แนวคิดทางการบัญชีและการรายงานทางการเงิน

Accounting Concepts and Financial Reporting

๑.  จุดมุ่งหมายของรายวิชา
        ๑.๑   เพื่อให้รู้แนวคิด หลักการ ทฤษฎี และวิธีการจัดทำรายงานการเงินและการเปิดเผยข้อมูลทางการบัญชีของธุรกิจ
        ๑.๒   เพื่อให้รู้แนวคิด หลักการ ทฤษฎี การเลือกใช้นโยบายการบัญชีของธุรกิจ
        ๑.๓   เพื่อให้นักศึกษา ค้นคว้า ประยุกต์ และบูรณาการในการจัดทำรายงานการเงินและการเปิดเผยข้อมูลทางการบัญชีของธุรกิจที่สนใจ  มีข้อเสนอแนะแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ให้ถูกต้องครบถ้วน รวมทั้งสามารถประเมินผลกระทบของการเลือกใช้นโยบายการบัญชีได้อย่างถูกต้อง
        ๑.๔   เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนักศึกษาให้มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ  เช่นมีความซื่อสัตย์สุจริต  เที่ยงธรรม มีวินัย  เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม  มีความเป็นอิสระ รวมถึงสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้อย่างดี
 
๒.๑   เพื่อพัฒนาความสามารถของนักศึกษาในจัดทำรายงานการเงินและการเปิดเผยข้อมูลทางการบัญชีของธุรกิจ  รวมทั้งสามารถประเมินผลกระทบของการเลือกใช้นโยบายการบัญชีได้อย่างถูกต้อง
             ๒.๒   เพื่อพัฒนาจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี  ประยุกต์ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินกับเหตุการณ์ทางบัญชีที่เกี่ยวข้อง 
        2.3  เพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการบัญชีและข้อผิดพลาด  การจัดทำรายงานการเงินระหว่างกาล  การเปิดเผยข้อมูลตามข้อกำหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน  การแปลความหมายของรายงานการเงินที่ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงิน 
ศึกษาแนวคิดและข้อสมมติทางการบัญชี  จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี  การประยุกต์ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินกับเหตุการณ์ทางบัญชีที่เกี่ยวข้อง  การเปลี่ยนแปลงทางการบัญชีและข้อผิดพลาด  การจัดทำรายงานการเงินระหว่างกาล  การเปิดเผยข้อมูลตามข้อกำหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน  การแปลความหมายของรายงานการเงินที่ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงิน  เช่น  รายงานความยั้งยืน  และรายการแบบบูรณาการเป็นต้น  ตลอดจนการบัญชีเกเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน  สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดำเนินงานที่ยกเลิก  และผลประโยชน์พนักงาน
นักศึกษาสามารถเข้าพบได้ตามตารางเวลาให้นักศึกษาเข้าพบ โดยให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ ๓ ชั่วโมงต่อสัปดาห์
๑.  คุณธรรม จริยธรรม 
       ๑.๑   คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
               ๑)  มีความรับผิดชอบเรื่อง คุณธรรม จริยธรรม ทัศนคติ จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี
               ๒)  มีความซื่อสัตย์สุจริต  มีวินัย  เคารพและปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม
               ๓)  สามารถทำงานที่มอบหมายทั้งงานกลุ่มและงานเดี่ยว และปฏิบัติตามข้อตกลงการเรียนได้
               ๑)  กำหนดข้อตกลงเบื้องต้นในการเข้าเรียน การแต่งกาย การส่งงานหรือแบบฝึกหัดตามเวลาที่กำหนด
               ๒)  บรรยายสอดแทรกในเนื้อหาวิชา ในระหว่างทำการสอน เกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม
                   ๓)  การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน
        ๑)  ติดตามการปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียน ตลอดภาคการศึกษา ให้คะแนน 10%
               ๒)  สังเกตพฤติกรรมในการเข้าเรียน การส่งแบบฝึกหัด หรืองานที่มอบหมาย
         ๓)  ประเมินจากการทุจริตในการสอบ
         ๔)  ประเมินจากส่งงานหรือแบบฝึกหัดทันตามเวลาที่กำหนด
๑)  แนวคิด หลักการ ทฤษฎี และวิธีการจัดทำรายงานการเงินและการเปิดเผยข้อมูลทางการบัญชีของธุรกิจ ตามมาตรฐานการบัญชี
               ๒)  แนวคิด หลักการ ทฤษฎี ทางการบัญชี
                             ๓)  บูรณาการความรู้ด้านอื่นที่สัมพันธ์กันกับการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินและไม่ใช่ทางการเงินตาม ข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรายงานทางการเงิน
๑)  การบรรยาย Lecture ยกตัวอย่างกรณีศึกษาจากรายงานการเงินของธุรกิจซึ่งเปิดเผยในเวปไซด์ Online & Mobile Balance Learning และ ถาม-ตอบ ในชั้นเรียน
              ๒)  มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากงบการเงินของธุรกิจจริง  ด้วยวิธี Online & Mobile Balance Learning เพื่อใช้ประกอบการเรียนและทำแบบฝึกหัด
              ๓)  ให้นักศึกษาวิเคราะห์จากโจทย์ปัญหา ตัวอย่างงบการเงินจริง โดยถาม – ตอบในห้องเรียน แบบ Concept Questions
                             ๔)  การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน Team-based Learning
๑)  สอบกลางภาค
               ๒)  สอบปลายภาค
               ๓)  งานที่มอบหมาย  
