อิเล็กทรอนิกส์กำลัง

Power Electronics

1. สามารถอธิบายเกี่ยวกับอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำกำลัง และการทำงานของประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์นได้
2. สามารถรู้และเข้าใจและสามารถออกแบบวงจรเรียงกระแสเบื้องต้นได้
3. . สามารถรู้และเข้าใจและสามารถออกแบบวงจรช็อปเปอร์เบื้องต้นได้
4.  สามารถรู้และเข้าใจและสามารถออกแบบวงจรไซโคลคอนเวอร์เตอร์เบื้องต้นได้
5.  สามารถรู้และเข้าใจและสามารถออกแบบวงจรควบคุมแรงดันไฟสลับเบื้องต้นได้
6.  สามารถรู้และเข้าใจและสามารถออกแบบวงจรอินเวอร์เตอร์เบื้องต้นได้
7.  สามารถรู้และเข้าใจและสามารถควบคุมเครื่องจักรกลไฟฟ้าด้วยอิเล็กทรอนิกส์กำลังเบื้องต้นได้
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจ  ในระบบเทคโนโลยีการควบคุมระบบไฟฟ้ากำลังด้วยวงรเล็กทรอนิกส์กำลัง เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียน และการทำงานในอนาคตที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับศึกษาเกี่ยวกับอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำกำลัง และการทำงานของประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์  วงจรเรียงกระแส  วงจรช็อปเปอร์  วงจรไซโคลคอนเวอร์เตอร์  วงจรควบคุมแรงดันไฟสลับ  วงจรอินเวอร์เตอร์  การควบคุมเครื่องจักรกลไฟฟ้า ด้วยอิเล็กทรอนิกส์กำลัง
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ผู้สอนต้องสอดแทรกและส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรมในทุกรายวิชาและส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ สนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมในการให้บริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม ปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ยกย่องและเชิดชูนักศึกษาที่ทำความดีและเสียสละ
1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
1.3.2 ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
1.3.3 ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
1.3.4 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
1.3.5 ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษา
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยมุ่งเน้นทั้งหลักการทางทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริงและให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
การสอนโดยวิธีการถ่ายทอดและการทบทวนแบบกลุ่มจากเพื่อนสู่เพื่อนนอกเวลาเรียน โดยให้เพื่อนที่รู้และเข้าใจเนื้อหาเป็นพี่เลี้ยง
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษาในด้านต่าง ๆ คือ
2.3.1 การทดสอบย่อย
2.3.2 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.3.3 ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
2.3.4 ประเมินจากโครงการที่นาเสนอ
2.3.5 ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
2.3.6 ประเมินจากรายวิชาปฎิบัติ
3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ และวิชาชีพ
3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์องค์ประกอบของสถานการณ์ต่าง ๆ โดยใช้บทบาทสมมติสถานการณ์จำลอง และกรณีศึกษาของแต่ละสาขาวิชาชีพเพื่อเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาได้ฝึกวิเคราะห์แนวทางแก้ไขให้ถูกต้องและเน้นให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติจริง
การวัดและประเมินใช้แนวข้อสอบที่ให้นักศึกษาได้อธิบายแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา หรือให้นักศึกษาเลือกใช้วิชาชีพที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่กำหนดให้ตามสภาพจริงจากผลงาน โครงงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น
3.3.1 บทบาทสมมติหรือสถานการณ์จำลอง
3.3.2 การเลือกใช้วิธีการเพื่อแก้ไขปัญหาในบริบทต่าง ๆ
3.3.3 การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
3.3.4 การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์
5.1.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.2.1 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
5.2.2 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาข้อมูล
5.2.3 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการนำเสนอผลงาน
5.2.4 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับขนบธรรมเนียมปฏิบัติของสังคมแต่ละกลุ่ม
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา ดังนี้
5.3.1 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร
5.3.2 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล
5.3.3 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน
5.3.4 จรรยามารยาทในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.1.2 สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ปฏิบัติตามรูปแบบการสอน ประยุกต์วิธีการสอนได้อย่างเหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากวิชาต่าง ๆ ที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อต่อไปนี้
6.2.1 สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
6.2.2 สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ
6.2.3 สนับสนุนการเข้าประกวดทักษะด้านการปฏิบัติ
6.2.4 จัดนิทรรศการแสดงผลงานของนักศึกษา
6.2.5 สนับสนุนการทำโครงงาน
6.3.1 มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
6.3.2 มีการใช้งานวิจัยของอาจารย์ประกอบการเรียนการสอน
6.3.3 มีการประเมินผลการทำงานในภาคปฏิบัติ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2
1 32023304 อิเล็กทรอนิกส์กำลัง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2, 2.1, 3.1, 3.2, 5.2, 6.1 - การทดสอบปฏิบัติ - สอบกลางภาค (หน่วยที่ 1, 2 และ 3) - สอบปลายภาค (หน่วยที่ 4, 5 และ 6) ตลอดภาคการศึกษา 60%
2 1.4, 2.2, 2.3, 3.2, 5.2, 6.2 - รายงานการศึกษา การวิเคราะห์ และสรุปผลกรณีศึกษาตามที่มอบหมาย - ใบงาน ตลอดภาคการศึกษา 25%
3 2.1, 5.2 - การบ้าน ตลอดภาคการศึกษา 5%
4 1.3, 1.4, 2.3, 3.1, 5.2, 6.2 - การเข้าชั้นเรียน ความสนใจ มารยาทในชั้นเรียน ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และความมีน้ำใจ ในระหว่างการศึกษา รวมถึง -การมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่มหาวิทยาลัย หรือคณะฯจัดขึ้น ตลอดภาคการศึกษา 10%
รศ.ดร.วีระเชษฐ์ ขันเงิน และวุฒิพล .ธาราธีรเศรษฐ์ “อิเล็กทรอนิกส์กำลัง : Power Electronic”, พิมพ์ที่ : สำนักพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.เจ. พริ้นติ้ง, พิมพ์ครั้งที่ 9, 2552.
ไม่มี
ไม่มี
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ผ่านกิจกรรมในการนำแนวคิด และความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 แบบประเมินรายวิชา หรือ
1.2 แบบประเมินความพึงพอใจรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของอาจารย์ผู้บริหารหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตร
2.2   ปัญหาพิเศษ/โครงงานย่อย/กรผ่านกิจกรรมภายในรายวิชา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการสรุปข้อมูลจัดทำแนวทางการปรับปรุงใน มคอ.5
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบความสอดคล้องของข้อสอบกับคำอธิบายรายวิชา โดยอาจารย์ประจำหลักสูตรหรือคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้ง
4.2  การทวนสอบความสอดคล้องของการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลกับความรับผิดชอบของหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping) โดยอาจารย์ประจำหลักสูตรหรือคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้ง
ผู้สอนสรุปผลข้อมูลทั้งหมดเพื่อรายงานอาจารย์ประจำหลักสูตร/ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุง