การควบคุมคุณภาพอาหาร

Food Quality Control

นักศึกษามีความรู้พื้นฐานและทักษะด้านการควบคุมคุณภาพคุณภาพในอุตสาหกรรมอาหาร ตลอดจนมีความรู้ในสาขาวิชาอื่นที่มีความเกี่ยวข้องในงานควบคุมคุณภาพ มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติหน้าที่ตามจรรยาบรรณวิชาชีพ มีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม รวมถึงการปรับเปลี่ยนตามกาลเวลาเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายทั้งของตนเองเเละรับผิดชอบงานในกลุ่ม พัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
เพื่อพัฒนาด้านเนื้อหาทางวิชาการ ให้เหมาะสมกับการสอน ทันต่อสถานการณ์ของอุตสาหกรรมอาหารที่เปลี่ยนแปลงไป
ความหมายและความสำคัญของการควบคุมคุณภาพ ปัจจัยคุณภาพ การตรวจวัดคุณภาพทางกายภาพ เคมี จุลชีววิทยา และประสาทสัมผัส ในกระบวนการแปรรูปอาหารระดับ อุตสาหกรรมตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบ กระบวนการแปรรูป และผลิตภัณฑ์สุดท้าย การสุ่มตัวอย่างอาหาร การตรวจสอบ เทคนิคทางสถิติสำหรับการควบคุมคุณภาพ
3.1 วัน พุธ เวลา 13.00 – 15.0 น. ห้อง AI 1103 โทร 086-2055523
3.2 e-mail; jinakarnl@hotmail.com เวลา 17.00 – 19.00 น. ทุกวัน
1.1 มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ 1.2 แสดงออกอย่างสม่ำเสมอถึงความซื่อสัตย์สุจริต 1.3 มีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 1.4 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม 1.5 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
 
 
1.กำหนดให้นักศึกษาทุกคนต้องมีระเบียบวินัยเข้าเรียนตรงต่อเวลาตามเวลาเรียนที่กำหนดและให้นักศึกษาเซ็นต์ชื่อทุกครั้งที่เข้าเรียน
2.ให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่มเพื่อฝึกให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ความซื่อสัตย์ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของทุกคนในกลุ่ม
3. ยกตัวอย่างกรณีศึกษาการควบคุมคุณภาพอาหารที่นักศึกษาต้องมีจิตสำนึกต่อหน้าที่และตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
 
การเข้าเรียนตรงต่อเวลา และส่งงานที่ได้รับมอบหมายให้ตรงเวลา การมีวินัยและเคารพในกฏระเบียบของวิชาที่อาจารย์ได้ชี้แจงในสัปดาห์แรก และบันทึกการส่งงานของนักศึกษาและให้คะแนนตามเกณฑ์
 
