การพัฒนาหลักสูตร

Curriculum Development

                1. รู้ความสำคัญและองค์ประกอบของหลักสูตร            
                2. รู้แนวทางการวิเคราะห์หลักสูตร
                3. เข้าใจการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร
                4. เข้าใจการประเมินผลหลักสูตร
                5. เห็นความสำคัญของการจัดทำและบริหารหลักสูตร
                6. มีทัศนคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพครู
            เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ขั้นพื้นฐาน เข้าใจในเรื่องหลักสูตรและการพัฒนา ตลอดจนบริบทที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนด้านวิชาชีพช่างอิเล็กทรอนิกส์และช่างอุตสาหกรรม
                   ศึกษาเกี่ยวกับหลักการ แนวคิดทฤษฎีหลักสูตร บริบทที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรด้านอาชีวะและเทคนิคศึกษา  กระบวนการพัฒนาหลักสูตร  การออกแบบและจัดทำหลักสูตรรายวิชาชีพในสาขาวิชาเอกตามกลุ่มหลักสูตรที่นักศึกษาสังกัด การนำหลักสูตรไปใช้  การประเมินหลักสูตร  การนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตร  สภาพและปัญหาของหลักสูตรด้านอาชีวะและเทคนิคศึกษา  แนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร
-    อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาในชั่วโมงแรกของการเรียน การสอน
-    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความเหมาะสม
ก.  ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม (· ผลการเรียนรู้ข้อ 1.2,1.3)
                                ส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่าง ๆ ดังนี้

มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.1)


มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ (· ผลการเรียนรู้ข้อ 1.2) มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคม และสิ่งแวดล้อม (·ผลการเรียนรู้ข้อ 1.3) เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.4)

ข. กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม  (เน้นผลการเรียนรู้ 1.2 และ 1.3)

สอนสอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรม เน้นเรื่องการแต่งกายและปฏิบัติตนที่เหมาะสม ถูกต้อง ตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย


ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา   การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด ปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาการและวิชาชีพ

ค. กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม

ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษา

 
 
ก. การเรียนรู้ด้านความรู้  (· ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1,2.3)
       นักศึกษาจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้
       1. หลักการ ความสำคัญและองค์ประกอบและทฤษฎีของหลักสูตร(· ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1)
       2. แนวทางการวิเคราะห์หลักสูตร (· ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1)
       3. การปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร (· ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1)
       4. การประเมินผลหลักสูตร (· ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1)
        5. แนวโน้มและปัญหาด้านหลักสูตร(· ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1)
        6. บูรณาการการจัดทำหลักสูตรกับหลักและวิธีการสอน (Bloom’s Taxonomy)  (· ผลการเรียนรู้ข้อ 2.3)
        7. ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.2)
 
กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านความรู้        ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในด้านต่าง ๆ ด้วยวิธีดังนี้       1. การทดสอบย่อย       2. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน       3. ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ       4. ประเมินจากการที่นำเสนอหน้าชั้นเรียน 
1. หลักการ ความสำคัญและองค์ประกอบและทฤษฎีของหลักสูตร(· ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1)
2. แนวทางการวิเคราะห์หลักสูตร (· ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1)
3. การปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร (· ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1)
4. การประเมินผลหลักสูตร (· ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1)
5. แนวโน้มและปัญหาด้านหลักสูตร(· ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1)
6. บูรณาการการจัดทำหลักสูตรกับหลักและวิธีการสอน (Bloom’s Taxonomy)
     (· ผลการเรียนรู้ข้อ 2.3)
7. ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.2)
กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านความรู้ (เน้นผลการเรียนรู้ 2.1 และ 2.3)
    2.2.1 บรรยาย (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1-2.3, 3.1-3.2, 5.1-5.3, 6.1-6.2)
    2.2.2 อภิปรายเรื่องการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา และ/หรือ หัวข้อปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตรอาชีวะและเทคนิคศึกษาสู่อาเซียน
              (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.2,1.4, 2.1-2.3, 3.1-3.2, 4.1-4.3, 5.1-5.3, 6.1-6.2)
    2.2.3 การทำงานกลุ่มและนำเสนอโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์                               
    2.2.4 ค้นคว้ารายงานการวิจัยด้านหลักสูตรและสำเนาบทคัดย่อ เน้นด้านอาชีวศึกษา (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.2-1.4, 2.1-2.3, 3.1-3.2, 5.1-5.3, 6.1)
2.2.5 จัดทำหลักสูตรรายวิชาและตัวอย่างเอกสารการสอนในรายวิชาระดับ ปวช.
จำนวน 1 รายวิชา (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.2-1.4, 2.1-2.3, 3.1-3.2, 4.1-4.3, 5.1-5.3, 6.1-6.2)
    2.2.6 อภิปรายส่วนของเอกสารหลักสูตรของเพื่อนร่วมชั้นเรียนในรายวิชาที่ไม่ได้ทำ
(ผลการเรียนรู้ข้อ 1.2,1.4, 2.1-2.3, 3.1-3.2, 5.3, 6.2)
กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านความรู้
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในด้านต่าง ๆ ด้วยวิธีดังนี้

การทดสอบย่อย การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ

1.3.4 ประเมินจากการที่นำเสนอหน้าชั้นเรียน
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา (· ผลการเรียนรู้ข้อ 3.1,3.2)
                  3.1.1 มีทักษะการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิชาชีพในเรื่อง ( · ผลการเรียนรู้ข้อ 3.1)
                                ก. การเขียนหลักสูตรรายวิชาในรายวิชาระดับ ปวช. 
                                ข. การค้นคว้ารายงานการวิจัยด้านหลักสูตร                       
                 3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ ในประเด็น วิเคราะห์งานอาชีพสู่การจัดทำหลักสูตรพัฒนาอาชีพ ( · ผลการเรียนรู้ข้อ 3.2)
กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา (เน้นผลการเรียนรู้ 3.1,3.2)
                3.2.1   การมอบให้นักศึกษา ( · ผลการเรียนรู้ข้อ 3.1,3.2)
                                 ก. ทำหลักสูตรรายวิชาในรายวิชาระดับ ปวช. ปวส.
                                 ข. การค้นคว้ารายงานการวิจัยด้านหลักสูตร                                
   3.2.2   อภิปรายกลุ่ม
กลยุทธ์การประเมินผล
     3.3.1   ประเมินจากผลการทำงานและการรายงานหน้าชั้นเรียน
     3.3.2   วัดผลจากการสอบภาคทฤษฎี
     3.3.3   สังเกตพฤติกรรมการแก้ปัญหาในการจัดทำหลักสูตรรายวิชาและการวิเคราะห์อาชีพ
ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
                4.1.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
                4.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                4.1.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
               4.1.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
              4.2.1   มอบหมายงานให้ค้นคว้าทำรายงานเป็นกลุ่มและส่งภายในกำหนดเวลา
              4.2.2   มอบหมายให้รายงานหน้าชั้นและมีการอภิปราย ยอมรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วม
ชั้นเรียน
วิธีการประเมินผล
          4.3.1  พฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน 
          4.3.2 การส่งงานภายในกำหนด
          4.3.3 พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
          4.3.4 มีการแสดงออกของหลักการในการสรุปประเด็นที่เด่นชัด
ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
      ( · ผลการเรียนรู้ข้อ 5.3)
               5.1.1  สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
                  5.1.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 
               5.1.3 สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 ( · ผลการเรียนรู้ข้อ 5.3)
     
     กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ( เน้นผลการเรียนรู้ข้อ 5.3)
                 5.2.1 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
                 5.2.2  ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาข้อมูล
                 5.2.3  ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการนำเสนอผลงาน
                 5.2.4 การนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียนเพื่อสะท้อนถึงการใช้สารสนเทศและภาษาในการสื่อสาร
    
     กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
               การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา ดังนี้
                 5.3.1  พิจารณาจากเนื้อหาในสื่อที่นำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
                 5.3.2  พิจารณาจากการเนื้อหาในเล่มรายงานที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล
                 5.3.3  พิจารณาจากการใช้สื่อในการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
                 5.3.4  พิจารณาจากการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
                  5.3.5 พิจารณาจากการเข้าใช้ระบบเทคโนโลยีการศึกษาที่กำหนด
( · ผลการเรียนรู้ข้อ 6.2)
                 6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                 6.1.2 สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ปฏิบัติตามรูปแบบการสอน ประยุกต์วิธีการสอนได้
อย่างเหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียน
    
    วิธีการสอนและกลยุทธ์ที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย (เน้นผลการเรียนรู้ข้อ 6.2)
                 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อต่อไปนี้
                 6.2.1    กำหนดรูปแบบการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน เพื่อให้นักศึกษาสะท้อนความรู้ที่ค้นคว้าและทักษะในการถ่ายทอดความรู้ ( · ผลการเรียนรู้ข้อ 6.2)
                 6.2.2    กำหนดให้นักศึกษาทำหลักสูตรรายวิชา
   
   การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
                 6.3.1    ประเมินพฤติกรรมการการทำหลักสูตรรายวิชา
                 6.3.2    การประเมินจากการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน ( · ผลการเรียนรู้ข้อ 6.2)
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านความสัมพันธ์บุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 1 1 1 2 2 2 3 3 4 4 4 4 5 5 5 6 6
1 TEDCC806 การพัฒนาหลักสูตร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 •2.1, •2.3 •3.1, •3.2 •5.3 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 4 9 12 17 5% 25% 5% 25%
2 •1.2, •1.3, •2.1, •2.3, •3.1, •3.2 •5.3,•6.2 4.1,4.2 5.1 การทำงานกลุ่ม ค้นคว้าและการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย - หลักสูตรการอาชีวศึกษา - การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ด้านอาชีวศึกษา ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 •1.2, •1.3, •2.1, •2.3, •3.1, •3.2 •5.3,•6.2 4.1,4.2 5.1 การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 30% (รวมกิจกรรมที่ 2 - 5 )
4 •1.3 การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30% (รวมกิจกรรมที่ 2 - 5 )
5 •1.2, •1.3, •2.1, •2.3, •3.1, •3.2 •5.3,•6.2 4.1,4.2 5.1 ผลงานการทำหลักสูตรรายวิชา ตลอดภาคการศึกษา 30% (รวมกิจกรรมที่ 2 - 5 )
6 •1.3 •1.3 การเช็คชื่อการเข้าชั้นเรียน การแต่งกายและการทำผิดวินัย ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการสอนหลัก 
บรรณานุกรม (Bibliography)
กมล  สุดประเสริฐ. (2526). การบริหารหลักสูตรในโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : วัฒนาพาณิช.
กรองทิพย์  นาควิเชตร และนพดล  สุ่มมาตย์. (2553). คู่มือออกแบบการสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตาม
                กรอบ มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ. ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
กฤษณ์กร วงศ์ไทย. "รู้เข้าใจประชาคมอาเซียน," อนุสารอุดมศึกษา. 39,128 (ตุลาคม 2556) : 10.
กฤษณา  ศักดิ์ศรี. (2534). มนุษยสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : รวมสาส์น.
กันยา  สุวรรณแสง. (2555). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ : รวมสาส์น.
กัลยาภรณ์  อุดคำมี. (2555.) ปัญหาการพัฒนาหลักสูตร. (Online). Available:
กาญจนา  คุณารักษ์. (2540). หลักสูตรและการพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
                วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
การศึกษานอกโรงเรียน,กรม. (2541). คู่มือการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นสำหรับการจัดกิจกรรมการ
                เรียนการสอน การศึกษานอกโรงเรียน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่ง
                ประเทศไทย จำกัด.
_______________. (2541). เทคนิคการสอนแนวใหม่. กรุงเทพฯ : กรมการศึกษานอกโรงเรียน.
เกรียงศักดิ์  เจริญวงศ์ศักดิ์.(2550,กรกฎาคม.). “แนวโน้มการศึกษาไทยในครึ่งศตวรรษหน้า,”
                สำนักข่าว INN.1.(50).
แก้วตา  คณะวรรณ. (2535). การสร้างหลักสูตร. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เขลางค์นคร-ราม, โรงพยาบาล (2556, พฤษภาคม-สิงหาคม). “รู้จักกันไว้ก่อน เมืองหลวง ASEAN 10
                ประเทศ”, วารสารเพื่อสุขภาพ. 6(16):3-5.
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2543). รายงานการศึกษาแนวทางการบริหารและการ
                จัดการศึกษาของสถานศึกษาในรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School – based
                Management). กรุงเทพฯ : บริษัทพิมพ์ดีจำกัด.
________________. สำนักนายกรัฐมนตรี. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542.
คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. รายงานสภาสังคมในไตรมาสแรกปี
                2551. (Online). Available WWW.NESDB.GO.TH
________________. การสัมมนาเรื่อง"หนทางสร้างสุขของคนในชุมชนและสังคมไทย", (2520). Online Available  WWW.NESDB.GO.TH)
ฆนัท  ธาตุทอง, ดร.(2550). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น. นครปฐม : เพชรเกษมการพิมพ์.
จรูญ  วงศ์สายัณห์. (2520). การศึกษากับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช.
จารุวรรณ เจตเกษกิจ. "พม่ากับ AEC," วารสารอุตสาหกรรมสาร. 54,2 (มีนาคม-เมษายน 2555) :30.
จินตนา  มีแสงพราว (และยศพล เวณุโกเศศ. บก.) (2556). “รอบด้านการศึกษา ระบบการศึกษาของ
                บรูไนดารุสซาลาม,” วารสารข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. 33(4) : 38-39.
จีรเดช  อู่สวัสดิ์, รศ.ดร.และคณะ. “อุดมศึกษา หัวขบวนในการขับเคลื่อนคุณภาพ”, จุลสาร สมศ. 9
                (พิเศษ) .
จุลชีพ  ชินวรรโณ. (2554,เมษายน). บทบาทสถาบันอุดมศึกษาบนเส้นทางประชาคมอาเซียน.
                PowerPoint. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จุฬาภรณ์  มาเสถียรวงศ์, ดร.(2550). เด็กไทยบนทางสามแพร่ง บทสังเคราะห์ กรณีศึกษา เด็กและ
                เยาวชนระดับจังหวัดในโครงการติดตามสภาวะการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัด. กรุงเทพฯ:
                สถาบันรามจิตติ สกว.
ใจทิพย์  เชื้อรัตนพงษ์. (2539). การพัฒนาหลักสูตร : หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์
                มหาวิทยาลัย.
ชาญณรงค์  พรรุ่งโรจน์, ศาสตราจารย์ ดร. (2555). สรุปสาระสำคัญจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
                พ.ศ. 2555 “การประกันคุณภาพการศึกษาไทยใต้ร่มพระบารมี” จุลสารสมศ. 9 (ฉบับพิเศษ).
ณัฐวุฒิ  อ่าวสกุล. (2556). “ข้อเสนอ-เพื่อการพัฒนาสถานศึกษานิติบุคคล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                กระทรวงศึกษาธิการ,” วารสารการศึกษาไทย : 32.
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, มหาวิทยาลัย. (2555). คู่มืออบรมพัฒนาครูผู้สอนเรื่องการจัดการ
                เรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐานสำหรับโครงการโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์. พิมพ์
                ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศีกษา (สอศ.).
