วิศวกรรมยานยนต์

Automotive Engineering

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ การหากำลังจากเครื่องยนต์ แรงต้านการเคลื่อนที่ของรถยนต์ ความสัมพันธ์ระหว่างรอบของเครื่องยนต์และความเร็วของรถยนต์ การหาอัตราทดของเกียร์ การกระจายน้ำหนักของรถยนต์ การทรงตัวของยานยนต์ขณะขับเลี้ยว ระบบบังคับเลี้ยว ระบบส่งกำลัง ระบบเบรก ระบบรองรับการสั่นสะเทือนของรถยนต์ และระบบความปลอดภัยที่ใช้กับยานยนต์
ไม่มี
ศึกษาเกี่ยวกับ การหากำลังจากเครื่องยนต์ แรงต้านการเคลื่อนที่ของรถยนต์ แรงฉุดลาก ความสัมพันธ์ระหว่างรอบของเครื่องยนต์และความเร็วของรถยนต์ การหาอัตราทดของเกียร์ การกระจายน้ำหนักของรถยนต์ เสถียรภาพการทรงตัวในทางลาดของรถยนต์ การหาอัตราเร่งสูงสุดและปฏิกิริยาโต้ตอบเมื่อขับเคลื่อนล้อ หน้า ขับเคลื่อนล้อหลังและขับเคลื่อนสี่ล้อ เสถียรภาพ การทรงตัว ของรถยนต์ ขณะขับเลี้ยว ระบบส่งถ่ายกำลัง ระบบเบรก ระบบรองรับการสั่นสะเทื่อนของรถยนต์
-   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
มีวินัยตรงต่อเวลารับผิดชอบต่อตนเองและสังคมเคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคมมีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
ปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัยปฏิบัติตามกฎกติกาที่กำหนดหรือได้ตกลงกันไว้มีการปลูกฝังความรับผิดชอบให้นักศึกษาตั้งแต่การเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาการส่งงานตามกำหนดเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัยการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่มมีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่นเป็นต้น
ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียนการส่งงานตามกําหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรมการมีวินัยและพร้อมเพรียงของ นักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรปริมาณการกระทำทุจริตในการ สอบความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญในเนื้อหาของวิชาวิศวกรรมยานยนต์สามารถใช้ความรู้และทักษะในวิชาวิศวกรรมยานยนต์ในการประยุกต์ใช้ในงานจริงได้
เน้นหลักการทางทฤษฎีของวิศวกรรมยานยนต์เทคโนโลยีด้านยานยนต์
มีการทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค และประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย  รวมทั้งการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล
สามารถรวบรวมศึกษาวิเคราะห์และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการสามารถคิดวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมยานยนต์ได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมยานยนต์โดยใช้หลักการวิจัยการศึกษาค้นคว้าและรายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานการนำเสนอรายงานในชั้นเรียนการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์เป็นต้น
สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและผู้อื่น
ใช้วิธีการสอนแบบเปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็นเพื่อฝึกการยอมรับความคิดเห็น
ประเมินจากการสังเกต และการถามตอบ การทำงานเป็นกลุ่ม
มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
ส่งเสริมการค้นคว้าเรียบเรียงข้อมูลและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้องและให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงข้อจำกัดเหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่างๆการอภิปรายกรณีศึกษาต่างๆที่มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2, 3 และ 5 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 4 8 12 17 5% 25% 5% 25%
2 1, 2, 3 และ 5 การศึกษาค้นคว้า การทำงานกลุ่มและผลงาน การนำเสนอ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1 และ 3.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
- วิศวกรรมยานยนต์ เผด็จ แสนเกษม
- วิศวกรรมยานยนต์ ธีรยุทธ สุวรรณประทีป
สามารถดาวโหลดจากเว็บไซท์ต่างๆบทความทางวิชาการ หนังสือและตำราอื่นๆ
สามารถดาวโหลดจากเว็บไซท์ต่างๆบทความทางวิชาการ หนังสือและตำราอื่นๆ
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในห้องเรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา

ข้อเสนอแนะผ่านเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีสรุปและวางแผนการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