เทคนิคการพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ 1

Computer Typing Techniques 1 (ม.น.)

รู้แป้นอักษรไทย – อังกฤษ พิมพ์สัมผัสได้แม่นยำ ถูกต้องรวดเร็วตามเกณฑ์ที่กำหนด มีเทคนิคที่ดีในการพิมพ์สัมผัส
เนื่องจากเป้าหมายของมหาวิทยาลัยเพื่อผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติการให้มีความรู้ ความเข้าใจทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ มีทักษะพื้นฐานทางเทคโนโลยีที่เพียงพอแก่การทำงาน สามารถนำทักษะไปใช้ได้อย่างเหมาะสม มีคุณภาพ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน
ศึกษาวิธีการพิมพ์สัมผัสทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยการพิมพ์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้นักศึกษาสามารถพิมพ์สัมผัสได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และแม่นยำ
จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
 
1.1.1 มีความซื่อสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อตนเองและผู้อื่น มีความสำนึกรับผิดชอบต่อ
ส่วนรวม
1.1.2  มีความอดทนและเพียรพยายาม
1.1.3  เคารพกฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กร และสังคม
 มีจิตสำนึกและมีมโนธรรมที่แยกแยะความถูกต้องความดี และความชั่ว
1.2.1       ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีวินัยเน้นการเข้าเรียนตรงเวลาการแต่งกายถูกต้องตามระเบียบ
ในด้านความซื่อสัตย์ เช่น เน้นการฝึกพิมพ์ถูกวิธี ไม่แอบมองแป้น ไม่ลบคำผิด
1.2.2       เน้นย้ำให้มีความอดทนและเพียรพยายามฝึกฝนนอกเวลาอย่างสม่ำเสมอและให้
รางวัลคนที่มีความเพียร
1.2.3       อธิบายกฎเกณฑ์ในเรื่องระเบียบการใช้ห้องเรียนได้แก่ปิดเครื่องอย่างถูกวิธีหลัง
ใช้งานทุกครั้งไม่นำอาหารเข้ามารับประทานในห้องเรียน เก็บเก้าอี้ให้เรียบร้อยปิดไฟ พัดลม เครื่องปรับอากาศ
1.2.4       ยกย่อง ชมเชย ผู้ที่เป็นแบบอย่างที่ดี ตักเตือนผู้ที่ทำผิดกฎเกณฑ์
1.3.1       ในด้านความมีวินัย ประเมินจากพฤติกรรมการเข้าเรียน การตรงต่อเวลา สังเกต
การแต่งกาย
1.3.2       ในด้านความรับผิดชอบต่อตนเอง ประเมินจากความก้าวหน้าในการพิมพ์ของ
ผู้เรียน
1.3.3       ในด้านการเคารพกฎเกณฑ์ ระเบียบการใช้ห้องเรียน ประเมินจากพฤติกรรมของ
ผู้เรียน
1.3.4       สังเกตพฤติกรรมการปรับปรุงตนเองของผู้เรียนหลังจากการตักเตือน
2.1.1       การเรียนรู้วิธีพิมพ์แป้นอักษรไทย – อังกฤษ ด้วยคอมพิวเตอร์
2.1.2       วิธีพิมพ์สัมผัสได้แม่นยำ ถูกต้อง รวดเร็ว
2.1.3       เทคนิคที่ดีในการพิมพ์สัมผัสเพื่อเป็นพื้นฐานให้สามารถนำไปใช้ในการเรียนวิชาอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.2.1       เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยผู้สอนทำหน้าที่เป็นโค้ชและพี่เลี้ยงโดยดำเนินการดังนี้
 ผู้สอนอธิบายวิธีเคาะแป้น เป็นเคาะ เป็นคำ  (ในการกำหนดคำให้นักศึกษามีส่วนร่วมนำเสนอ) ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติ
2.2.2       ผู้สอนจับเวลาการพิมพ์ระยะสั้น ๆ ไม่เกินครึ่งนาที 2-3 ครั้ง ในการฝึกพิมพ์เป็น
เคาะ เป็นคำ เพื่อพัฒนาความเร็วและความแม่นยำ
2.2.3       ให้ผู้เรียนฝึกพิมพ์เป็นประโยค ผู้สอนสังเกตการฝึกพิมพ์ของแต่ละคน หลังจาก
นั้นจับเวลา 1 นาที 2 –3 ครั้ง
2.3.1       ให้ทดสอบท้ายบทโดยพิมพ์และคิดคำเป็นรายบุคคลโดยผู้สอนบันทึกสถิติการพิมพ์ของแต่ละคนไว้
2.3.2       การสอบกลางภาค – ปลายภาค
3.1.1       ให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาการคิด โดยสามารถเสนอแนวทางในการนำความรู้ที่มีอยู่
นำมาใช้ได้ โดยคิดค้นโดยนำความรู้และประสบการณ์ประยุกต์ใช้
3.1.2มีความกล้าในการตัดสินใจที่สอดคล้องกับสถานการณ์
ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการคิดคำใหม่ ๆ เพื่อฝึกพิมพ์โดยนำความรู้และประสบการณ์มาประยุกต์ใช้สามารถตัดสินใจก้าวนิ้วได้รวดเร็ว
สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมและพฤติกรรมการพิมพ์ขณะทดสอบท้ายบทเป็นรายบุคคลการสอบกลางภาคและปลายภาค
4.1.1   มีความสามารถสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคคล และเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
4.1.2 มีความกระตือรือร้นและรับผิดชอบ
4.1.3 มีความสามารถในการแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ อย่างสร้างสรรค์
4.2.1 ให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อซักถามระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
                4.2.2 แสดงผลการประเมินของผู้เรียนอย่างเปิดเผยเพื่อให้เกิดความท้าทาย กระตือรือร้น
                4.2.3ให้ผู้เรียนที่มีความสามารถด้านทักษะการพิมพ์เป็นที่ปรึกษาแก่เพื่อนที่มีปัญหา
4.3.1 ประเมินจากพฤติกรรมของผู้เรียน
 4.3.2 ประเมินจากผลความก้าวหน้าของผู้เรียนจากผลการทดสอบแต่ละครั้ง
5.1.1     มีทักษะในการคิดคำนวณเชิงตัวเลข
5.1.1       มีทักษะด้านการพิมพ์ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ
5.1.2       มีความสามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
5.1.3       มีความเข้าใจหลักการคิดคำและสามารถคิดคำได้ถูกต้อง
5.1.4       มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจากเว็บไซต์อื่น ๆที่เกี่ยวข้อง
5.2.1       ผู้สอนอธิบายวิธีการคิดคำนวณจำนวนคำสุทธิต่อนาทีทั้งพิมพ์ไทยและพิมพ์อังกฤษ
5.2.2       ให้ผู้เรียนฝึกคิดคำนวณจำนวนคำสุทธิจากสถานการณ์ซึ่งผู้สอนกำหนดเพื่อ
                ตรวจสอบความเข้าใจ
5.2.3       ผู้สอนสอบถามคำตอบจากผู้เรียนเป็นรายบุคคล
5.2.4       มอบหมายให้ผู้เรียนเลือกสื่อการสอนจากเว็บไซต์อื่น ๆเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียน
5.3.1       ประเมินจากการสรุปและอภิปราย
5.3.2       ประเมินจากการคำนวณคำสุทธิของผู้เรียนในการทดสอบท้ายบททุกครั้ง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.2, 1.4, 1.5, 5.2, 5.3, 5.4, 5.5, 5.7 ทดสอบย่อย ตลอดภาคการศึกษา 25%
2 2.2,2.3,3.1, 3.3,3.4 -สอบกลางภาคเรียน (พิมพ์ไทย) -สอบปลายภาคเรียน (พิมพ์ไทย) -สอบปลายภาคเรียน (พิมพ์อังกฤษ) 9 10 16 25% 25% 25%
3 4.1, 4.3, 4.4 การมีส่วนร่วม เสนอความคิดเห็น (การสังเกต) ตลอดภาคการศึกษา
ตำราฝึกพิมพ์สัมผัส “แป้นพิมพ์ไทย” โดย ผศ.จุรีรัตน์คำนวนสิน
รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพิมพ์ดีดไทย – อังกฤษ และความ
คิดเห็นที่มีต่อโปรแกรมฝึกพิมพ์สัมผัส ของนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์
3.1 ดุษฎี  กิจไพฑูรย์ และสมหมาย เดชสุภา. พิมพ์ดีดไทย 1-2.วิทยาเขตพณิชยการพระนคร, ม.ป.ป.
3.2 วัชระ  ขยัน. พิมพ์ดีดไทย 1-2. วิทยาลัยพณิชการบางนา, ม.ป.ป.
3.3 สมพงษ์  พุทธเจริญ. พิมพ์ดีดไทย 1 -2. กรุงเทพฯ:  บริษัทสำนักพิมพ์แม๊ค จำกัด, ม.ป.ป.
3.4 สำเนียง ปัญญา สมหมาย เดชสุภา สุรางค์ จ้นทรวงศ์.พิมพ์ดีดอังกฤษเบื้องต้น พิมพ์ดีดอังกฤษขั้นพัฒนา พิมพ์ดีดอังกฤษ 1-2:ศูนย์หนังสือเมืองไทย, ม.ป.ป.
 
