ระบบฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

Aquaculture Farming System

1. มีความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบฟาร์มเพาะเลี้ยงน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำทะเล
2. มีความเข้าใจเกี่ยวกับระบบฟาร์มเพาะเลี้ยงน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำทะเล
3. มีความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการเลือกระบบฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำทะเล 
4. มีความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการจัดการวางระบบฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำทะเล
5. มีความเข้าใจด้านข้อจำกัดของระบบฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำทะเล รวมทั้งแนวทางการแก้ไข
1. เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจและเกิดความรู้ความสามารถและความเข้าใจ โดยใช้หลักการดำเนินงาน/การจัดการที่เกี่ยวข้องกับระบบฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด 
2. นักศึกษานำความรู้และทักษะไปใช้ในการดำรงชีวิต ประกอบอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ
3.เพื่อให้เนื้อหาสมบูรณ์สอดคล้องกับสถานการณ์ และการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับรูปแบบและระบบฟาร์มเพาะเลี้ยงน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำทะเลการเลือกระบบฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การจัดการวางระบบฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่าง ๆ ข้อจำกัดของระบบฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบต่างๆ แนวทางการแก้ไข
3.1 วันจันทร์ พุธ ศุกร์ เวลา 15.00 - 16.30 น. ห้อง FS201 โทร 091-8396241
3.2  E-mail; mr1fisheries@hotmail.com   เวลา 20.00 - 21.00 น. ทุกวัน
1.1 มีจิตสำนึกและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรมสาธารณะ
1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการ หรือวิชาชีพ
1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์


 


 
การสอนแบบบรรยายเชิงอภิปราย โดย   
- จะสอดแทรกหรือยกตัวอย่างประกอบในขณะสอนเนื้อหา
- กำหนดหลักเกณฑ์หรือแนวปฏิบัติให้นักศึกษาต้องถือปฏิบัติในการเรียนรายวิชานี้ เช่น การตรงเวลา   การมีวินัยในห้องเรียน รับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
- นักศึกษาต้องไม่ทุจริตในการสอบหรือการลอกการบ้านหรืองานของผู้อื่น
- การนำข้อความจากแหล่งความรู้ต่างๆ มาทำรายงานนั้น ต้องมีการอ้างอิงเพื่อให้เกียรติแก่เจ้าของความคิด
- นักศึกษาต้องรู้จักแบ่งปันความรู้กับเพื่อนนักศึกษาด้วยกัน




 
 
- ร้อยละ 90 ของนักศึกษาเข้าเรียนตรงเวลา
- ร้อยละ 95 ของนักศึกษา ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติที่อาจารย์กำหนด
- ไม่มีการทุจริตในการสอบ หรือไม่มีการลอกรายงานหรือลอกการบ้าน
2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎี และหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ที่ศึกษา
2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในสาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
- การสอนแบบการอภิปรายกลุ่มย่อย (Small - Group Discussion)  โดย   
-บรรยายประกอบการอภิปรายในหลักการและทฤษฏี
-มอบหมายให้อ่านบทความวารสารทางวิชาการ พร้อมทั้งเขียนรายงานสรุปในเรื่องที่อ่าน และส่งเป็นการบ้าน
ทดสอบความเข้าใจโดยจะมีการสอบย่อย รวมทั้งวัดความรู้โดยการสอบกลางภาคเรียนและการสอบปลายภาคเรียน

