อิเล็กทรอนิกส์กำลัง

Power Electronics

1.1 เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจหลักการพื้นฐานของการเรียงกระแส การแปลงผันเอซีเป็นเอซี การแปลงผันดีซีเป็นดีซี และการแปลงผันเอซีเป็นดีซี
1.2 เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจการทำงานและสามารถคำนวณหาค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญของวงจรเรียงกระแสหนึ่งเฟสชนิดควบคุมกำลังไฟฟ้าด้านเอาต์พุตไม่ได้ที่ต่อโหลดเป็นตัวต้านทาน เป็นตัวต้านทานและตัวเหนี่ยวนำอนุกรมกัน และเป็นตัวต้านทาน ตัวเหนี่ยวนำและแบตเตอรี่อนุกรมกัน ได้
1.3 เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจการทำงานและสามารถคำนวณหาค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญ ของวงจรเรียงกระแสสามเฟสชนิดควบคุมกำลังไฟฟ้าด้านเอาต์พุตไม่ได้ที่ต่อโหลดเป็นตัวต้านทาน
1.4 เพื่อให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์ความรู้ในข้อ 1.2 และ 1.3 เพื่อทำความเข้าใจการทำงานและสามารถคำนวณหาค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญ ของวงจรเรียงกระแสหนึ่งเฟสและสามเฟสชนิดควบคุมกำลังไฟฟ้าด้านเอาต์พุตที่มีโหลดเป็นตัวต้านทาน และเป็นตัวต้านทานและตัวเหนี่ยวนำอนุกรมกัน ได้
1.5 เพื่อให้ผู้เรียนสามารถออกแบบหาค่าองค์ประกอบของวงจรแปลงผันดีซี-ดีซีชนิดกระแสไหลผ่านตัวเหนี่ยวนำต่อเนื่องให้มีพฤติกรรมการทำงานเป็นตามที่กำหนดได้
1.6 เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการทำงานและสามารถคำนวณหาค่าองค์ประกอบของวงจรแปลงผันดีซี-เอซีหนึ่งเฟสให้มีพฤติกรรมการทำงานเป็นตามที่กำหนดได้
1.7 เพื่อให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญและตระหนักถึงบทบาทของศาสตร์ด้านอิเล็กทรอนิกส์กำลังในการประยุกต์ใช้งานในเครื่องใช้ไฟฟ้าและในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้พื้นฐานด้านวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรกลไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ แคลคูลัสและตรีโกณมิติ มาประยุกต์และพัฒนาการเรียนรู้ในศาสตร์ด้านอิเล็กทรอนิกส์กำลังให้มีความเข้าใจ และการปรับปรุงเนื้อหารายวิชาให้มีการจำลองการทำงานของวงจรอิเล็กทรอนิกส์กำลังด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาได้รวดเร็วขึ้นและสามารถเรียนรู้พฤติกรรมการทำงานของวงจรอิเล็กทรอนิกส์กำลังได้ด้วยตนเอง
ศึกษาเกี่ยวกับคุณลักษณะการทำงานของสวิตซ์สารกึ่งตัวนำกำลังชนิดต่าง ๆ และการประยุกต์ใช้งานเป็นองค์ประกอบของวงจรอิเล็กทรอนิกส์กำลัง การทำงานของวงจรเรียงกระแส วงจรช็อปเปอร์ วงจรควบคุมแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ วงจรอินเวอร์เตอร์ การควบคุมเครื่องจักรกลไฟฟ้าด้วยอิเล็กทรอนิกส์กำลัง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล