ปัญหาพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร

Special Problems in Food Science Technology

รู้ความสำคัญและขอบเขตการศึกษาในหัวข้องานวิจัยที่นักศึกษาให้ความสนใจ เข้าใจการศึกษาหัวข้องานวิจัยและสามารถจัดลำดับขั้นตอนและวางแผนการทำงานในหัวข้องานวิจัยนั้น มีทักษะในการกำหนดหัวข้อ ค้นคว้าเอกสาร ทำการศึกษาทดลอง และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างดำเนินการศึกษา ทักษะในการปฏิบัติการเพื่อให้ได้ผลการศึกษา ซึ่งสามารถนำผลที่ได้ไปวิเคราะห์ วิจารณ์และสรุปผล เรียบเรียงข้อมูลพร้อมทั้งนำเสนอผลงานและจัดทำเป็นรูปเล่มรายงานที่ถูกต้องตามหลักวิชาการภายใต้การแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาปัญหาพิเศษเพื่อเผยแพร่สู่สาธารณชนต่อไป
เพื่อให้นักศึกษาสามารถค้นคว้า สืบค้นข้อมูลโดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศ ทดลองในเรื่องที่เกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารได้ สามารถวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผล เรียบเรียงข้อมูล นำเสนอผลงานและเขียนรายงานได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
ศึกษาค้นคว้าและทดลองในเรื่องที่เกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร วิเคราะห์ข้อมูล สรุปผล เรียบเรียงข้อมูล นำเสนอผลงาน และเขียนรายงานได้ถูกต้องตามหลักวิชาการและภายใต้การควบคุมและแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาปัญหาพิเศษ
อาจารย์ประจำรายวิชาให้คำปรึกษาตามตารางผู้สอน และสามารถให้คำปรึกษาได้เพิ่มเติมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการของนักศึกษา (เฉพาะรายที่ต้องการ) 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ในวันพุธ เวลา 15:00- 17:00 น. หรือทาง line และ e-mail
1.1 มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
1.2 แสดงออกอย่างสม่ำเสมอถึงความซื่อสัตย์สุจริต
˜ 1.3 มีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
˜1.4 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
1.5 เคารพสิทธิและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
บรรยายผลของการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในการจัดทำโครงร่างปัญหาพิเศษ การสอบ ตลอดจนการจัดทำรูปเล่มฉบับสมบูรณ์
มอบหมายให้นักศึกษาขณะที่ศึกษาอยู่ในระดับชั้นปีที่ 3 จะต้องจัดทำโครงร่างปัญหาพิเศษกับอาจารย์ที่ปรึกษาปัญหาพิเศษให้เสร็จสิ้นก่อนการศึกษาในระดับชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 1 และนักศึกษาจะทำการลงทะเบียนวิชาปัญหาพิเศษเมื่อทำการศึกษาในระดับชั้นปีที่ 4 ในภาคการศึกษาที่ 2 เพื่อทำการสอบการนำเสนอผลงาน
- สอบการนำเสนอผลงานปัญหาพิเศษในรูปแบบ power point กับอาจารย์ที่เป็นกรรมการสอบปัญหาพิเศษตามกำหนดการการสอบปัญหาพิเศษของสาขาฯ
- ประเมินผลรูปเล่มปัญหาพิเศษฉบับสมบูรณ์ พร้อมข้อมูลของรูปเล่มในรูปแบบของแผ่นซีดี โดยให้นักศึกษาจัดส่งรูปเล่มปัญหาพิเศษ 2 เล่ม พร้อมแผ่นซีดี 2 แผ่น แก่อาจารย์ประจำวิชาปัญหาพิเศษตามกำหนดเวลา
- ประเมินผลการทำงาน ความรับผิดชอบจากการปฏิบัติงานของนักศึกษาตั้งแต่การส่งโครงร่างปัญหาพิเศษ การนำเสนอผลงาน จนกระทั่งการจัดทำรูปเล่มปัญหาพิเศษฉบับสมบูรณ์ ตามกำหนดเวลาในแต่ละขั้นตอน
˜ 2.1 มีความรู้ความเข้าใจหลักการและทฤษฎีที่สัมพันธ์กัน ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจด้านเคมีอาหาร จุลชีววิทยาทางอาหาร การแปรรูปอาหาร วิศวกรรมอาหาร การประกันคุณภาพและสุขาภิบาล และการทำวิจัย สามารถนำความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์โดยการใช้วัตถุดิบภายในท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่นิยมบริโภคภายในท้องถิ่น หรือผลิตภัณฑ์พื้นบ้านประจำท้องถิ่นในเชิงประยุกต์
˜2.2 มีความรู้ความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาและการต่อยอดองค์ความรู้
˜2.3 มีความรู้และสามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาอื่น ได้แก่ การบริหารจัดการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีการบรรจุ และเทคโนโลยีชีวภาพ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
2.4 มีความคุ้นเคยกับความก้าวหน้าทางวิชาการในสาขาวิชา รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาและการต่อยอดองค์ความรู้
2.5 ตระหนักในธรรมเนียมปฏิบัติ กฎระเบียบ ข้อกำหนดทางวิชาการ ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนตามกาลเวลาเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
- ชี้แจงข้อปฏิบัติของการจัดทำโครงร่างปัญหาพิเศษ รูปแบบการนำเสนอผลงาน ชี้แจงวิธีการประเมินผลแก่นักศึกษา
- นักศึกษาปฏิบัติการทดลองตามระเบียบวิธีการทดลองตามโครงร่างปัญหาพิเศษและตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาปัญหาพิเศษ
อาจารย์ที่เป็นกรรมการสอบปัญหาพิเศษจะประเมินนักศึกษาในส่วนของรายละเอียดเนื้อหาที่นำเสนอ โดยจะประเมินในด้านความชัดเจนของสื่อ การลำดับเรื่อง เนื้อหาที่นำเสนอจะต้องมีความสัมพันธ์กับสื่อที่ใช้ในการนำเสนอ ความเข้าใจในงานของนักศึกษา คือนักศึกษามีความสามารถในการอธิบายเนื้อหา และมีไหวพริบในการตอบข้อซักถาม
- อาจารย์ที่ปรึกษาปัญหาพิเศษจะประเมินงานในส่วนของการจัดทำรูปเล่มปัญหาพิเศษฉบับสมบูรณ์โดยประเมินจากความรู้ความเข้าใจในงาน ความรับผิดชอบระหว่างการดำเนินงาน และการเขียนในเชิงวิชาการ
- อาจารย์ประจำวิชาปัญหาพิเศษจะประเมินงานในส่วนของการดำเนินการจัดทำโครงร่างปัญหาพิเศษ รูปเล่มปัญหาพิเศษฉบับสมบูรณ์ โดยนักศึกษาจะต้องทำการส่งงานดังกล่าวในรูปแบบที่ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในคู่มือระเบียบการทำปัญหาพิเศษภายในระยะเวลาที่กำหนดของแต่ละขั้นตอน
˜3.1 มีความสามารถในการค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและประเมินข้อมูลสารสนเทศแนวคิดและหลักฐานใหม่ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และใช้ข้อมูลที่ได้ในการแก้ไขปัญหาหรืองานอื่นๆ ได้ด้วยตนเอง
˜3.2 สามารถศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและเสนอแนวทางการแก้ไขได้อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงถึงความรู้ทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ประสบการณ์ในภาคปฏิบัติ และผลกระทบที่ตามมาจากการตัดสินใจนั้น
3.3 สามารถใช้ทักษะและความรู้ความเข้าใจอันถ่องแท้ ในกลุ่มเคมีอาหาร จุลชีววิทยาอาหาร การแปรรูปอาหาร วิศวกรรมอาหาร การประกันคุณภาพและสุขาภิบาล การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการวิจัย ในบริบททางวิชาชีพและวิชาการ ได้แก่ การดูแลจัดการกระบวนการการผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร อาหารพื้นบ้านเชิงประยุกต์ การตรวจวิเคราะห์อาหาร การควบคุมและประกันคุณภาพ การวิจัย และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
˜3.4 มีทักษะปฏิบัติตามที่ได้รับการฝึกฝน จากเนื้อหาสาระสำคัญของสาขาวิชา
- ชี้แจงให้นักศึกษามีทักษะที่ดีในการปฏิบัติการดำเนินงานตามโครงร่างปัญหาพิเศษ มีทักษะในการจัดทำรูปแบบการนำเสนอผลงาน และชี้แจงวิธีการประเมินผลแก่นักศึกษา
- อธิบายวิธีการปฏิบัติการดำเนินการทดลองตามระเบียบวิธีการทดลองตามที่กำหนดในโครงร่างปัญหาพิเศษตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาปัญหาพิเศษ
- อาจารย์ที่เป็นกรรมการสอบปัญหาพิเศษจะประเมินนักศึกษาในส่วนของรายละเอียดเนื้อหาที่นำเสนอ โดยจะประเมินทักษะในการจัดทำสื่อที่นำเสนอให้มีความชัดเจน ทักษะในการลำดับเรื่อง เนื้อหาที่นำเสนอจะต้องมีความสัมพันธ์กับสื่อที่ใช้ในการนำเสนอ ความเข้าใจในงานของนักศึกษา คือนักศึกษามีความสามารถในการอธิบายเนื้อหา และมีไหวพริบในการตอบข้อซักถาม