ธวัชชัย  ชัยจิรฉายากุล, ดร. (2529). การพัฒนาหลักสูตร : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : อักษร
                บัณฑิต.
ธำรง  บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร : การออกแบบและพัฒนา. กรุงเทพฯ : พัฒนศึกษา.
นฤมล  ชะนะคุ้ม. (2556, พฤษภาคม – มิถุนายน). “ประเทศไทยในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและ
                ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไทยต่อการเข้าร่วม AEC,” อุตสาหกรรมสาร. 55(3) : 9-10.
ธำรง  บัวศรี.  ศาสตราจารย์ ดร.(2542).  ทฤษฎีหลักสูตร: การออกแบบและพัฒนา.  กรุงเทพฯ: พัฒนา
                ศึกษา.
ธีระ รุญเจริญ. (2544). "สภาพและปัญหาการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษา
                ในประเทศไทย," รายงานการวิจัยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
นิศา  ชูโต. (2531). การประเมินโครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : พีเอ็นการพิมพ์.
บุญจิตต์ ฉัตรภูติ. (2532.) หลักสูตรและประมวลการสอนการศึกษาเทคนิค. กรุงเทพฯ:คณะวิศวกรรม
                เทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล.
บุญเลี้ยง  ทุมทอง, ดร. (2553). การพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
                มหาวิทยาลัย.
บุรณี ทรัพย์ถนอม. "วัฒนธรรม : เรียนรู้สู่อาเซียน." สารรักษ์วัฒนธรรม. 8, 12 (มกราคม-มิถุนายน)
                2556 : 23-27.
ป๋วย  อึ๊งภากรณ์, ดร. (2508,กันยายน) “การศึกษา”, ศูนย์ศึกษา. 12(9):6.
ปราโมทย์  ประสานกุล และคณะ. การเปลี่ยนแปลงประชากรไทยกับการศึกษา. (Online). Available :
                http://witayakornclub.wordpress.com/  (วันที่ค้นข้อมูล 10 สิงหาคม 2556.)
ปานทิพย์  เปลี่ยนโมฬี. (2556,พฤษภาคม-มิถุนายน). "เปลี่ยนโฉมหน้าเศรษฐกิจประเทศไทยก้าวใหม่
                เชื่อมไทยสู่โลก" อุตสาหกรรมสาร. 55(3) : 38.
เปรื่อง  กิจรัตนี, รองศาสตราจารย์. (2537). ทฤษฎีหลักสูตรอุตสาหกรรมศิลป์. กรุงเทพฯ : ศูนย์พัฒนา
                หนังสือ กรมวิชาการ แปลจาก James A. Hales and James F. Snyder.  Jackson’s Mill
                Industrial Arts Curriculum Theory.
พรพิมล  เมธิรานันท์. (2556).  “การศึกษาการพัฒนากรอบคุณวุฒิแห่งชาติของประเทศไทยเชื่อมโยง
                กับกรอบคุณวุฒิอาเซียน,”  วารสารการศึกษาไทย.  หน้า  29-31.  (ท่านพรพิมล เมธิรานันท์
                ดำรงตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มนโยบายและแผนการศึกษาเฉพาะด้าน สำนักนโยบายและแผนการ
                ศึกษา.)
พิสิฐ  เมธาภัทร และธีระพล  เมธีกุล. (2529). ยุทธวิธีการเรียนการสอนวิชาเทคนิค. กรุงเทพฯ :
                สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ภารดี  อนันต์นาวี.(2553). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา.พิมพ์ครั้งที่3 ชลบุรี:
                สำนักพิมพ์มนตรี.
มาเรียม  นิลพันธุ์. (2543). หลักสูตรและการสอน. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รัชนี  พันธ์รุ่งจิตติและภัชภิชา  ฤกษ์สิรินุกูล. “AEC&ME,” MBA. 170, 15 (ตุลาคม 2556) : 20.
รัตนะ  บัวสนธ์. (2535). การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนเพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญา
                ท้องถิ่นกรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่งในภาคกลางตอนล่าง, ปริญญานิพนธ์  กศ.บ. กรุงเทพฯ :
                มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2555,มิถุนายน). “สรุปการบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย”, จดหมายข่าว
                ราชบัณฑิตยสถาน. 22(253).
เลขาธิการคุรุสภา, สำนักงาน. แผนยุทธศาสตร์คุรุสภาในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
                ฉบับที่ 10. (พ.ศ.2550-2554).
เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. กระทรวงศึกษาธิการ. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษา
                ระเบียบวาระแห่งชาติ(พ.ศ.2551 - 2555) เสนอที่ประชุมสมัชชาคุณภาพการศึกษา ฉบับที่ 23-
                24 พฤศจิกายน 2550.
______________. (2549). การประเมินผล การบังคับใช้กฎหมายการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา
                ครูและบุคลากรทางการศึกษา, กรุงเทพฯ : สกศ.
______________. (2549). รายงานฉบับสิ้นสุดโครงการ โครงการความร่วมมือระหว่างธนาคารโลก
                และกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อการพัฒนาประเทศด้านการศึกษาภายใต้กองทุน  ASEM 
                กรุงเทพฯ:สกศ.
______________. (2550). รายงานการศึกษาไทยในเวทีสากลโลก พ.ศ.2549. กรุงเทพฯ.
.______________. (2550). รายงานผลการประเมินโอกาสและคุณภาพการศึกษาของคนไทย. กรุงเทพฯ : สกศ.
.______________. (2555). การศึกษาการพัฒนากรอบคุณวุฒิแห่งชาติของประเทศไทย : เชื่อมโยงกับ
                กรอบคุณวุฒิอาเซียน. กรุงเทพฯ : สำนักนโยบายด้านการศึกษามหภาค.
วัฒนาพร  ระงับทุกข์, ดร. (2545).  การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 
                พุทธศักราช  2544. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค  จำกัด
วิจิตร ศรีสอ้าน. (2555). “การนำผลการประเมินไปใช้,” จุลสาร สมศ. 9 (ฉบับพิเศษ)
วิชัย  ดิสสระ. (2535). การพัฒนาหลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
วิชัย  ประสิทธิวุฒิเวชช์. (2542). การพัฒนาหลักสูตรที่สานต่อท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : เซ็นเตอร์
                ดิสคัพเวอร์รี่.
วิชัย  วงษ์ใหญ่, รศ.ดร.(2525). พัฒนาหลักสูตร และการสอน-มิติใหม่. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
วิชาการ,กรม กระทรวงศึกษาธิการ. (2491). หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ.2491. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุ
                สภา.
______________. (2539). แนวการสอนกลุ่มการงานพื้นฐานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. กรุงเทพฯ :
                กรมวิชาการ.
______________. (2540). คู่มือการพัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของท้องถิ่น.  กรุงเทพฯ : คุรุ
                สภาลาดพร้าว.
______________. (2544). ร่างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานไปใช้. กรุงเทพฯ  : โรงพิมพ์การศาสนา.
______________. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :
                คุรุสภา.
วิราพร  พงศ์อาจารย์. (2542). การพัฒนาหลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
วิทยากร  เชียงกูล. (2555). (Online) Available:  http://witayakornclub.wordpress.com:
______________. (2549). การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : สายธาร.
______________. (2548). ความสุขซื้อไม่ได้แต่สร้างได้ด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ:ประพันธ์สาส์น.
______________. (2551). แก้วิกฤตเศรษฐกิจแนวพุทธ. กรุงเทพฯ:สายธาร.
วีระพรรณ  จันทร์เหลือง. (2548). เอกสารประกอบการสอนประกอบการสอนวิชาหลักสูตรและการ
                พัฒนารายวิชาช่างเทคนิค : สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ตาก.
ศรีราชา  เจริญพานิช, ศ. ดร. และศาสตราจารย์นิรันต์  เศรษฐบุตร. (2555). “ธรรมาภิบาลเพื่อการ
                ขับเคลื่อนการศึกษา”, จุลสาร สมศ. 9 (พิเศษ).
ศึกษาธิการ,กระทรวง(2551). สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากล พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ : สกศ.
______________. (2551). ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง.
                กรุงเทพฯ : สกศ.
______________. (2551). เอกสารการประชุมระดมความคิด วิกฤตปัญหาคุณภาพการศึกษาและแนว
                ทางแก้ไข การประชุมสมัชชาคุณภาพการศึกษา วันที่ 23-24 พฤศจิกายน 2550. กรุงเทพฯ :
                สกศ.
