การบริหารโครงการ

Project Management

เพื่อให้เข้าใจความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการวางแผนและรูปแบบของแผน เพื่อให้เข้าใจลักษณะโครงการ รวมถึงการวางแผนโครงการต่าง ๆ เพื่อให้เข้าใจถึงการจัดโครงสร้างองค์การ รวมถึงการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโครงการ เพื่อให้เข้าใจถึงการวิเคราะห์โครงการและวิธีการตัดสินใจเลือกโครงการ เพื่อให้รู้ถึงเทคนิคการควบคุมและการประเมินโครงการ
1.   เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย หลักการ แนวคิด ความสำคัญของการจัดทำโครงการ การวางแผนการบริหารโครงการในรูปแบบต่างๆ วิธีการเขียนโครงการและเทคนิคในการวางแผนและควบคุมโครงการในรูปแบบต่างๆ
2.   เพื่อให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ระบบการดำเนินการการบริหารโครงการ สภาวะแวดล้อมของโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการ ปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดทำโครงการ การบริหารโครงการ การควบคุมโครงการ การประเมินผล และยุติโครงการ
3.   เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมทางด้านปัญญาและทักษะในการนำความรู้ไปใช้ในการทำงาน
 
ศึกษาการจัดทำโครงการ การวางแผน การวิเคราะห์ ระบบการดำเนินการ และการบริหารโครงการ การบริหารโครงการในรูปแบบต่าง ๆ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของโครงการ การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ ความสำเร็จที่สำคัญในการบริหารโครงการ เทคนิคในการวางแผน การควบคุมโครงการ การประเมินผลและยุติโครงการ
อาจารย์ผู้สอนจัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มนอกชั้นเรียน ตามความต้องการของนักศึกษา 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) ดังนี้
          3.1  วันพุธ (คาบกิจกรรม) เวลา 15.00 - 17.00 น. ของทุกสัปดาห์ ห้องพักอาจารย์สาขาวิชาการจัดการ อาคารรัชมงคลานครินทร์
                โทร. 081-7653408
          3.2   E-mail: preeyanuch_095@hotmail.com
š1.1 มีความซื่อสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อหน้าที่ ต่อตนเองและต่อผู้อื่นไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่นและมีความสำนึกรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
š1.2 มีความกตัญญู ความเสียสละ ความอดทน ความเพียรพยายาม
š1.3 มีความพอเพียงเป็นหลักในการดำเนินชีวิต โดยยึดแนวคิดความพอประมาณ ความมีเหตุผลและการสร้างภูมิคุ้มกัน
š1.4 มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์การและสังคม
š1.5 มีจิตสำนึกและมีมโนธรรมที่จะแยกแยะความถูกต้อง ความดี และความชั่ว
1. ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยการเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
2. กำหนดงานเป็นกลุ่มย่อย เน้นความมีส่วนร่วม และแสดงความคิดเห็น
3. จัดกิจกรรมส่งเสริมให้เกิดจิตสำนึกในการมีคุณธรรม จริยธรรม
4. ให้การยกย่องชมเชยผู้ที่มีความซื่อสัตย์เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี
5. กำหนดระเบียบลงโทษผู้ทุจริตการสอบ
6. มีกิจกรรมที่ส่งเสริมในเรื่องความเสียสละเพื่อส่วนรวมและบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม   
1.ประเมินจากเวลาการเข้าชั้นเรียนของนักศึกษาและเวลาการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย
2. ประเมินจากผลงานกลุ่มและความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
3. จำนวนการเข้าร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์หรือกิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ
4. ความเอื้อเฟื้อหรือความมีน้ำใจต่อเพื่อนและครูอาจารย์
˜ 2.1 มีความรู้ความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนด้านบริหารธุรกิจ ที่ครอบคลุมทั้ง การบัญชี เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
š2.2 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจ ทางการตลาด การเงิน การผลิตและการดำเนินงาน รวมทั้งการจัดการองค์กรและทรัพยากรมนุษย์
š2.3 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การปฏิบัติการ การควบคุมและการประเมินผลการดำเนินงานรวมทั้งการปรับปรุงแผนงาน
š 2.4 มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
1. ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
2. จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษ
3. จัดการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
1. การทดสอบย่อย
2. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
3. ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา
4. ประเมินจากการนำเสนอผลงาน
5. ประเมินจากแผนธุรกิจหรือโครงการที่นำเสนอ
6. ประเมินจากผลการฝึกงานหรือสหกิจศึกษา
š 3.1 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ต่อยอดกรอบความรู้เดิม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาและประสบการณ์เพื่อให้เกิดนวัตกรรม กิจกรรม หรือแนวทางในการบริหารธุรกิจใหม่ ๆ
š3.2 สามารถสืบค้น จำแนก และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้ซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจอย่างเหมาะสม
š3.3 สามารถคิดค้นทางเลือกใหม่ ๆ รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบที่เป็นผลจากทางเลือกอย่างรอบด้าน โดยการนำความรู้และประสบการณ์มาประยุกต์ใช้
˜3.4 มีความกล้าในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์
1. กรณีศึกษาทางการจัดการ โครงงาน งานวิจัย และกำหนดให้นักศึกษาวางแผนการทำงานเป็นทีม
2. ใช้สถานประกอบการฝึกปฏิบัติงานจริง
3. มีการอภิปรายเพื่อสรุปประเด็นผลการศึกษาและปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งการเสนอแนวทางการแก้ไข
4. เน้นถึงศาสตร์และศิลป์รวมถึงรูปแบบในการนำเสนอผลงาน แลให้นักศึกษานำเสนอผลงานจริง
1.ประเมินจากการนำเสนอโครงงาน รายงานการวิจัย อภิปรายกรณีศึกษา
2. ประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ โดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหา โดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมาซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกตอบที่ถูกมาคำตอบเดียวจากกลุ่มคำตอบที่ให้มา
3. ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
˜4.1 มีความสามารถในการประสานงานมีมนุษยสัมพันธ์และสามารถสร้างสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่นด้วยพื้นฐานความเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีจิตวิทยา
š4.2 มีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่มการประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงการเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบ
š4.3 มีความกระตือรือร้นและความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งมีความเป็นผู้ตามในจังหวะที่เหมาะสม
š 4.4 มีความสามารถในการริเริ่มแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ ที่อาจมีความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์
1. มอบหมายงานที่ต้องใช้การติดต่อประสานงานกับบุคคลอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา
2. มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสารระหว่างบุคคลทั้งภายในสถาบันการศึกษาและภายนอกสถาบันการศึกษา
3. มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงานา
4.มีกิจกรรมส่งเสริมมนุษยสัมพันธ์ เช่นยกย่องชมเชยนักศึกษาที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีเด่น   
1. ประเมินจากพฤติกรรมในการทำกิจกรรมระหว่างนักศึกษาในกลุ่ม
2. ประเมินจากผลงานของนักศึกษาทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม
3. มีการร่วมประเมินทั้งอาจารย์และนักศึกษา
š5.1สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติและการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ
 
