วิจัยธุรกิจ

Business Research

1. เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาความสำคัญของการวิจัยทางธุรกิจ ขั้นตอนและวิธีดำเนินการวิจัยทางธุรกิจ การฝึกปฏิบัติการวิจัยทางธุรกิจโดยการเสนอโครงร่างการวิจัย กำหนดวัตถุประสงค์และตั้งสมมุติฐานในการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์และสรุปผลงานวิจัยเพื่อสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในทางธุรกิจ
2. เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติสำหรับการทำวิจัยทางธุรกิจ
3. เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในการที่จะนำไปประกอบอาชีพ และนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้
เพื่อสอดแทรกการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการประมวลผลและปรับปรุงเนื้อหารายวิชาให้มีความเหมาะสม และทันสมัย สอดคล้องกับการดำเนินการวิจัยในปัจจุบัน
ศึกษาความสำคัยและขอบเขตของการวิจัยธุรกิจ กระบวนการทำวิจัยธุรกิจ การจัดทำโครงการวิจัยธุรกิจเบื้องต้น โดยครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับ การค้นหา ปัญหาวิจัย จุดประสงค์การวิจัย การออกแบบวิจัย การเลือกตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการจัดทำรายงานวิจัย ทั้งนี้ให้มีการปฏิบัติงานจริง
š1.1 มีความซื่อสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อหน้าที่ ต่อตนเองและต่อผู้อื่นไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่นและมีความสำนึกรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
š1.2 มีความกตัญญู ความเสียสละ ความอดทน ความเพียรพยายาม
š1.3 มีความพอเพียงเป็นหลักในการดำเนินชีวิต โดยยึดแนวคิดความพอประมาณ ความมีเหตุผลและการสร้างภูมิคุ้มกัน
˜1.4 มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์การและสังคม
š1.5 มีจิตสำนึกและมีมโนธรรมที่จะแยกแยะความถูกต้อง ความดี และความชั่ว
1. ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยการเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
2. กำหนดงานเป็นกลุ่มย่อย เน้นความมีส่วนร่วม และแสดงความคิดเห็น
3. จัดกิจกรรมส่งเสริมให้เกิดจิตสำนึกในการมีคุณธรรม จริยธรรม
4. ให้การยกย่องชมเชยผู้ที่มีความซื่อสัตย์เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี
5. กำหนดระเบียบลงโทษผู้ทุจริตการสอบ
6. มีกิจกรรมที่ส่งเสริมในเรื่องความเสียสละเพื่อส่วนรวมและบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม   
1.ประเมินจากเวลาการเข้าชั้นเรียนของนักศึกษาและเวลาการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย
2. ประเมินจากผลงานกลุ่มและความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
3. จำนวนการเข้าร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์หรือกิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ
4. ความเอื้อเฟื้อหรือความมีน้ำใจต่อเพื่อนและครูอาจารย์
˜ 2.1 มีความรู้ความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนด้านบริหารธุรกิจ ที่ครอบคลุมทั้ง การบัญชี เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
š2.2 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจ ทางการตลาด การเงิน การผลิตและการดำเนินงาน รวมทั้งการจัดการองค์กรและทรัพยากรมนุษย์
˜2.3 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การปฏิบัติการ การควบคุมและการประเมินผลการดำเนินงานรวมทั้งการปรับปรุงแผนงาน
š 2.4 มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
1. ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
2. จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษ
3. จัดการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
1. การทดสอบย่อย
2. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
3. ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา
4. ประเมินจากการนำเสนอผลงาน
5. ประเมินจากแผนธุรกิจหรือโครงการที่นำเสนอ
6. ประเมินจากผลการฝึกงานหรือสหกิจศึกษา
š 3.1 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ต่อยอดกรอบความรู้เดิม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาและประสบการณ์เพื่อให้เกิดนวัตกรรม กิจกรรม หรือแนวทางในการบริหารธุรกิจใหม่ ๆ
˜3.2 สามารถสืบค้น จำแนก และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้ซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจอย่างเหมาะสม
š3.3 สามารถคิดค้นทางเลือกใหม่ ๆ รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบที่เป็นผลจากทางเลือกอย่างรอบด้าน โดยการนำความรู้และประสบการณ์มาประยุกต์ใช้
š3.4 มีความกล้าในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์
1. กรณีศึกษาทางการจัดการ โครงงาน งานวิจัย และกำหนดให้นักศึกษาวางแผนการทำงานเป็นทีม
2. ใช้สถานประกอบการฝึกปฏิบัติงานจริง
3. มีการอภิปรายเพื่อสรุปประเด็นผลการศึกษาและปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งการเสนอแนวทางการแก้ไข
4. เน้นถึงศาสตร์และศิลป์รวมถึงรูปแบบในการนำเสนอผลงาน แลให้นักศึกษานำเสนอผลงานจริง  
1.ประเมินจากการนำเสนอโครงงาน รายงานการวิจัย อภิปรายกรณีศึกษา
2. ประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ โดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหา โดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมาซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกตอบที่ถูกมาคำตอบเดียวจากกลุ่มคำตอบที่ให้มา
3. ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
š4.1 มีความสามารถในการประสานงานมีมนุษยสัมพันธ์และสามารถสร้างสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่นด้วยพื้นฐานความเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีจิตวิทยา
˜4.2 มีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่มการประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงการเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบ
š4.3 มีความกระตือรือร้นและความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งมีความเป็นผู้ตามในจังหวะที่เหมาะสม
š 4.4 มีความสามารถในการริเริ่มแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ ที่อาจมีความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์
1. มอบหมายงานที่ต้องใช้การติดต่อประสานงานกับบุคคลอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา
2. มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสารระหว่างบุคคลทั้งภายในสถาบันการศึกษาและภายนอกสถาบันการศึกษา
3. มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงานา
4.มีกิจกรรมส่งเสริมมนุษยสัมพันธ์ เช่นยกย่องชมเชยนักศึกษาที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีเด่น   
1. ประเมินจากพฤติกรรมในการทำกิจกรรมระหว่างนักศึกษาในกลุ่ม
2. ประเมินจากผลงานของนักศึกษาทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม
3. มีการร่วมประเมินทั้งอาจารย์และนักศึกษา
˜5.1สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติและการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ
 
