เครื่องจักรกลไฟฟ้า 2

Electrical Machines 2

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้าง หลักการและการวิเคราะห์เครื่องจักรกลไฟฟ้ากระแสสลับ เครื่องจักรกลไฟฟ้าแบบซิงโครนัส เครื่องจักรกลไฟฟ้าแบบเหนี่ยวนำหนึ่งเฟสและสามเฟส การป้องกันเครื่องจักรกลไฟฟ้า
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจในลักษณะหลักการทำงานของเครื่องจักรกลไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพที่ดีกว่าเดิม ได้ศึกษาและประยุกต์ใช้เครื่องจักรกลไฟฟ้าชนิดใหม่ๆ และอุปกรณ์ป้องกันเครื่องจักรกลไฟฟ้าที่มีการพัฒนาตามยุคสมัย
ศึกษาเกี่ยวกับเกี่ยวกับโครงสร้าง หลักการและการวิเคราะห์เครื่องจักรกลไฟฟ้ากระแสสลับ เครื่องจักรกลไฟฟ้าแบบซิงโครนัส เครื่องจักรกลไฟฟ้าแบบเหนี่ยวนำหนึ่งเฟสและสามเฟส การป้องกันเครื่องจักรกลไฟฟ้า
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาด้วยตนเอง
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม และซื่อสัตย์สุจริต
1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.1.3 เคารพในระเบียบและกฎเกณฑ์ขององค์กรและสังคม
1.2.1 สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมแลความซื่อสัตย์สุจริตทั้งตนเองและผู้อื่น
1.2.2 ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา การตั้งใจเรียน
1.2.3 ปฏิบัติตามกฎระเบียบ และข้อบังคับขององค์กรและสังคม
1.3.1 ประเมินปริมาณการทุจริตในการสอบ
1.3.2 การขานชื่อ การให้คะแนนการเข้าชั้นเรียน
1.3.3 สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆอย่างต่อเนื่อง
1.3.4 ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจคุณสมบัติ หลักการทำงานของอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ
2.1.2 สามารถนำอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำมาประยุกต์ใช้ในงานทางวิศวกรรมไฟฟ้า
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม
2.2.1 มุ่งเน้นการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบแนวคิดและหลักการนำเอาวิศวกรรมพื้นฐานไปใช้งานและการประยุกต์ใช้กับวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง
2.2.2 ใช้การสอนหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักทางทฤษฎีและตัวอย่างลักษณะการนำไปใช้งาน มาประกอบในการเรียน เพื่อให้เกิดองค์ความรู้
2.2.3 มอบหมายให้ทำรายงานในเชิงบูรณาการโดยจำลองสถานการณ์และรูปแบบความต้องการที่เกี่ยวข้องกับทางวิศวกรรมไฟฟ้า
2.2.4 มอบหมายให้ทำรายงานการวิเคราะห์และการแก้ไขโดยการจำลองการทำงานด้วยโปรแกรมจำลองผลการทำงานก่อนการสร้างจริง
 
2.3.1 พิจารณาจากการตอบคำถามในชั้นเรียน
2.3.2 ประเมินจากผลจากการสอบกลางภาคและปลายภาค
2.3.3 ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ 2.3.4 ประเมินจากการใช้เครื่องมือวัดเพื่อทดสอบหาคุณสมบัติของอุปกรณ์
3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
3.1.2 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ
3.1.3 มีความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม
3.1.4 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง
3.2.1 มอบหมายให้ทำรายงานที่เกี่ยวกับกระบวนการคิดอย่างมีระบบและรายงานหน้าชั้นเรียน
3.2.2 มอบหมายงานที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์และการแก้ไข
3.3.3 ส่งเสริมการเรียนรู้ในการใช้องค์ความรู้ได้อย่างเหมาะสม
3.2.4 มอบหมายงานที่ให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการค้นคว้า
3.3.1 ประเมินจากผลจากรายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน
3.3.2 ประเมินจากผลงานที่มอบหมาย
3.3.3 ประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ
3.3.4 ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
4.1.1 สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
4.1.2 มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองและที่ได้รับมอบหมาย
4.2.1 ส่งเสริมการเคารพสิทธิและการรับฟังผู้อื่นด้วยเหตุผล
4.2.2 ปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตนเองและที่ได้รับมอบหมาย
4.3.1 ประเมินผลจากแบบประเมินตนเอง
4.3.2 ติดตามการทำงานร่วมกับสมาชิกกลุ่มของนักศึกษาเป็นระยะ พร้อมบันทึกพฤติกรรมเป็นรายบุคคล
5.1.1 มีทักษะการใช้ภาษาไทยในการอธิบายหลักการตลอดจนการสื่อสารความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.1.2 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม
5.1.3 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี
5.1.4 มีทักษะในการใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์มาแก้ปัญหา
5.2.1 มอบหมายงานค้นคว้าองค์ความรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆและให้นักศึกษานำเสนอหน้าชั้นเรียน
5.2.2 การใช้ศักยภาพทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย
5.2.3 มอบหมายงานโดยการวิเคราะห์สถานการณ์จำลองและใช้ศักยภาพทางคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอผลงาน
5.2.4 มอบหมายงานวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สารสนเทศมาทำการสืบค้นในเรื่องการนำคณิตศาสตร์มาใช้ในการแก้ไขปัญหา
5.3.1 ประเมินจากรายงานและการใช้ภาษาไทยที่กระชับและเข้าใจได้ง่ายโดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
5.3.2 ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงาน
5.3.3 ประเมินจากทักษะในการวิเคราะห์สถานการณ์จำลองและการนำเสนอผลงาน
5.3.4 ประเมินจากรายงาน
การทำงานในสถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นไม่ได้ใช้เพียงแค่หลักทฤษฎี แต่ส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความสำคัญมากในการทำงาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่จำเป็นยิ่งในการพัฒนาตนเองและความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของบัณฑิตวิศวกรรมไฟฟ้า ดังนั้น ในการเรียนการสอนจึงต้องให้ความสำคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ดังข้อต่อไปนี้

มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.1, ·)

6.1.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.2)
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากวิชา ต่างๆ ที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อต่อไปนี้
6.2.1 สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน การประกอบ การวัดและทดสอบวงจรในการปฏิบัติการทดลอง
6.2.2 สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ
6.2.3 สนับสนุนการการทำโครงงานในรายวิชาในรูปแบบของ Term Project ในรูปแบบงานกลุ่ม
6.3.1 มีการประเมินทักษะด้านต่างๆ ในการปฏิบัติการทดลอง (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.1)
6.3.2 มีการประเมินผลการปฏิบัติการในใบงานการทดลอง โดยมีการเตรียมการทดลอง การประกอบวงจร การเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือพื้นฐาน การวัดและทดสอบวงจรและสรุปผลการทดลอง ตามที่ระบุในแต่ละใบงานการทดลอง (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.1)
6.3.3 มีการประเมินโครงงานในรายวิชาในรูปแบบของ Term Project ในรูปแบบงานกลุ่ม (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.1, 6.2)
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 คุณธรรมจริยธรรม 2 ความรู้ 3ทักษะทางปัญญา 4ความสัมพันธ์บุคคลและความรับผิดชอบ 5ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 32082303 เครื่องจักรกลไฟฟ้า 2
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2, 1.5, 2.1, 2.2, 2.4, 3.1-3.5, 5.5 ทดสอบย่อย ครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อย ครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 4 8 12 16 5% 25% 5% 25%
2 1.2, 1.3, 1.5, 2.1, 2.2, 2.4 3.1-3.5, 4.1, 4.2, 4.4, 5.1, 5.2, 5.3, 5.5 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.1-1.5, 3.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
4 6.1-6.2 ใบงานการทดลอง สอบปฏิบัติ ตลอดภาคการศึกษา 10%
1.1 “การแปลงสภาพพลังงานกลไฟฟ้า” ของ นายบัลลังก์ เนียมมณี, พ.ศ. 2553
1.2 P.C.Sen, “Principles of Electric Machines and Power Electronics”, John Wiley & Sons, Second Edition, 1997.
1.3 Stephen J. Chapman, “Electric Machinery Fundamentals”, McGraw Hill International Edition, 4th Edition, 2005.
1.4 รศ.ดร.วีระเชษฐ์ ขันเงิน และ วุฒิพล ธาราธีรเศรษฐ์., “ อิเล็กทรอนิกส์กำลัง ” , ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.เจ. พรินติ้ง, พิมพ์ครั้งที่ 6,2550
1.5 ศิวะ หงส์นภา.,” หลักการและการประยุกต์ใช้งาน ดีซีไดรฟ์”กรุงเทพฯ:บริษัท กู๊ดวิลล์ไดเร็คชั่น จำกัด,2547.
1.6 ไชยชาญ หินเกิด. เครื่องกลไฟฟ้า 2. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บริษัท ส.เอเชียเพรส จำกัด, 2541.
1.7 ณรงค์ ชอนตะวัน. มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ. กรุงเทพฯ : เอราวัณการพิมพ์, 2531.
1.8 ธวัชชัย อัตถวิบูลย์กุล. เครื่องกลไฟฟ้า 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เจริญธรรม, 2533.
2.1 Chee-Mun Ong, “Dynamic Simulation of Electrical Machinery”, Prentice Hall, 1998.
หนังสือและเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการแปรสภาพพลังงานกลไฟฟ้า
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ดที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
1.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
1.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
1.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
1.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
1.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ ดังนี้
1.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
1.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชาได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
1.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
1.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