______________. (2551). สถิติการศึกษาของประเทศไทยปีการศึกษา 2550. กรุงเทพฯ : สกศ.
                (เอกสารถ่ายสำเนา).
สงัด  อุทรานันท์. (2538). หลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สงัด  อุทรานันท์. (2532). พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถิติแห่งชาติ,สำนักงาน. การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนไทย พ.ศ.2550. (Online)
                Available : http://www.nso.go.th
สันต์  ธรรมบำรุง. (2527). พื้นฐานและการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ : วงเดือน.
______________. (2527). หลักสูตรและการบริหารหลักสูตร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ศาสนา.
สมหวัง  พิธิยานุวัฒน์. (2541). วิธีวิทยาการประเมินทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์
                มหาวิทยาลัย.
สมาน  อัศวภูมิ. (2551). การบริหารการศึกษาสมัยใหม่:แนวคิด ทฤษฎี และการปฏิบัติ พิมพ์ครั้งที่ 4
                อุบลราชธานี:อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์.
สัมมา  รธนิธย์.(2553). เอกสารคำสอนหลักทฤษฎีและการปฏิบัติการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2.
                กรุงเทพฯ:แอล ที เพรส.
สวัสดิ์  ประทุมราชและคณะ (2521). การศึกษาความสอดคล้องระหว่างหลักสูตรการฝึกหัดครูกับ
                หลักสูตรประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.
สาโรช  บัวศรี. (2514). แนวคิดบางประการทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสาน
                มิตร.
สำลี  ทองธิว. (2555 กันยายน-ธันวาคม). “หลักสูตรอาเซียนเพื่อการเรียนรู้อาเซียน”, วารสาร
                ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 14(3).
สำลี  รักสุทธี และคณะ (2545).  แนวการศึกษาจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา.  กรุงเทพมหานคร : บริษัท
                สำนักพิมพ์ พ.ศ. พัฒนา จำกัด.
สุจริต  เพียรชอบ. (2548).  การพัฒนาหลัก
______________. (2540). คู่มือการพัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของท้องถิ่น.  กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.  ______________. (2544). ร่างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานไปใช้. กรุงเทพฯ  : โรงพิมพ์การศาสนา.  ______________. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : คุรุสภา. 
อภิศักดิ์  ขันแก้วหล้า. (2547). เอกสารประกอบการสอนประกอบการสอนวิชาหลักสูตรและการ                  พัฒนารายวิชาช่างเทคนิค : สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ตาก. 
กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา

การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่าน...เว็บบอร์ด...ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
กลยุทธ์การประเมินการสอน

ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้

การสังเกตการณ์สอนของ...ผู้ร่วมทีมสอน......หรือการสังเกตการณ์จากคณะผู้ประเมิน..... ผลการเรียนของนักศึกษา การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
การปรับปรุงการสอน

หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้

สัมมนาการจัดการเรียนการสอน การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา

ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ซึ่งได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาดังนี้

การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
การดำเนินการทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา

จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุง
การสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้

ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปีหรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์

        ตามข้อ 4

เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