š5.2 สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
š5.3 สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานและเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
š5.4 สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจา
š5.5 สามารถสื่อสารด้วยบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือและสามารถเลือกใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับกลุ่มบุคคลที่มีพื้นฐานและแนวคิดที่หลากหลาย
š5.6 ความสามารถนำเทคโนโลยีไปเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนในการดำเนินงานและทราบถึงข้อจำกัดของเทคโนโลยี
š5.7 ความสามารถนำเทคโนโลยีการสื่อสารแบบเครือข่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารและดำเนินงาน
1.จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
2. ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้
3. มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.ประเมินจากการอธิบายหลักการเข้าถึงข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. ประเมินจากการสรุปและอภิปรายงานที่ได้รับมอบหมายร่วมกัน
3. ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
4. ประเมินจากการทดสอบ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
วิสูตร  จิระดำเกิง. การบริหารโครงการแนวทางปฏิบัติจริง. ปทุมธานี : วรรณกวี, 2555.
สุทัศน์  รัตนเกื้อกังวาน. การบริการโครงการ เครื่องมือ และเทคนิคในการบริหารโครงการ.
 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวัทยาลัย, 2556
ฐาปนา ฉิ่มไพศาล และ อัจฉรา ชีวะตระกูลกิจ. การบริหารโครงการและการศึกษาความเป็นไปได้
               กรุงเทพฯ : ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์ จำกัด, 2542.
ณรงค์  นันทวรรธนะ. การบริหารโครงการ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ. 2545
          มยุรี  อนุมานราชธน. การบริหารโครงการ. เชียงใหม่ : ธนุชพริ้นติ้ง, 2543
รัตนา  สายคณิต. การบริหารโครงการแนวทางสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพมฯ : คณะเศรษฐศาสตร์
         จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556.
บทความเชิงวิเคราะห์โครงการต่างๆ ที่อยู่ในวารสาร หนังสือพิมพ์หรือเวบไซต์
1.1 อาจารย์ผู้สอนได้ให้นักศึกษาเสนอแนะการเรียนการสอนในรายวิชานี้ เขียนลงบนกระดาษที่แจกให้ในชั้นเรียน
1.2 ผลการประเมินผู้สอนจากนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชา ดำเนินการประเมินโดย มทร.ล้านนา น่าน
2.1 ผลการประเมินผู้สอนจากนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชา ดำเนินการประเมินโดย มทร.ล้านนา น่าน
3.1 แก้ไขข้อบกพร่องจากผลการประเมินผู้สอนจากนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชา
3.2 แก้ไขข้อบกพร่องจากข้อเสนอแนะจากนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชาในชั้นเรียน
3.3 การทำวิจัยในชั้นเรียน (ถ้ามี)
    4.1  ทวนสอบคะแนนสอบของนักศึกษาตามจุดประสงค์การสอนแต่ละหน่วยเรียน
    4.2  ทวนสอบงานที่มอบหมายของนักศึกษาตามจุดประสงค์กนสอนแต่ละหน่วยเรียน
5.1 ปรับปรุงการเรียนการสอนตามผลการประเมินผู้สอน จากนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชา ดำเนินการประเมินโดย มทร.ล้านนา น่าน
5.2  วิเคราะห์และสังเคราะห์ผลการเรียนของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา
5.3  เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอนเพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้กับปัญหา      โดยวิธีการสอนที่หลากหลายและ/หรือจากงานวิจัยของอาจารย์ผู้สอน (ถ้ามี)