หัวข้อประยุกต์ทางวิศวกรรมไฟฟ้า

Advanced Topics in Electrical Engineering

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ทางด้านวิศวกรรไฟฟ้าสมัยใหม่ พัฒนาและเข้าใจเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในทางไฟฟ้า และสามารถนำอุปกรณ์ทางไฟฟ้าต่างๆมาประยุกต์ใช้งานได้ ตลอดจนเพื่อการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ในการทำงานได้จริงและศึกษารายวิชาขั้นสูงอื่นๆต่อไป
1. ศึกษาหลักนวัตกรรมทางไฟฟ้าในปัจจุบัน
2. ศึกษาหลักการพื้นฐานของการไมโครคอนโทรลเลอร์และการเชื่อมต่อไร้สาย
3. ศึกษาหลักการและการทำงานของไมโครคอนโทรลเลอร์ประยุกต์ใช้งานกับเซนเซอร์ต่างๆ
4. ออกแบบและประยุกต์ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์และเซนเซอร์ต่าง ๆในงานควบคุม
5. ออกแบบและควบคุมการทำงานของระบบผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
ศึกษาเกี่ยวกับหัวข้อซึ่งเป็นที่สนใจหรือการพัฒนาใหม่ๆ ในสาขาต่างๆด้านวิศวกรรมไฟฟ้าในขณะนั้น
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 3 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟแวร์ และการไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา มีความซื่อสัตย์ต่อการเรียน โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
1. ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
2. มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
3. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
4. เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
5. เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
6. สามารถวิเคราะห์ผลการทดลองปฏิบัติงานด้านอิเล็กทรอนิกส์และแก้ไขในปัญหาในการทำงาน
7. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1. กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ
2. สอดแทรกและส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรมในรายวิชา และส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ
3. สนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมในการให้บริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม ปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ยกย่องและเชิดชูนักศึกษาที่ทำความดีและเสียสละ
1. การตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลา ที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
2. ความมีวินัยและความใส่ใจของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
3. ความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
4. ความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ
1. มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา
2. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการ
3. มีความรู้ ความเข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ ความชานาญทางหุ่นยนต์อย่างต่อเนื่อง
4. มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ
1. บรรยาย อภิปราย ยกตัวอย่างประกอบ
2. ฝึกเขียนโปรแกรม ศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง วิเคราะห์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสร้างองค์ความรู้ร่วมกัน ตามหลักการที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และการเรียนรู้แบบใฝ่รู้
1. ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี 2. ประเมินจากการทำแบบฝึกหัดและโครงงาน
3. ประเมินจากการเข้าเรียนและการปฎิบัติการในห้องเรียนตามบทเรียนแต่ละบทในห้องเรียน
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถวิเคราะห์การควบคุมระบบได้อย่างถูกต้องและระบบปลอดภัย
1. บรรยายและแสดงตัวอย่างการออกแบบระบบและวิเคราะห์ระบบรวมไปถึงการเขียนโปรแกรมควบคุมระบบต่างๆ ตามโจทย์ปัญหา
2. มอบหมายให้นักศึกษาแก้ปัญหาที่กาหนดโดยใช้ความรู้ในวิชานี้ โครงงานแบบบุคคล และนาเสนอผลการแก้ปัญหาในรูปของโครงงานกลุ่ม
3. สะท้อนแนวคิดจากการประพฤติการเรียนรู้ในชั้นเรียน
4. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น
1. สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์และต้องอาศัยความเข้าใจ
2. วัดผลจากการประเมินการทำแบบฝึกหัดและโครงงาน
3. สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
1. พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
2. พัฒนาความเป็นผู้นำและการอธิบายความเข้าใจให้ผู้เรียนด้วยกัน
3. พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วน
1. มอบหมายการบ้านแก่ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้เพิ่มเติมนอกเวลาเพื่อให้เข้าใจเนื้อหามากขึ้น และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสปรึกษาและแบ่งปันความาเข้าใจระหว่างกลุ่มผู้เรียน
1. ประเมินจากการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย
2. วัดผลจากการประเมินการทำแบบฝึกหัดและโครงงาน
3. สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
1. ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
2. พัฒนาทักษะในการสื่อสารด้าน การแปล ภาษาอังกฤษ โดยการใช้ตำราภาษาอังกฤษในกระบวนการเรียนการสอน
3. พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
4. พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5. พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
6. ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งงานทางอีเมล์ การสร้างห้องแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ เช่น Web lock การสื่อสารการทางานในกลุ่มผ่านห้องสนทนา Chat Room
7. ทักษะในการนาเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1. มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเอกสาร ตำราเรียน และอินเตอร์เน็ต
2. แสดงตัวอย่างการวิเคราะห์เชิงตัวเลขบนกระดานและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1. การจัดทำรายงาน และนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีหน้าชั้นเรียน
2. วัดผลจากการประเมินการทำแบบฝึกหัดและโครงงาน
1. มีทักษะในการเขียนโปรแกรมแก้ไขโจทย์ปัญหาได้จริงในเบื้องต้น
2. มีทักษะในการเลือกใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการออกแบบและวิเคราะห์ระบบ
1. ให้ผู้เรียนคิดรูปแบบการออกแบบและวิเคราะห์ระบบด้วยตนเองจากกรณีศึกษา
2. มอบหมายงานให้ผู้เรียนจำลองวงจรไฟฟ้าในโปรแกรมเพื่อช่วยในการวิเคราะห์
1. ประเมินจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
2. วัดผลจากการประเมินการทำแบบฝึกหัดและโครงงาน
3. ประเมินจากการทดสอบย่อย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านความสัมพันธ์บุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 3 4 5 1 2 1 2 3 4 5 1 2
1 32082427 หัวข้อประยุกต์ทางวิศวกรรมไฟฟ้า
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.6, 1.7, 2.1, 2.4 – 2.6, 3.2 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 6 8 14 17 10% 25% 10% 25%
2 1.1, 1.6, 1.7, 2.1, 2.4 – 2.6, 3.2, 4.1 – 4.6, 5.3-5.4 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 35%
3 1.1 – 1.7, 3.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 5%
1. นพ มหิษานนท์. Arduino Startup สนุกสุดเหวี่ยงกับเซ็นเซอร์
2. ผศ.ดร. เดชฤทธิ์ มณีธรรม, คัมภีร์การใช้งาน ไมโครคอนโทรลเลอร์ Arduino
3. จีราวุธ วารินทร์, Arduino UNO พื้นฐานสำหรับงาน IOT
4. ดร. กอบเกียรติ สระอุบล, พัฒนา IoT บนแพลตฟอร์ม Arduino และ Raspberry Pi
5. Evans B. (2011). Beginning Arduino Programming
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1. การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
2. แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
3. ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
1. การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2. ผลการเรียนของนักศึกษา
3. การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
1. สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
2. การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
1. การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
2. มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
1. ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
2. เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