ฝึกงานสิ่งทอและเครื่องประดับ

Job Internship in Textiles and Jewelry

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติเกี่ยวกับวิชาชีพตามหลักสูตรในสถานประกอบการ หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่การติดต่อและสมัครเข้ารับการฝึกงาน การเตรียมความพร้อมในการฝึกงาน การจัดทำแผนปฏิบัติงาน การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรและกระบวนการทำงาน การบันทึกผลการฝึกงาน การสรุปและนำเสนอผลการฝึกงาน
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติเกี่ยวกับวิชาชีพตามหลักสูตรในสถานประกอบการ หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง การติดต่อและสมัครเข้ารับการฝึกงาน การเตรียมความพร้อมในการฝึกงาน การจัดทำแผนปฏิบัติงาน การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรและกระบวนการทำงาน การบันทึกผลการฝึกงาน การสรุปและนำเสนอผลการฝึกงาน การประเมินผลการฝึกงานนักศึกษาจะต้องได้รับการประเมินผลการฝึกงานและรายงานผลการฝึกงานจากสถานประกอบการในเกณฑ์พอใจ (S) หรือไม่พอใจ (U) (ใช้เวลาฝึกงานไม่น้อยกว่า 240 ชั่วโมง)
ปฏิบัติเกี่ยวกับวิชาชีพตามหลักสูตรในสถานประกอบการ หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง การติดต่อและสมัครเข้ารับการฝึกงาน การเตรียมความพร้อมในการฝึกงาน การจัดทำแผนปฏิบัติงาน การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรและกระบวนการทำงาน การบันทึกผลการฝึกงาน การสรุปและนำเสนอผลการฝึกงาน การประเมินผลการฝึกงานนักศึกษาจะต้องได้รับการประเมินผลการฝึกงานและรายงานผลการฝึกงานจากสถานประกอบการในเกณฑ์พอใจ (S) หรือไม่พอใจ (U) (ใช้เวลาฝึกงานไม่น้อยกว่า 240 ชั่วโมง)
1. มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ  2. มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม  3. สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม  4. มีจิตสำนึกและพฤตกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
1. จัดทำแผนปฏิบัติงานโดยการกำหนดภาระงาน ขอบเขตของงาน ตารางวลาปฏิบัติงานและการบันทึกเวลาปฏิบัติงาน  2. จัดทำคู่มือการฝึกงานวิชาชีพเพื่อให้นักศึกษาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ  3. จัดปฐมนิเทศนักศึกษา เพื่อสร้างวามเข้าใจให้ตรงกันเกี่ยวกับการฝึกงานวิชาชีพ  4. มีการประสานงานการควบคุมกรฝึกงานวิชาชีพระหว่างผู้รับผิดชอบรายวิชา อาจารย์นิเทศและพี่เลี้ยงซึ่งแต่งตั้งโดยสถานประกอบการ  5. จัดให้มีอาจารย์นิเทศก์ประจำตัวนักศึกษา
1. ประเมินการปฏิบัติงานของนักศึกษาโดย อาจารย์นิเทศ และพี่เลี้ยง  2. ประเมินตนเองโดยนักศึกษา ด้านทัศนคติต่อวิชาชีพ การพัฒนาตนเองด้านคุณธรรมจริยธรรม
1. ความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี  2. ความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม  3. ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่น ๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
1. ทำความเข้าใจกับสถานประกอบการถึงจุดมุ่งหมายของการฝึกงานทางวิชาชีพจริงและมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่คาดหวังอย่างชัดเจน  2. ประสานงานกับสถานประกอบการในการมอบหมายงานและความรับผิดชอบให้กับนักศึกษาให้ตรงกับจุดมุ่งหมายของการพัฒนาความรู้และทักษาวิชาชีพ
1. การประเมินการปฏิบัติงานของนักศึกษาโดยอาจารย์นิเทศและพี่เลี้ยง  2. การประเมินตนเองโดยนักศึกษาด้าน ทัศนคติต่อวิชาชีพ การพัฒนาตนเองด้านความรู้
1. สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่างๆ จากสื่อทางออนไลน์เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง  2. สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหารวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ            3. สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
1. มอบหมายให้นักศึกษาจัดทำรายงาน สรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานทางวิชาชีพซึ่งได้รับจากการฝึกงานทางวิชาชีพ  2. ให้นักศึกษาจัดทำบันทึกการปฏิบัติงานประจำวันโดยมีรายละเอียดดังนี้ งานที่ได้รับมอบหมาย ปัญหาที่เกิดจากการทำงานและแนวทางที่ใช้ในการแก้ปัญหา
 