- ประเมินจากการร่วมอภิปรายในชั้นเรียน และรายงานที่นำส่ง

 
3.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
 3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
ในการเรียนแบบแก้ปัญหา (Problem-solving) โดย
-การสอนจะเสริมสร้างการใช้ทักษะเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจและสามารถเชื่อมโยงกับหลักการหรือทฤษฎีอักนเป็นแนวทางสู่การแก้ปัญหาต่างๆ
-โดยการใช้สื่อเป็นวีดีทัศน์และ มอบหมายโจทย์ปัญหาให้นักศึกษาได้ฝึกหาข้อมูล วิเคราะห์และเข้าใจวิธีแก้ปัญหาโดยอิงบนหลักการและ/หรือทฤษฎีอย่างถูกต้อง
- โดยการทดสอบจากข้อสอบที่เป็นข้อสอบซึ่งต้องให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา ตลอดจนนำหลักการและทฤษฎีไปอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
- ประเมินจากการร่วมอภิปรายในชั้นเรียน
4.1 มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.3 สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
 การสอนโดยใช้เทคนิคการระดมพลังสมอง (Brainstorming)  โดย
- มอบหมายงานให้นักศึกษาทำเป็นกลุ่ม แล้วนำเสนอในชั้นเรียน และต้องแนะนำให้นักศึกษาเข้าใจใน  การทำงานร่วมกัน
- ให้นักศึกษาทำงานร่วมกันเพื่อเกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการทำรายงาน และนำเสนองาน
- ประเมินจากกระบวนการทำงาน การจัดระบบการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
- ประเมินจากความเข้าใจในกระบวนการทำงานและการแบ่งงานกันทำตามความเหมาะสมในการออกปฏิบัติภาคสนาม
5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.2 สามารถสืบค้น วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไข
5.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมี
การสอนแบบกรณีศึกษา (Case Studies) โดย
- กำหนดให้นักศึกษาอ่านตำรา และบทความทางวิชาการ การจัดทำรายงานให้ใช้หนังสืออ้างอิงหรือฐานข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ
- ให้ค้นคว้าในการจัดทำรายงานผ่านฐานข้อมูลหรือวารสารวิชาการ
- ในการนำเสนอรายงานให้นำเสนอผ่านระบบสารสนเทศ (power point)
 
