ระบบการจัดการความปลอดภัยในอาหาร

Food Safety Management System

1.1 มีความรู้พื้นฐานด้านระบบประกันคุณภาพในอุตสาหกรรมอาหาร
1.2 มีความรู้โปรแกรมพื้นฐานในการจัดการสภาวะแวดล้อมสำหรับกระบวนการผลิต โดยเฉพาะGMP, HACCP และ ISO
1.3 ทราบมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศที่ใช้ในการประกันคุณภาพด้านความปลอดภัยของอาหาร
 
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานด้านระบบประกันคุณภาพในอุตสาหกรรมอาหาร เป็นการเตรียมความพร้อมด้านความรู้ ความเข้าใจในระบบประกันคุณภาพแต่ละอย่างถ่องแท้ ตลอดจนสามารถการวิเคราะห์ระบบ การประเมิน การเขียนเอกสาร ในระบบประกันคุณภาพอุตสาหกรรมอาหารได้ เพื่อ เป็นพื้นฐานในการทำงานด้านอุตสาหกรรมอาหาร ทั้งนี้ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการผลิตอาหารที่ได้มีคุณภาพไปตามยุคสมัย
ศึกษาเกี่ยวกับระบบคุณภาพต่างๆ ที่นำมาใช้ประกันคุณภาพอาหาร โปรแกรมพื้นฐานในการจัดการสภาวะแวดล้อมสำหรับกระบวนการผลิต โดยเฉพาะGMP, HACCP และ ISO เพื่อใช้ในการประกันคุณภาพด้านความปลอดภัยของอาหาร และมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ
3.1 วันพุธ เวลา 15.00 - 16.30 น. ห้องพักอาจารย์ 3 อาคารแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร
3.2 สามารถติดต่ออาจารย์ผ่าน E-mail:orathai_bun@hotmail.com หรือโทร.086-9134513 หรือ Line
3.3 อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
˜1.1 มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
˜1.2 แสดงออกอย่างสม่ำเสมอถึงความซื่อสัตย์สุจริต
˜1.3 มีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
˜1.4 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
š1.5 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
กำหนดให้นักศึกษาทุกคนต้องมีความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ การตรงต่อเวลาที่กำหนด และแนะนำถึงผลดีของการตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ อาจารย์ผู้สอนปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง ให้นักศึกษามีระเบียบวินัยในการเข้าชั้นเรียน โดยอาจารย์เข้าชั้นเรียนตรงต่อเวลา และเลิกชั้นเรียนตรงต่อเวลา
พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
˜2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
š2.2 มีความรู้ในสาขาวิชาอื่น ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การบริหารจัดการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ สามารถบูรณการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
š2.3 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาและต่อยอดองค์ความรู้ และมีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ
˜2.4 รู้กฎระเบียบ ข้อกำหนดทางเทคนิค รวมถึงการปรับเปลี่ยนตามกาลเวลาเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
การสอนแบบบรรยายเชิงอภิปราย ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา
อสอบอัตนัย
ข้อสอบปรนัย
ประเมินจากการตอบปัญหาในชั้นเรียน การสอบย่อย (Quiz) การสอบกลางภาคและปลายภาค และการนำเสนอผลงานทั้งแบบรายบุคคลและกลุ่ม
š3.1 มีความสามารถในการค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและประเมินข้อมูลสารสนเทศ แนวคิดและหลักฐานใหม่ ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และใช้ข้อสรุปที่ได้ในการแก้ไขปัญหา หรืองานอื่น ๆ โดยไม่ต้องอาศัยคำแนะนำ
š3.2 สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ในการวิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อน และเสนอแนวทางแก้ไขอย่างสร้างสรรค์
˜3.3สามารถใช้ทักษะและความเข้าใจ ในบริบททางวิชาชีพและวิชาการ เช่น การตรวจวิเคราะห์อาหาร การควบคุมและประกันคุณภาพ การวิจัย และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
š3.4มีทักษะในภาคปฏิบัติที่ได้รับการฝึกฝน ตามเนื้อหาสาระสำคัญของสาขาวิชา
ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา ศึกษาจากประเด็นปัญหาที่กำหนดไว้แล้ว โดยแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม ภายในกลุ่มจะต้องกำหนดแนวทางไปสู่การแก้ปัญหาหรือเสนอแนวทางปฏิบัติที่มีความน่าเชื่อถือและความเป็นไปได้
ประเมินจากการตอบปัญหาในชั้นเรียน การสอบย่อย (Quiz)การสอบกลางภาคและปลายภาค และการนำเสนอผลงานทั้งแบบรายบุคคลและกลุ่ม
š4.1 มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายทั้งของตนเองเเละรับผิดชอบงานในกลุ่ม
š4.2 สามารถปรับตัวทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำกลุ่มและสมาชิกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
š4.3 วางตัวและแสดงความคิดเห็นได้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
