โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม

Data Structure and Algorithm

มีความรู้ความเข้าใจในโครงสร้างข้อมูล เข้าใจรูปแบบ อัลกอรึทึมพื้นฐาน เทคนิคการเรียงลำดับข้อมูล มีทักษะในการนำความรู้ในโครงสร้างข้อมูลมาทำการพัฒนาอัลกอรึทึม  และสามารถวิเคราะห์อัลกอรึทึมอย่างง่าย ๆ และเขียนโปรแกรมเพื่อจัดการกับโครงสร้างแบบต่าง ๆ
เพื่อให้สอดคล้องกับสาระวิชาในกรอบหลักสูตรมาตรฐานด้านระบบสารสนเทศของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
ศึกษารูปแบบของโครงสร้างข้อมูล อาร์เรย์ สแตก คิว ลิงลิสท์ ไบนารีทรี และอัลกอรึทึมพื้นฐานที่ใช้กับโครงสร้างข้อมูล เทคนิคการเรียงลำดับข้อมูลในหน่วยความจำหลักแบบต่าง ๆ การพัฒนาอัลกอรึทึมและการวิเคราะห์อัลกอรึทึมอย่างง่าย การเขียนโปรแกรมเพื่อจัดการกับโครงสร้างแบบต่าง ๆ
1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
พัฒนาผู้เรียนให้เข้าใจความสำคัญในการศึกษาพื้นฐานของข้อมูลสามารถวิเคราะห์และพัฒนอัลกอรึทึมในการเขียนโปรแกรมเพื่อใช้ในองค์กรธุรกิจ มีจรรยาบรรณทางวิชาชีพ ความรับผิดชอบ มีวินัย
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างรูปแบบและอัลกอรึทึมในการเขียนโปรแกรมที่ใช้ในธุรกิจแบบต่าง ๆ กำหนดให้นักศึกษาทำงานโดยฝึกปฏิบัติในการวิเคราะห์อัลกอรึทึมและเขียนโปรแกรมพื้นฐาน อภิปรายผลงาน
พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา การนำเสนอและอภิปราย ประเมินผลการวิเคราะห์และพัฒนาโปรแกรม
           มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบของโครงสร้างข้อมูลแบบต่าง ๆ มีความรู้ในด้านอัลกอรึทึมพื้นฐานใช้กับโครงสร้างข้อมูล และเทคนิคการเรียงลำดับข้อมูลในหน่วยความจำหลักแบบต่าง ๆ สามารถพัฒนาอัลกอรึทึมอย่างง่าย สามารถเขียนโปรแกรมเพื่อจัดการกับโครงสร้างข้อมูลแบบต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้
บรรยาย ยกตัวอย่างประกอบ กำหนดให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติในการพัฒนาอัลกอรึทึมที่ใช้กับโครงสร้างข้อมูลแบบต่าง ๆ
1. ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาคด้วยข้อสอบ
2. นำเสนอผลงาน   
มีวิจารณญาณในการวิเคราะห์อัลกอรึทึมอย่างเป็นระบบและถูกต้องสามารถเขียนโปรแกรมโดยใช้เทคนิคของโครงสร้างข้อมูลแบบต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับการทำงานในองค์กรธุรกิจ
บรรยายให้แบบฝึกหัด
นำเสนอผลงานจากแบบฝึกหัดและการอภิปรายในชิ้นงาน
สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนในองค์กรในหน่วยงานสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อนำเทคนิคโครงสร้างข้อมูลไปประยุกต์ให้ตรงกับบุคคลที่จะต้องใช้ภายในองค์กร มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเอง
กำหนดให้นักศึกษาทำงานโดยฝึกปฏิบัติงานการเขียนโปรแกรมโดยใช้อัลกอริทึมแบบต่างๆ
นำเสนอผลงานของแบบฝึกหัด และตอบข้อซักถามของอาจารย์
สามารถวิเคราะห์ประสิทธิภาพของอัลกอรึทึมได้อย่างถูกต้อง ประยุกต์โครงสร้างข้อมูลกับการเขียนโปรแกรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งการเขียนและปากเปล่า ใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม ใช้เทคโนโลยีในการนำเสนอและสารสนเทศที่ถูกต้อง
กำหนดให้นักศึกษาทำงาน โดยกำหนดรูปแบบงานที่ให้นักศึกษาสามารถเพื่อใช้อัลกอรึทึมและโครงสร้างได้หลากหลายรูปแบบ นำเสนอผลงาน จัดส่งผลงาน
1. นำเสนอผลงานที่ทำงาน และตอบข้อซักถามของอาจารย์
2. ตรวจรายงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2, 1.6 2.1, 2.2, 2.3, 2.5, 2.6, 2.7, 2.8 3.1, 3.3, 3.4 4.4, 4.6 แบบฝึกหัด -Introduction -Array -String การประยุกต์ Stack การประยุกต์ Queue การประยุกต์ Link-List การประยุกต์ Recursive 1-7 10%
2 5.1, 5.2, 5.3, 5.4 การอภิปรายด้วยวาจาในเรื่อง Array, Queue, Linked-List, Stack 3-6 5%
3 2.1, 2.2, 2.5, 2.7 3.1, 3.4 สอบกลางภาค 8 30%
4 1.2, 1.6 2.1, 2.2, 2.3, 2.5, 2.6, 2.7, 2.8 3.1, 3.3, 3.4 4.4, 4.6 แบบฝึกหัดเรื่อง -Tree -กราฟ -Sorting -Searching 9-15 10%
5 5.1, 5.2, 5.3, 5.4 การอภิปราย/เปรียบเทียบอัลกอรึทึมด้านต่างๆ ด้วยการนำเสนอแต่ละบุคคลในเรื่อง Sort, Searching 12-13 5%
6 2.1, 2.2, 2.5, 2.7 3.1, 3.4 สอบปลายภาค 17 30%
ทรงลักษณ์ พิริยะไพโรจน์, สุมมา  เกษมสวัสดิ์.  เรียนลัด Data Structure ด้วย Visual Basic.
บริษัทโปรวิชั่น จำกัด,   2544.
รศ.สมพิศ  โกศิลวัฒน์.   โครงสร้างข้อมูลและอัลกอรึทึม.  สำนักพิมพ์ ม.รามคำแหง, 2538.
            ดร.สุชาย  ธนวเสถียร,วิชัย  จิวังกูร.  โครงสร้างข้อมูลเพื่อการออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์.
                        บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, 2547.
            โอภาส  เอี่ยมสิริวงค์.  โครงสร้างข้อมูลเพื่อการออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์.                 
บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น,  2549
โปรแกรมภาษา C
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน การสะท้อนความคิดจากพฤติกรรมของผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ผลการสอบ การทวนสอบผลประเมินผลการเรียนรู้ การประเมินโดยคณะกรรมการประเมินข้อสอบ
สัมมนาการจัดการเรียนการสอน การวิจัยใน/นอกชั้นเรียน