-ประเมินจากรายงาน หรืองานที่มอบหมาย ว่ามีการใช้วารสาร หนังสือ หรือฐานข้อมูลเชิงวิชาการ
-ประเมินจากการนำเสนอในชั้นเรียนที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
6.1 มีทักษะในการใช้ความรู้เพื่อดำเนินงานบนมาตรฐานที่ดีในการผลิตที่ดีทางการประมง
6.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ
การสอนแบบปฏิบัติ  โดย
- กำหนดให้นักศึกษาฝึกทักษะดำเนินงานจัดการโรงเพาะฟักที่มีมาตรฐานและเหมาะสมต่อการเพาะฟัก
- ประเมินจากโครงการกลุ่มในการวางแผนการดำเนินงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2
1 23013408 ระบบฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.2, 1.3, 1.4, 2.1, 2.2, 2.3 -การเข้าชั้นเรียน -การส่งรายงานตรงเวลา -การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน 1-15 5%
2 4.1, 4.2, 4.3, 4.4, 6.1, การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ -
3 3.1, 3.2, การทดสอบย่อย 3 ครั้ง 4,6,10 5%
4 2.1, 2.2, 2.3, 3.1, 3.2 การสอบกลางภาค 8 5%
5 5.1, 5.2, 5.3 การนำเสนองาน/การรายงาน 14 20%
6 2.1, 2.2, 2.3, 3.1, 3.2 การสอบปลายภาค 16 65 %
- คณะกรรมการอานวยการควบคุมการติดเชื้อและติดต่อ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.(2557). คู่มือและระเบียบปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ปี 2557-2560. ขอนแก่น: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
-บุญชัย เจียมปรีชา และสามารถ  เปรมกิจ. (2533). ปัญหา และการแก้ไขการเลี้ยงกุ้งกุลาดำที่จังหวัดเพชรบุรี. ศูนย์พัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งสมุทรสาคร, กองเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง, กรมประมง. เอกสารวิชาการฉบับที่ 30/2533, 15 หน้า.
-ชลอ ลิ้มสุวรรณ. (2534). คัมภีร์การเลี้ยงกุ้งกุลาดำ. สำนักพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ, กรุงเทพฯ.
-เอกชัย ดวงใจ. (2557). เอกสารและสื่อประกอบการเรียนการสอน รายวิชาปฏิบัติการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน. 239 หน้า
-กรมประมง. (2557). แนวปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำจืด สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 92 หน้า
-Boyd, C.E. (1990). Water Quality in Ponds for Aquaculture of Fisheries. Department of Fisheries and Allied Aquaculture Department, Auburn University, Auburn, Alabama. 482 p.
-ยนต์ มุสิก. คุณภาพน้ำกับกำลังผลิตของบ่อปลา. (2542). ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
-ไมตรี ดวงสวัสดิ์ และจารุวรรณ สมศิริ. (2528). คุณสมบัติของน้ำและวิธีวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางการประมง. สถาบันวิจัยประมงน้ำจืดแห่งชาติ, กรมประมง. 133 หน้า.
-ไมตรี ดวงสวัสดิ์ และจารุวรรณ สมศิริ. (2538). คุณสมบัติของน้ำและวิธีการวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางประมง. ฝ่ายวิจัยสิ่งแวดล้อม. สถาบันประมงน้ำจืดแห่งชาติ. กรมประมง. 115 หน้า.
-สมหมาย เชี่ยววารีสัจจะ. (2539). เอกสารการสอนจัดการคุณภาพน้ำ. ภาควิชาวาริชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
-กมลพร ทองอุทัย และสุปราณี ชินบุตร. (2537). การป้องกันและกำจัดโรคปลา. สถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำ. กรมประมง. 30 หน้า.
-ประไพสิริ สิริกาญจน. (2546). ความรู้เรื่องปรสิตของสัตว์น้ำ. ภาควิชาชีววิทยาประมง คณะประมงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน. 270 หน้า.
-องอาจ เลาหวินิจ. (2544). สารที่นิยมใช้ในการเลี้ยงกุ้ง. กรุงเทพมหานครฯ.
-มะลิ บุณยรัตนผลิน นิพนธ์ ศิริพันธุ์ และศิริ ทุกข์วินาศ. (2546). การเลี้ยงกุ้งทะเลระบบอินทรีย์. กรมประมง. 115 หน้า.
-กรมประมง. (2546). ระเบียบและการปฏิบัติการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามตามมาตรฐาน จี เอ พี พ.ศ. 2546. สำนักวิจัย และพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง, กรุงเทพฯ.
-พุทธ ส่องแสงจินดา. (2546). ออกซิเจนกับการจัดการเลี้ยงกุ้งและการพัฒนา. น. 224-229. ใน สุรศักดิ์ ดิลกเกียรติ. กุ้งไทย ก้าวใหม่ สู่หนึ่งในผู้นำกุ้งโลกอย่างยั่งยืน. โรงพิมพ์ ก.พล.กรุงเทพฯ.
-สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล. (2546). ระเบียบและวิธีปฏิบัติในการผลิตกุ้งทะเลตามมาตรฐาน จีเอพี พ.ศ. 2546. สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กรมประมง.
-กรมประมง. (2547). มาตรฐานการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์ของประเทศไทย. สำนักพัฒนาและ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการประมง, กรมประมง. 19 หน้า.
-กรมประมง. (2548). การตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ปัญหาสารตกค้างในกุ้ง.กรุงเทพมหานคร: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
-บอลตัล ดับบลิว. (2543). การวัดและการทดสอบไฟฟ้าและอิเล็ดทรอนิกส์. บริษัท ซีเอ็ดยูแคชั่น จำกัด.
-เดชา ภัทรมูล. (2547). งานไฟฟ้าและอิล็กทรอนิกส์เบื้องต้น. บริษัท สกายบุกส์ จำกัด กรุงเทพ.
-ไมตรี ดวงสวัสดิ์. (2526). คุณสมบัติของน้ำกับการเลี้ยงปลา. สถาบันประมงน้ำจืดแห่งชาติ, 1-23 หน้า.
-ลัดดา วงศ์รัตน์. (2542). แพลงก์ตอนพืช. พิมพ์ครั้งที่ 2. สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
- อุษุมา กู้เกียรตินันท์ และ วิมล อยู่ยืนยง. (2544). การจัดการด้านสุขภาพสัตว์ของผู้ประกอบการที่ขอรับรองมาตรฐานฟาร์ม. สัตวแพทยสาร, 52(1-2): 58-71
-ทินรัตน์ ศรีสุวรรณ์ และ ตวงทอง ปัจฉิมะศิริ. (2013). การฆ่าเชื้อในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ. Thai-NIAH e-Journal. 4(3): 59-70.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1. การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
2. แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรือหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง