสมือนการออกแบบในการทำงานจริง
6.3.1  ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอ ตรวจสอบความถูกต้อง
6.3.2  ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGCV703 ธรณีวิทยา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.6,1.7 , 2.1,2.4-2.6,3.2 สอบกลางภาค , สอบปลายภาค 8 , 17 35% , 35%
2 1.1,1.6,1.7,2.1 , 2.4-2.6,3.2 , 4.1-4.6,5.3-5.4 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอรายงาน การทำงานกลุ่มและผลงานการอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.1-1.7 , 3.1 การเข้าชั้นเรียน , การมีส่วนร่วม อภิปราย