˜4.4 สามารถวางแผนและรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
สอนโดยมีกิจกรรมเสริมในชั้นเรียน มีกิจกรรมทำงานเป็นกลุ่ม และมีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามภาระงานที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่นได้ โดยไม่ยึดติดกับเฉพาะเพื่อนที่ใกล้ชิด
การประเมินจากการแสดงออกอย่างมีส่วนร่วมในชั้นเรียน และประเมินผลงานจากรายงานของนักศึกษาทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม
š5.1 สามารถระบุและนำเทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการวิเคราะห์แปลความหมายและเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
š5.2 สามารถสรุปประเด็นและสื่อสาร ทั้งการพูดและการเขียน รู้จักการเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่องและผู้ฟังที่ต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
š5.3 สามารถระบุ เข้าถึง และคัดเลือกแหล่งข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสาระสำคัญของวิชานั้น ๆ จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
š5.4 มีวิจารณญาณในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสม และใช้อย่างสม่ำเสมอเพื่อการรวบรวมข้อมูล แปลความหมายและสื่อสารข้อมูลข่าวสารและแนวความคิด
š5.5 สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
š5.6 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นวัตกรรมและสถานการณ์โลก โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
š5.7 สามารถใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน และภาษาอังกฤษในระดับใช้งานได้อย่างเหมาะสม
ใช้ Power point
มีการนำเสนอข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูล
การมอบหมายงานด้วยการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
ประเมินจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงานของนักศึกษา การสอบย่อย (Quiz) ในชั้นเรียน
š6.1มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลาเครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการรวมถึงความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่มมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
ปฏิบัติการในห้อง และทำงานเป็นกลุ่มตามงานมอบหมาย และกำหนดระยะเวลาในการทำงาน
ประเมินจากความสำเร็จของงานตามระยะเวลาที่กำหนด
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา 2. ด้านความรู้ที่ต้องได้รับ 3 ด้านทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา 4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา 5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา 6. ด้านทักษะปฏิบัติ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 5 1 4 2 2 3 1
1 24122303 ระบบการจัดการความปลอดภัยในอาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1-1.4, 4.4 การเข้าชั้นเรียน การส่งรายงานตามที่มอบหมาย การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน การทำงานเป็นกลุ่มและผลงาน ทุกสัปดาห์ 10%
2 2.1, 3.3 ทดสอบระหว่างเรียน 4, 6, 8, 10,16 60%
3 3.3, 4.4 การนำเสนองาน/การรายงาน 15-16 30%
พาขวัญ ทองรักษ์. 2549. การสุขาภิบาลโรงงานอุตสาหกรรมอาหารและกฎหมายอาหาร. คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, กรุงเทพ. สถาบันอาหาร. 2551. การจัดการความปลอดภัยอาหารสำหรับ SMEโดยระบบ Pre-HACCP. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพ. สุวิมล กีรติพิบูล. 2546. ระบบประกันคุณภาพด้านความปลอดภัยของอาหารHACCP. ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักพิมพ์ ส.ส.ท., กรุงเทพ. รัตนา อัตตปัญโญ. 2544. หลักการควบคุมคุณภาพและการประกันคุณภาพ. ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. พิสิฐ รังสฤษฏ์วุฒิกุล. 2552. เอกสารประกอบการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดการระบบประกันคุณภาพโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง, ลำปาง. วิเชียร วรพุทธพร. การจัดทำระบบเอกสารในระบบGMP วารสารศูนย์บริการวิชาการ ปีที่12ฉบับที่1 ประจำเดือนมกราคม-มีนาคม 2547, 6 น.
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย : ข้อกำหนด
มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ มกอช. 9024-25503.
บทความเกี่ยวกับระบบคุณภาพในอุตสาหกรรมอาหารจากเว็บไซต์ต่างๆ
แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ทวนสอบคะแนนข้อสอบหรืองานที่มอบหมาย หรือการทำวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ทวนสอบคะแนนข้อสอบหรืองานที่มอบหมาย
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