วิศวกรรมฐานข้อมูลและข้อมูลขนาดใหญ่เบื้องต้น

Introduction to Database and Big Data Engineering

1.1 เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจหลักการทำงานเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล และการจัดการฐานข้อมูล
1. 2 เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ฐานข้อมูล สามารถออกแบบและพัฒนาฐานข้อมูลได้
1. 3 เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้คำสั่งเพื่อสืบค้นและปรับปรุงฐานข้อมูลได้
1.4 เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจระบบการจัดการและการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่
1.5 เพื่อฝึกทักษะการใช้แบบจำลองทางสถิติและอัลกอริทึมเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่
เพื่อให้เนื้อหามีความเป็นลำดับที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน รวมทั้งปรับแต่งความละเอียดเข้มข้นของเนื้อหาในแต่ละเรื่องให้สอดคล้องกับความยากง่ายของเนื้อหานั้นๆ และให้สอดคล้องกับเวลาที่ใช้ในการเรียนการสอน
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับ แนะนำเกี่ยวกับฐานข้อมูลสมัยใหม่ ข้อมูลขนาดใหญ่ และการใช้งานภาษา SQL/NoSQL/NewSQL สตอร์โพรซีเดอร์ และ ทริกเกอร์ การออกแบบและสร้างฐานข้อมูล การทำความสะอาดข้อมูลและการนำข้อมูลเข้า การสำรองข้อมูลและการคืนสภาพข้อมูล การจัดการทรานแซคชันและการทำงานพร้อมกัน การประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ และขยายขีดความสามารถ ความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการเรียนรู้ของเครื่อง รวมถึงการประยุกต์ใช้งานสำหรับอินเตอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์
      1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม
      1.1.3 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
      1.1.4 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
      กำหนดให้มีวัฒธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอการบ้านของผู้อื่น
1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลา
      1.3.2 ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
2.1.1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างข้อมูลแต่ละประเภท และการนำโครงสร้างข้อมูลไปประยุกต์ใช้ในงานด้านคอมพิวเตอร์
      2.1.2 สามารถเลือกใช้โครงสร้างข้อมูลเพื่อนำไปใช้งานการแก้ปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      2.1.3 มีความรู้ความเข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง
บรรยาย อภิปราย โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และการปฏิบัติจริง โดยการมอบหมายงานพร้อมทั้งอธิบายงานที่มอบหมายเพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ หรือการแก้ปัญหาทางคอมพิวเตอร์
2.3.1 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
      2.3.2 แบบฝึกหัดที่มอบหมาย
      3.1.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณ และเป็นระบบ
      3.1.2 สามารถสืบค้น ตีความและประเมินสารสนเทศเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
      3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ในการเลือกใช้โครงสร้างข้อมูลได้อย่างเหมาะสม
3.2.1 มอบหมายให้นักศึกษาเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหสทางคอมพิวเตอร์ แล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียน
      3.2.2 มอบหมายให้ทำแบบฝึกหัดที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์
3.3.1 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
      3.3.2 แบบฝึกหัดที่มอบหมาย
3.3.3 การนำเสนอชิ้นงานหน้าชั้นเรียน
4.1.1 สามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศกับกลุ่มคนหลากหลายอย่างมีประสิทธิภาพ
      4.1.2 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.2.1 มอบหมายงานรายกลุ่ม แล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียน
4.3.1 สังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม
      4.3.2 แบบฝึกหัดที่ได้รับมอบหมาย
4.3.3 การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
5.1.1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
      5.1.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม
5.1.3 สามารถเลือกใช้สื่อสารสนเทศอย่างเหมาะสม
5.2.1 ให้นักศึกษาแก้ปัญหา วิเคราะห์ประสิทธิภาพของวิธีแก้ปัญหา แล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียน
5.3.1 แบบฝึกหัดที่ได้รับมอบหมาย
5.3.2 การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      6.1.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
6.2.1 มอบหมายให้นักศึกษาทำโครงงานเป็นกลุ่ม
6.3.1 สังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม และโครงงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 7 7 8 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 1 2
1 ENGCE111 วิศวกรรมฐานข้อมูลและข้อมูลขนาดใหญ่เบื้องต้น
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.1 – 1.1.3, 2.1.1 – 2.1.3, 3.1.1 – 3.1.2 สอบกลางภาค, สอบปลายภาค 8, 16 30%, 30%
2 1.1.1 – 1.1.3, 2.1.1 – 2.1.3, 3.1.1 – 3.1.2, 4.1.1 – 4.1.3, 5.1.1 โครงงานรายวิชา และการเสนอผลงาน การค้นคว้า เขียนรายงาน แบบฝึกหัด การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.1.1 – 1.1.3 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. 1 Hector Garcia-Molina, Jerey D. Ullman, and Jennifer D. Widom.Database Systems: The Complete Book, Prentice Hall, Second edition, 2009.
1.2 Abraham Silberschatz, Henry F. Korth, and S. Siidarshan. Database Systems Concepts. McGraw-Hill Science/Engineering/Math, Sixth edition, 2011.
1.3 Hcllcrstein, Joseph M.; Stonebraker, Michael; Readings in Database Systems, 2005
1.4 Viktor Mayer-Schonberger, Kenneth Cukier. Big Data: A Revolution That Will Transform How We Live, Work and Think. 2013.
-
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้

สังเกตพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียน สังเกตผลการเรียนของนักศึกษา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้

สัมมนาการจัดการเรียนการสอน การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้

การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ งานที่มอบหมาย วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้

ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 ประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่างๆ