การประเมินประสิทธิผล จัดทำขึ้นโดยมีวิธีการดังนี้

 การสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับขอบข่ายและวิธีการสอนระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน

1.2   การให้นักศึกษาประเมินผู้สอนที่มีต่อการใช้โปรแกรมพิมพ์สัมผัส
                 1.3   การประเมินผู้สอนตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย
การใช้กลยุทธ์การเก็บข้อมูลเพื่อการประเมินการสอนดังนี้
2.1 การแสดงความคิดเห็นที่มีต่อผู้สอนโดยซักถาม และใช้แบบสอบถาม

ผลการเรียนของผู้เรียน การทวนสอบผลการเรียนรู้ของผู้เรียน การทวนสอบผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา
สรุปการประเมินจากข้อ 2 เพื่อวิเคราะห์ผลและนำมาปรับปรุงการสอนดังนี้

การจัดกิจกรรมการระดมความคิดของผู้เรียน การประชุมเกี่ยวกับแผนการจัดการเรียนการสอน/รายวิชาที่สอน การวิจัยในชั้นเรียนเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพิมพ์ดีดไทย – อังกฤษ และความคิดเห็นที่มีต่อโปรแกรมฝึกพิมพ์สัมผัส
กระบวนการสอนในรายวิชานี้ มีกระบวนการทวนสอบเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์และเป็นมาตรฐานในรายละเอียดข้อบ่งชี้ตามความคาดหวังของผลการเรียนรู้ ได้มาจากการบันทึกความก้าวหน้าของผู้เรียน การพิจารณาผลการทดสอบท้ายบทเรียนเป็นรายบุคคลทุกบทเรียน และผลการสอบกลางภาค ปลายภาค โดยนักศึกษาสามารถตรวจสอบเพื่อทบทวนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของตน
จากผลการประเมินการเรียนการสอน ผลการเรียนรู้ประจำวิชา และการทวนสอบผลสัมฤทธิ์รวมของรายวิชานำมาสู่การวางแผนปรับปรุงวิธีการเรียนการสอนและรายละเอียดของรายวิชาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มขึ้นดังนี้
5.1 การปรับปรุงรายวิชาเมื่อครบกำหนด 4 ปี หรือตามข้อเสนอแนะจากผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
5.2 การหมุนเวียนเปลี่ยนผู้สอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดมุมมอง ความคิด ความเข้าใจ ทักษะ อันดีเชิงวิชาการจากผู้สอน