ปัญหาพิเศษทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์

Special Problem in Product Development

1.1. รู้ความสำคัญและขอบเขตการศึกษาในหัวข้องานวิจัยที่นักศึกษาให้ความสนใจ
1.2. เข้าใจการศึกษาหัวข้องานวิจัยและสามารถจัดลำดับขั้นตอนและวางแผนการทำงานในหัวข้องานวิจัยนั้น
1.3. มีทักษะในการกำหนดหัวข้อ ค้นคว้าเอกสาร ทำการศึกษาทดลอง และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างดำเนินการศึกษา
1.4. ทักษะในการปฏิบัติการเพื่อให้ได้ผลการศึกษา ซึ่งสามารถนำผลที่ได้ไปวิเคราะห์ วิจารณ์สรุปผล และเรียบเรียงข้อมูลพร้อมทั้งนำเสนอผลงานและจัดทำเป็นรูปเล่มรายงานที่ถูกต้องตามหลักวิชาการภายใต้การแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาปัญหาพิเศษเพื่อเผยแพร่สู่สาธารณชนต่อไป
เพื่อให้นักศึกษาสามารถค้นคว้าทดลองในเรื่องที่เกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารได้ สามารถวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผล เรียบเรียงข้อมูล นำเสนอผลงานและเขียนรายงานได้อย่าง
ถูกต้องตามหลักวิชาการ
การค้นคว้าวิจัยด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตรด้วยตนเอง จากแนวความคิดผลิตภัณฑ์จนถึงผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย การเขียนรายงาน การวิเคราะห์และการประเมินผล  การเรียบเรียง และนำเสนอผลงานแล้วเรียบเรียงเขียนเป็นรายงาน
- อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาให้คำปรึกษา แนะนำ ตามตารางผู้สอน
ในวันจันทร์ เวลา 08.00-10.00 น. และ นอกเวลา ช่วง 20.00-22.00 น. ตามความเหมาะสม
- อาจารย์ที่ปรึกษาจัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
ตำราหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อปัญหาพิเศษของนักศึกษาที่มีเนื้อหาในด้านการพัฒนา
ผลิตภัณฑ์อาหาร และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร เช่น การแปรรูปอาหาร จุลชีววิทยาอุตสาหกรรม การควบคุมและการประกันคุณภาพอาหาร สุขาภิบาลอาหาร การวิเคราะห์คุณภาพอาหาร เคมีอาหาร เป็นต้น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การออกแบบและบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ คู่มือประกอบการใช้เครื่องมือวิเคราะห์คุณภาพและผลิตภัณฑ์ คู่มือการใช้โปรแกรมช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลและแปลผลข้อมูลทางสถิติ
วารสารอาหาร, วารสารต่างประเทศที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร เช่น Journal of Food Science, Journal of Food Technology, Journal of Meat Science, Journal of Food Protection Journal of Food Preference เป็นต้น
เวปไซต์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอาหาร มาตรฐานผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ชุมชน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ Web site / E-learning ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง Web Site เผยแพร่ทางวิชาการแหล่งต่างๆ ที่ดำเนินงานโดยรัฐวิสาหกิจ และ เอกชน บริษัทห้างร้าน ที่เกี่ยวข้องกับทางด้าน อุตสาหกรรมอาหาร และการพัฒนาผลิตภัณฑ์
วารสารอาหาร, วารสารต่างประเทศที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร เช่น Journal of Food Science, Journal of Food Technology, Journal of Meat Science, Journal of Food Protection Journal of Food Preference เป็นต้น
เวปไซต์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอาหาร มาตรฐานผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ชุมชน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ Web site / E-learning ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง Web Site เผยแพร่ทางวิชาการแหล่งต่างๆ ที่ดำเนินงานโดยรัฐวิสาหกิจ และ เอกชน บริษัทห้างร้าน ที่เกี่ยวข้องกับทางด้าน อุตสาหกรรมอาหาร และการพัฒนาผลิตภัณฑ์
1.1. การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2. แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3. ข้อเสนอแนะผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้จากการสอบนำเสนอปัญหาพิเศษ
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1 การจัดสัมมนาความรู้ใหม่ๆ ทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร  3.2 การแทรกตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในบทเรียน
3.3 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน  การบรรยายความรู้ความก้าวหน้าทางด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร จากวิทยากรภายนอกตามโอกาส
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น โดยการปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 จากผู้ทรงคุณวุฒิและนักศึกษา