               ๔)  ความถูกต้องของการวิเคราะห์จากกรณีศึกษา
๑)  สามารถสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับงบการเงินของธุรกิจจากเวปไซด์ อ่านและอธิบายฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน กระแสเงินสดของกิจการในภาพรวมและสามารถสรุปผลได้
               ๒)  สามารถประยุกต์ และบูรณาการความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทางการบัญชี  การประยุกต์ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินกับเหตุการณ์ทางบัญชีที่เกี่ยวข้องทางการบัญชีได้
                              ๓)  สามารถติดตาม ประเมินผล  และสรุปผลการรายงานทางการเงินตามมาตรฐานการบัญชีได้อย่างถูกต้อง
๑)  บรรยาย Lecture ยกตัวอย่าง ถาม – ตอบในชั้นเรียน
               ๒)  ฝึกการคิด วิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยใช้โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา ด้วยวิธี Peer to Peer Teaching
               ๓)  ให้นักศึกษา ศึกษา ค้นคว้า และวิเคราะห์รายงานการเงิน ของธุรกิจที่นักศึกษามีความสนใจ หรือ กรณีศึกษาที่ได้รับมอบหมาย และ นำเสนอในชั้นเรียน ใช้วิธี Team-based Learning และ Online & Mobile Balance Learning
                             ๔)  การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน
๑)  สอบกลางภาค
               ๒)  สอบปลายภาค
               ๓)  การตอบปัญหาในชั้นเรียน การแก้ปัญหาโจทย์แบบฝึกหัดและปัญหาต่างๆ
                             ๔)  คุณภาพของ กรณีศึกษา การนำเสนอ หน้าชั้นเรียน การตอบปัญหาในชั้นเรียน
๑)  สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
               ๒)  สามารถปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นในกลุ่มได้
                             ๓)  มีความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่ม
๑)  มอบหมายให้ทำรายงานกลุ่มๆ ละ  3 - 5 คน
               ๒)  มอบหมายให้ทำกรณีศึกษาเป็นกลุ่ม ๆ ละ 3 - 5 คน
               ๓)  นำเสนอรายงาน หรือ การแก้ปัญหากรณีศึกษาหน้าชั้นเรียน
                             ๔)  การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน
๑)  ประเมินผลจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
               ๒)  ประเมินผลจากกรณีศึกษาที่มอบหมาย
                             ๓)  นักศึกษาในกลุ่มประเมินผลและแสดงผลการประเมิน
รายงานทางการเงิน  เพื่ออธิบายฐานะการเงินผลการดำเนินงาน ตลอดจนความเสี่ยงของธุรกิจ
                        ๒)  สามารถรายงานสรุปรายงานได้อย่างเหมาะสม
                             ๓) สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล แปลความหมาย และ สื่อสารสารสนเทศ ได้
๑)  สืบค้นข้อมูล เกี่ยวกับงบการเงินของธุรกิจที่นักศึกษามีความสนใจจากเวปไซด์ เพื่อนำมาวิเคราะห์ และจัดทำรายงาน เป็นกลุ่ม
               ๒)  จัดทำสื่อประกอบประกอบการรายงาน และนำเสนอหน้าชั้นเรียน
              ๓)  มอบหมายกรณีศึกษาให้วิเคราะห์และนำเสนอผลการวิเคราะห์จากกรณีศึกษาในห้องเรียน
                             ๔)  การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน
๑)  ประเมินผลจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
               ๒)  ประเมินผลจากกรณีศึกษาที่มอบหมาย
                             ๓)  นักศึกษาในกลุ่มประเมินผลและแสดงผลการประเมิน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ๑,๒,๓,๕ การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค 9, 17 30%, 30%
2 ๑,๒,๓,๔,๕ รายงานกลุ่ม การนำเสนองาน การวิเคราะห์ปัญหาหน้าชั้นเรียน และ ในขณะเรียน ทุกสัปดาห์ ๓๐%
3 ๑,๒,๓,๔,๕ สังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียน การตอบคำถามในห้องเรียน ผลงานกลุ่ม ทุกสัปดาห์ ๑๐%
นุชจรี  พิเชฐกุล. การรายงานและการวิเคราะห์งบการเงิน. พิมพ์ครั้งที่๑. ปทุมธานี. ๒๕๕๓
-  สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์.  แม่บทการบัญชี (ปรับปรุง ๒๕๕๘) และ
-  มาตรฐานการบัญชี ปรับปรุงล่าสุดทุกฉบับที่เกี่ยวข้อง
-  วรศักดิ์  ทุมมานนท์. ก้าวทันมาตรฐานการรายงานทางการเงินกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ.
          พิมพ์ครั้งที่๒. กรุงเทพฯ. ๒๕๕๗
         -  www.fap.or.th
         -  www.sec.or.th
ใช้แบบประเมินผลอาจารย์ผู้สอนของมหาวิทยาลัยที่กำหนดให้มีการประเมินการสอนอาจารย์ผู้สอนโดยนักศึกษาทุกภาคการศึกษา
        ประเมินการสอนจากผลการสอบของนักศึกษา   และจากการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา
ปรับปรุงจุดบกพร่องในการสอนตามผลการประเมินของนักศึกษา
ปรับปรุงการสอนโดยประเมินจากผลการสอบและการวิเคราะห์ปัญหา  การทำกรณีศึกษา
ตรวจสอบความถูกต้องในการประเมินผลสัมฤทธิ์รายวิชาของนักศึกษา
ตรวจสอบความตรงประเด็นของข้อสอบกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ของสาขาวิชา
นำผลการประเมินข้อ ๑ ข้อ ๓ ข้อ ๔ มาปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา เรื่อง ผู้สอน ตารางเรียน การสอนเสริม การทบทวนเพื่อปรับปรุงเนื้อหา และการออกข้อสอบ