- อาจารย์ที่ปรึกษาปัญหาพิเศษจะประเมินงานในส่วนของทักษะในการจัดทำรูปเล่มปัญหาพิเศษฉบับสมบูรณ์โดยประเมินจากความรู้ความเข้าใจในงาน ความรับผิดชอบระหว่างการดำเนินงาน และทักษะในการเขียนเชิงวิชาการ
- อาจารย์ประจำวิชาปัญหาพิเศษจะประเมินงานในส่วนของการทักษะดำเนินการจัดทำโครงร่างปัญหาพิเศษ รูปเล่มปัญหาพิเศษฉบับสมบูรณ์ โดยนักศึกษาจะต้องทำการส่งงานดังกล่าวในรูปแบบที่ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในคู่มือระเบียบการทำปัญหาพิเศษภายในระยะเวลาที่กำหนดของแต่ละขั้นตอน
˜4.1 มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ส่งโครงร่างปัญหาพิเศษ และรูปเล่มปัญหาพิเศษฉบับสมบูรณ์ตามกำหนดเวลา
˜4.2 สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและสมาชิกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพและแก้ไขข้อขัดข้องได้อย่างเหมาะสม
˜4.3 วางตัวและแสดงความคิดเห็นได้เหมาะสมกับบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ
˜4.4 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองและวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
- กระตุ้นให้นักศึกษามีความรับผิดชอบในงานปัญหาพิเศษ ส่งงานที่มอบหมายตามกำหนดเวลา
- อธิบายข้อปฏิบัติในการจัดทำโครงร่างปัญหาพิเศษ และรูปเล่มฉบับสมบูรณ์ตามระเบียบวิธีการในคู่มือระเบียบการทำปัญหาพิเศษ
- แบ่งกลุ่มนักศึกษาตามหัวข้อปัญหาพิเศษ ลำดับการดำเนินงาน ให้นักศึกษาส่งงานตามเวลาที่กำหนด
- ทำงานเสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่กำหนด และคุณภาพของงานเป็นไปตามที่กำหนด
- ตรวจสอบการความสม่ำเสมอในการเข้าชั้นเรียนของนักศึกษาเมื่อมีการนัดหมาย การแต่งกายที่เหมาะสมเมื่อมีการนำเสนอผลงานและเข้าชั้นเรียน
- สังเกตและประเมินการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
˜5.1 สามารถระบุและนำเทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการวิเคราะห์ แปลความหมาย และเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
˜5.2 สามารถสรุปประเด็นและสื่อสารทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่องและผู้ฟังที่แตกต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
˜5.3 สามารถระบุ เข้าถึง และคัดเลือกแหล่งข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
˜5.4 มีวิจารณญาณในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสม และใช้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อการรวบรวมข้อมูล แปลความหมาย และสื่อสารข้อมูลข่าวสารและแนวความคิด
˜5.5 สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการกับข้อมูลต่างๆ อย่างเหมาะสม
˜5.6 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นวัตกรรม และสถานการณ์โลก โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
˜5.7 สามารถใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน และภาษาอังกฤษในระดับใช้งานได้อย่างเหมาะสม
- มีการวิเคราะห์ข้อมูล เปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยในการทดลองโดยใช้โปรแกรมช่วยวิเคราะห์
- กำหนดให้มีการนำเสนอผลงานโดยการใช้โปรแกรม powerpoint หรือโปรแกรมอื่น ๆ ที่ช่วยในงานนำเสนอ
- ตรวจสอบการประเมินผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากตารางภาคผนวกท้ายเล่มปัญหาพิเศษฉบับสมบูรณ์โดยอาจารย์ที่ปรึกษาปัญหาพิเศษ
- ประเมินผลการนำเสนอความรู้ใหม่หรือบทความงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหัวข้อปัญหาพิเศษที่นักศึกษาทำการวิจัย และทำการเรียบเรียงนำเสนอในรูปแบบที่เหมาะสม มีการใช้ภาษาที่ถูกต้อง มีความต่อเนื่องในเนื้อหาที่นำเสนอ และเรียบเรียงจัดทำเป็นรูปเล่มปัญหาพิเศษฉบับสมบูรณ์
˜6.1 มีทักษะการบริหารเวลาในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม
6.2 มีทักษะในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการดำเนินงานทดลองได้อย่างเหมาะสม
6.3 มีทักษะในการใช้โปรแกรมช่วยในการวิเคราะห์ การแปลผลข้อมูลที่ได้จากการทดลองได้อย่างเหมาะสม
6.4 มีทักษะในการใช้สื่อในการนำเสนอผลงานได้อย่างเหมาะสม
- อธิบายวิธีการปฏิบัติ และลำดับขั้นตอนการปฏิบัติ
- อธิบายวิธีการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ และข้อควรระวังในการใช้เครื่องมือเหล่านั้น
- สาธิตและแนะนำทักษะการปฏิบัติ กำชับการควบคุมระหว่างกระบวนการปฏิบัติ
ประเมินความสำเร็จของงาน ตามระยะเวลาที่กำหนดอย่างเหมาะสม ประเมินการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์หรือแปรรูปได้อย่างเหมาะสม สอบนำเสนอผลงาน และจัดทำเป็นรูปเล่มปัญหาพิเศษฉบับสมบูรณ์
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา 2. ด้านความรู้ที่ต้องได้รับ 3 ด้านทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา 4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา 5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา 6. ด้านทักษะปฏิบัติ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 2 3 2 3 4 1 2 3 1 1 2 3 4 1
1 24129404 ปัญหาพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.3, 1.4, 3.1, 3.2, 3.4, 4.1, 4.4, 5.1, 6.1, 6.2, 6.3 สอบการนำเสนอผลงาน โดยคณะ กรรมการสอบปัญหาพิเศษของสาขาฯ 15-16 25 %
2 2.1, 2.2, 2.4, 3.1, 4.1, 5.3, 5.6, 5.7, 4.1, 4.2, 4.3, 4.4, 1.2, 1.3, 4.1 ปฏิบัติการดำเนินการวิจัย รูปเล่มงานปัญหาพิเศษฉบับสมบูรณ์โดยอาจารย์ที่ปรึกษากลุ่มปัญหาพิเศษ ทุกสัปดาห์ 60%
3 1.2, 1.3, 1.4, 4.3, 1.2, 1.3, 1.4, 4.3 2.1, 2.2, 3.2, 4.3 ความรับผิดชอบในการส่งโครงร่างปัญหาพิเศษ การเข้าชั้นเรียนเพื่อฟังสัมมนาปัญหาพิเศษ ตลอดจนการส่งรูปเล่มปัญหาพิเศษฉบับสมบูรณ์ โดยอาจารย์ที่รับผิดชอบรายวิชา ทุกสัปดาห์ 15 %
ตำราหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อปัญหาพิเศษของนักศึกษาที่มีเนื้อหาในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร เช่นการแปรรูปอาหาร จุลชีววิทยาอาหาร การควบคุมคุณภาพอาหาร การวิเคราะห์คุณภาพอาหาร เคมีอาหาร เป็นต้น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การออกแบบและบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ คู่มือประกอบการใช้เครื่องมือวิเคราะห์คุณภาพและผลิตภัณฑ์ คู่มือการใช้โปรแกรมช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลและแปรผลข้อมูลทางสถิติ
วารสารอาหาร, วารสารต่างประเทศที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร เช่น Journal of Food Science, Journal of Food Technology, Journal of Meat Science, Journal of Food Protection เป็นต้น
เวปไซต์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอาหาร มาตรฐานผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ชุมชน อย. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ E-learning ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้จากการสอบนำเสนอปัญหาพิเศษ
 
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้ 3.1 การจัดสัมมนาความรู้ใหม่ๆ ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ 3.2 การแทรกตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในบทเรียน   3.3 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน การบรรยายความรู้ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร  การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากวิทยากรภายนอกตามโอกาส
 
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้

ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 จากผู้ทรงคุณวุฒิและนักศึกษา