š5.2 สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
š5.3 สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานและเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
˜5.4 สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจา
š5.5 สามารถสื่อสารด้วยบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือและสามารถเลือกใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับกลุ่มบุคคลที่มีพื้นฐานและแนวคิดที่หลากหลาย
š5.6 ความสามารถนำเทคโนโลยีไปเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนในการดำเนินงานและทราบถึงข้อจำกัดของเทคโนโลยี
š5.7 ความสามารถนำเทคโนโลยีการสื่อสารแบบเครือข่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารและดำเนินงาน
1.จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
2. ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้
3. มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.ประเมินจากการอธิบายหลักการเข้าถึงข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. ประเมินจากการสรุปและอภิปรายงานที่ได้รับมอบหมายร่วมกัน
3. ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
4. ประเมินจากการทดสอบ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
วัชราภรณ์  สุริยาภิวัฒน์ 2554. วิจัยธุรกิจยุคใหม่ กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นราศรี  ไววนิชกุลและชูศักดิ์ อุดมศรี.2535.ระเบียบวิธีวิจัยธุรกิจ.กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อภินันท์  จันตะนีและคณะ.2539.วิธีวิจัยทางธุรกิจ.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พิทักษ์อักษร.
กานดา พูนลาภทวี. 2539. สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ฟิสิกเซ็นเตอร์การพิมพ์.
ชัยสิทธิ์ เฉลิมมีประเสริฐ. 2537. สถิติเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: ธนพร.
เชิดศักดิ์ โฆวาสินธุ์. 2527. การวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: O.S. Printing House.
เทียนฉาย กีระนันท์. 2537. สังคมศาสตร์วิจัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ธวัชชัย งานสันติวงศ์. 2540. หลักการและวิธีใช้คอมพิวเตอร์ในงานสถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: บริษัท 21 เซ็นจูรี จำกัด.
ธีรยุทธ พึ่งเพียร. 2545. สถิติเบื้องต้นและการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักพิมพ์สูตรไพศาล. กรุงเทพมหานคร.
นราศรี ไววนิชกุลและชูศักดิ์ อุดมศรี. 2535. ระเบียบวิธีวิจัยธุรกิจ.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิภา ศรีไพโรจน์. 2528. สถิตินอนพาราเมตริก. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.
วัชราภรณ์  สุริยาภิวัฒน์ 2554. วิจัยธุรกิจยุคใหม่ กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นราศรี  ไววนิชกุลและชูศักดิ์ อุดมศรี.2535.ระเบียบวิธีวิจัยธุรกิจ.กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อภินันท์  จันตะนีและคณะ.2539.วิธีวิจัยทางธุรกิจ.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พิทักษ์อักษร.
กานดา พูนลาภทวี. 2539. สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ฟิสิกเซ็นเตอร์การพิมพ์.
ชัยสิทธิ์ เฉลิมมีประเสริฐ. 2537. สถิติเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: ธนพร.
เชิดศักดิ์ โฆวาสินธุ์. 2527. การวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: O.S. Printing House.
เทียนฉาย กีระนันท์. 2537. สังคมศาสตร์วิจัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ธวัชชัย งานสันติวงศ์. 2540. หลักการและวิธีใช้คอมพิวเตอร์ในงานสถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: บริษัท 21 เซ็นจูรี จำกัด.
ธีรยุทธ พึ่งเพียร. 2545. สถิติเบื้องต้นและการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักพิมพ์สูตรไพศาล. กรุงเทพมหานคร.
นราศรี ไววนิชกุลและชูศักดิ์ อุดมศรี. 2535. ระเบียบวิธีวิจัยธุรกิจ.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิภา ศรีไพโรจน์. 2528. สถิตินอนพาราเมตริก. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.
- ฐานข้อมูล ThaiLis
          - เว็บไซต์ ของ สกว.
- http://www.csubak.edu/ssric/ให้ความรู้เกี่ยวกับ SPSS
- http://www.Library.miami.edu/data/help.htmให้ความรู้เกี่ยวกับ SPSS
- http://trochim.human.cornell.edu. ให้ความรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย (Research Methods)
- http://www.sosig.ac.ukให้ความรู้ด้านสังคมศาสตร์ครบทุกด้าน
- http://www.ats.ucla.edu/
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน การสะท้อนคิดของผู้เรียน

แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้

การสังเกตความตั้งใจของผู้เรียน ผลการเรียนของนักศึกษา
หลักจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมองและหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้

    เมื่อได้ผลการประเมินการสอนนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาแนวทางปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น โดยปรับปรุงเนื้อหาที่สอน วิธีการวัดผลและประเมินผล สัมมนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อร่วมหาแนวทางหรือวางแผนการปรับปรุงพัฒนารายวิชา

วิจัยในและนอกชั้นเรียน
การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา โดยการแต่งตั้งกรรมการผู้รับผิดชอบ กรรมการบริหารหลักสูตร และกรรมการสาขาวิชาในสาขาวิชา เป็นผู้ดำเนินการ ดังนี้
4.1  การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้ โดยนักศึกษา
4.2  การประเมินการสอน โดยนักศึกษา (ประเมินผ่านระบบของมหาวิทยาลัย)
4.3 การวิเคราะห์ความสอดคล้อง/เกณฑ์การประเมิน ตาม มคอ. 3/ มคอ. 5 โดยคณะกรรมการทวนสอบ
4.4  การประเมินข้อสอบ  การปฏิบัติงาน และรายงานโครงการ การให้คะแนน ที่มาของเกรด โดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร หรือสาขาวิชา
จากผลการประเมิน และการทวนสอบผลสัมฤทธิ์รายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1  รายงานผลการทวนสอบฯ ต่อคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร/สาขาวิชา
5.2  นำผลการทวนสอบฯ ไปรายงานใน มคอ.5 และจัดทำแผนปรับปรุง มคอ.3 ในครั้งต่อไป โดยอาจารย์ผู้สอน
5.3  นำผลการทวนสอบไปปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร โดยหัวหน้าหลักสูตร