˜2.2 มีความรู้ในสาขาวิชาอื่น ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การบริหารจัดการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
š2.3 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาและต่อยอดองค์ความรู้ และมีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ
˜2.4 รู้กฎระเบียบ ข้อกำหนดทางเทคนิค รวมถึงการปรับเปลี่ยนตามกาลเวลาเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
1. การสอนแบบบรรยายเชิงอภิปราย และฝึกปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพในอุตสาหกรรมอาหาร
2. ให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่มโดยให้ค้นคว้าหาความรู้ความก้าวหน้าทางวิชาการในศาสตร์สาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องโดยการนำเสนอ ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา
การสอบย่อย (Quiz)
การสอบกลางภาคและปลายภาค
การนำเสนอผลงานทั้งแบบรายบุคคลและกลุ่ม ประเมินผลการนำเสนองาน ผลของงานที่มอบหมาย โดยมีเกณฑ์วัดและประเมินผล
š3.1 มีความสามารถในการค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและประเมินข้อมูลสารสนเทศ แนวคิดและหลักฐานใหม่ ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และใช้ข้อสรุปที่ได้ในการแก้ไขปัญหา หรืองานอื่น ๆ โดยไม่ต้องอาศัยคำแนะนำ
š3.2 สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ในการวิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อน และเสนอแนวทางแก้ไขอย่างสร้างสรรค์
˜3.3 สามารถใช้ทักษะและความเข้าใจ ในบริบททางวิชาชีพและวิชาการ เช่น การตรวจวิเคราะห์อาหาร การควบคุมคุณภาพ การวิจัย และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
˜3.4 มีทักษะในภาคปฏิบัติที่ได้รับการฝึกฝน ตามเนื้อหาสาระสำคัญของสาขาวิชา
ฝึกปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพในอุตสาหกรรมอาหาร
ตั้งแต่การรับวัตถุดิบ ตลอดในระหว่างกระบวนการผลิต และผลิตภัณฑ์อาหาร
โดยแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม ทุกคนภายในกลุ่มจะต้องสามารถคิดวิเคราะห์ผลทำงานได้อย่างเป็นระบบได้โดยผลัดเปลี่ยนสมาชิกมานำเสนอ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่ม
ประเมินจากการตอบปัญหาในชั้นเรียน การสอบย่อย (Quiz) การสอบกลางภาคและปลายภาค และการนำเสนอผลงานทั้งแบบรายบุคคลและกลุ่ม
˜4.1 มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายทั้งของตนเองเเละรับผิดชอบงานในกลุ่ม
š4.3 วางตัวและแสดงความคิดเห็นได้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
˜4.4 สามารถวางแผนและรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
สอนโดยมีกิจกรรมเสริมในชั้นเรียน มีกิจกรรมทำงานเป็นกลุ่ม และมีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามภาระงานที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่นได้ โดยไม่ยึดติดกับเฉพาะเพื่อนที่ใกล้ชิด
การประเมินจากการแสดงออกอย่างมีส่วนร่วมในชั้นเรียน และประเมินผลงานจากรายงานของนักศึกษาทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม
˜5.1 สามารถระบุและนำเทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการวิเคราะห์แปลความหมายและเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
˜5.2 สามารถสรุปประเด็นและสื่อสาร ทั้งการพูดและการเขียน รู้จักการเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่องและผู้ฟังที่ต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
š5.3 สามารถระบุ เข้าถึง และคัดเลือกแหล่งข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสาระสำคัญของวิชานั้น ๆ จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
š5.4 มีวิจารณญาณในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสม และใช้อย่างสม่ำเสมอเพื่อการรวบรวมข้อมูล แปลความหมายและสื่อสารข้อมูลข่าวสารและแนวความคิด
š5.5 สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
š5.6 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นวัตกรรมและสถานการณ์โลก โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
š5.7 สามารถใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน และภาษาอังกฤษในระดับใช้งานได้อย่างเหมาะสม
ใช้ Power point
มีการนำเสนอข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูล
การมอบหมายงานด้วยการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
ประเมินจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงานของนักศึกษา การสอบย่อย (Quiz) ในชั้นเรียน
˜6.1มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลาเครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการรวมถึงความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่มมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
ปฏิบัติการในห้อง และให้ทำงานเป็นกลุ่มตามงานที่ได้รับมอบหมาย และกำหนดระยะเวลาในการทำงาน
ประเมินจากความประสบความสำเร็จของงานตามระยะเวลาที่กำหนด
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 7 1
1 24122302 การควบคุมคุณภาพอาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1 ,1.3,1.4 การเข้าชั้นเรียน การส่งรายงานตรงเวลา การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน 1-15 10 %
2 2.1,2.2,2.4 3.3,3.4 สอบรายหน่วย สอบกลางภาค สอบปลายภาค 1-8,10-16 9 17
3 4.1 5.1,5.2 6.1 การทำงานกลุ่มและผลงาน การนำเสนองาน/การรายงาน 1-15 30 %
ธีรวัลย์ ชาญฤทธิเสน และ วันเพ็ญ จิตรเจริญ. 2536. หลักการวิเคราะห์และควบคุมคุณภาพอาหาร. สถาบันวิจัยและผึกอบรมการเกษตรลำปาง สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล, ลำปาง.
ไพโรจน์ วิริยะจารี. 2535. การวางแผนและการวิคราะห์ทางด้านประสาทสัมผัส. ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร, คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
เพ็ญขวัญ ชมปรีดา. 2536. การประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส. ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์, คณะอุตสาหกรรมเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สมจินตนา สุมิตสวรรค์. 2541. เอกสารประกอบการสอนวิชาการควบคุมคุณภาพ เรื่อง การใช้สถิติในการควบคุมคุณภาพ, ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร, คณะเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น .
สุคนธ์ชื่น ศรีงาม. 2536 . วิธีปฏิบัติการการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส. ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร , คณะอุตสาหกรรมเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
เอกสารประกอบการสอน เรื่อง บทปฏิบัติการวิชา การควบคุมคุณภาพอาหาร สาขาอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย : ข้อกำหนด
มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ มกอช. 9024-25503.
บทความเกี่ยวกับระบบคุณภาพในอุตสาหกรรมอาหารจากเว็บไซต์ต่างๆ
แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา

1.2 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ผลการเรียนของนักศึกษา
แผนกวิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา มีการประชุมอาจารย์ในแผนกวิชาเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
แผนกวิชามีคณะกรรมการประเมินการสอนทำหน้าที่ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา โดยการสุ่มประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนน ทั้งคะแนนดิบและระดับคะแนน ของรายวิชา 60% ของรายวิชาทั้งหมดในความรับผิดชอบของแผนกวิชา ภายในรอบเวลาหลักสูตร
แผนกวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดนพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินการสอนของแผนกวิชา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา เสนอต่อหัวหน้าแผนกวิชา เพื่อนำเข้าที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงสำหรับใช้ในปีการศึกษาถัดไป