1. การประเมินการปฏิบัติงานของนักศึกษาโดยอาจารย์นิเทศและพี่เลี้ยง  2. การประเมินตนเองโดยนักศึกษาด้าน ทัศนคติต่อวิชาชีพ การพัฒนาตนเองด้านทักษะทางปัญญา
1. สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี  2. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี  3. มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมงาน และมีความรับผิดชอบในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
1. จัดปฐมนิเทศนักศึกษาพื่อสร้างความเข้าใจให้ตรงกันเกี่ยวกับการฝึกงานวิชาชีพ (วัตถุประสงค์ จุดมุ่งหมายในการพัฒนาคุณลักษณะทีดีของนักวิชาชีพบัญชีและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง  2. ทำความเข้าใจกับสถานประกอบการถึงจุดมุ่งหมายของการฝึกงานทางวิชาชีพจริงและมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่คาดหวังอย่างชัดเจน  3. ประสานงานกับสถานประกอบการในการมอบหมายงานและความรับผิดชอบให้กับนักศึกษาให้ตรงกับจุดมุ่งหมายของการพัฒนาทักษะ มนุษย์สัมพันธ์ การทำงานร่วมกับผู้อื่น
1. การประเมินการปฏิบัติงานของนักศึกษาโดยอาจารย์นิเทศและพี่เลี้ยง  2. การประเมินตนเองโดยนักศึกษาด้าน ทัศนคติต่อวิชาชีพ การพัฒนาตนเองด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
1. มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมายและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง  2. สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหา หรือตามงานที่ได้รับมอบหมาย  3. สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิตการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ
1. มอบหมายให้นักศึกษาจัดทำรายงาน สรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานทางวิชาชีพซึ่งได้รับจากการฝึกงานทางวิชาชีพ  2. ให้มีการนำเสนอรายงานด้วยวาจาโดยมีการใช้เทคโนโลยีและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสม
การประเมินการปฏิบัติงานของนักศึกษาโดยอาจารย์นิเทศและพี่เลี้ยง
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 43041302 ฝึกงานสิ่งทอและเครื่องประดับ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 การเลือกงานและสถานประกอบการ นักศึกษาเป็นผู้เลือกสถานที่ฝึกงานด้วยตนเองโดยผ่านความเห็นชอบของอาจารย์ที่รับผิดชอบ ได้สถานประกอบการที่นักศึกษาจะเข้าไปฝึกงาน ก่อนเริ่มฝึกงาน
2 นักศึกษาเข้ารับการปฐมนิเทศและปัจ​ฉิมนิเทศการฝึกงานที่ทางสาขาวิชาจัดขึ้น การเข้าร่วมกิจกรรม และสอบถามความเข้าใจ ก่อนและหลังการฝึกงาน
3 การวางแผนปฏิบัติงาน การบันทึกผลการปฏิบัติงาน ประเมินจากคู่มือการฝึกงาน หลังจากฝึกงานเสร็จ
4 การปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการทางวิชาชีพ คะแนนประเมินจากพี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศก์
5 การนำเสนอผลการฝึกงาน ประเมินจากการนำเสนอผลงาน หลังจากฝึกงานเสร็จ
คู่มือฝึกงาน
- นักศึกษาตอบแบบสอบถามเพื่อประเมินการบรรลุวัตถุประสงค์การฝึกงาน ความพร้อมของสถานประกอบการ และการดูแลของพนักงานพี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศก์  - ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแบบประเมิน เกณฑ์และวิธีการประเมินผลการฝึกงาน ตลอดจนการปรับปรุงแนวทางการฝึกงานของนักศึกษา
กระบวนการประเมินการฝึกประสบการณ์ภาคสนามจากผู้เกี่ยวข้องต่อไปนี้  พนักงานพี่เลี้ยงหรือผู้ประกอบการ  - ประเมินการบรรลุวัตถุประสงค์ในการฝึกงานของนักศึกษา  - ประเมินความพร้อมของสถานประกอบการ  - ประเมินการทำหน้าที่ของตนเอง  - ประเมินแบบประเมิน เกณฑ์และวิธีการประเมินผลการฝึกงาน ตลอดจนการปรับปรุงแนวทางการฝึกงานของนักศึกษา  อาจารย์ที่ดูแลกิจกรรมภาคสนาม  - ประเมินการบรรลุวัตถุประสงค์ในการฝึกงานของนักศึกษา  - ประเมินความพร้อมของสถานประกอบการ 
การสัมภาษณ์นักศึกษาหลังเสร็จจากการฝึกงาน