โครงงานวิศวกรรมโยธา

Civil Engineering Project

เพื่อให้นักศึกษาได้ทบทวนความเป็นมาและแนวคิดการแก้ปัญหาของโครงงาน ตรวจสอบวัตถุประสงค์หลักให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง  ทบทวนทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องปฏิบัติการทดลอง  รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล  จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์  นำเสนอโครงงาน
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ สามารถจัดทำรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ และนำเสนอโครงงานได้อย่างถูกต้อง
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับโครงงาน ทบทวนความเป็นมาของปัญหาและวัตถุประสงค์ของโครงงาน กำหนดแนวคิดการแก้ปัญหา ค้นคว้าทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์  นำเสนอโครงงาน
 -  อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
    (เฉพาะรายที่ต้องการ)
 -  อาจารย์ให้คำปรึกษาตามตารางนัดหมาย
คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ตรวจติดตามความคืบหน้าผลการดำเนินงานของนักศึกษาตามตารางนัดหมาย หลังจากที่ได้รับคำปรึกษาแล้วในแต่ละครั้ง รับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา ให้คำปรึกษา หรือข้อชี้แนะเพื่อเป็นแนวทางศึกษา ส่งเสริมให้มีความเป็นผู้นำกลุ่มและผู้ตามที่ดี  มีความสามัคคีในการทำงาน สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม  ความรับผิดชอบและจรรยาบรรณวิชาชีพวิศวกร    
1.3.1   ให้คะแนนจากการดำเนินงานและการมีส่วนร่วม และความตรงต่อเวลา
1.3.2   สังเกตการทำงานในกลุ่ม  การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ
 1.3.3    สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ
มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม

2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
                2.2.1  มอบหมายให้นักศึกษาศึกษา ค้นคว้า หาข้อมูล และนำเสนอหัวข้อโครงงาน
                2.2.2  จัดให้มีการสัมมนาหรือนำเสนอกลุ่มย่อย เพื่อระดมสมองแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์
                2.2.3  จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการแก้ปัญหา (Problem Based Instruction)
                2.2.4   ฝึกการแก้ปัญหาจากการสร้างสถานการณ์จำลอง
                2.2.5   จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง โดยการทดลองหรือสำรวจข้อมูล
2.3.1  ประเมินผลจากผลการปฏิบัติงานที่ดำเนินการตามกรอบเวลาที่ได้กำหนดไว้
              2.3.2   ประเมินจากความรู้ความสามารถที่ได้รับ โดยพิจารณาจากผลงานที่นำเสนอ เช่น ทฤษฎีที่ใช้ ขอบเขตงาน ความน่าสนใจและนำไปใช้งานได้จริงของโครงงาน
              2.3.3   ประเมินจากผลการปฎิบัติงาน
              2.3.4   ประเมินจากความถูกต้องของโครงงาน
              2.3.5   ประเมินจากผลการนำเสนองาน
มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี

2. สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต  และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
           3.2.1  ส่งเสริมการอ่านเพื่อให้มีแนวคิด วิเคราะห์และสังเคราะห์
 3.2.2  ให้มีการเรียนรู้จากการแก้ปัญหา (Problem Based Instruction)
            3.2.3  ให้นักศึกษาปฏิบัติการจากสถานการณ์จริง            
            3.2.4   มอบหมายให้ค้นคว้างานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3.3.1 วัดผลจากหัวข้อของโครงงาน
3.3.2 วัดผลจากความถูกต้องของโครงงาน  
3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
3.3.4 วัดผลจากความถูกต้องของงานที่มอบหมาย
            4.1.1  สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย  และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษา      
                         ต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ   สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อ
                         สังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
4.1.2 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้  ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.1.3 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.2.1  ให้นักศึกษากล้าแสดงออกและเสนอความคิดเห็นโดยการนำเสนอโครงงานหรือการสัมมนากลุ่มย่อย
4.2.2  ปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับในงานกลุ่ม
4.2.3  ให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยในการทำงาน
4.3.1   ประเมินจากการมีส่วนร่วมเสนอความคิดเห็นในการนำเสนอผลงานแต่ละครั้ง
4.3.2   สังเกตจากพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3   สังเกตจากการให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยในการทำงาน
มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญญลักษณ์
วิธีการสอน ให้ศึกษางานที่มีการใช้เทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการ
         วิเคราะห์และแปลความหมาย รวมทั้งการเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา
              5.2.2  มอบหมายการนำเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม         5.2.3  อธิบายวิธีการอ้างอิงเอกสารในรายงาน
5.3 วิธีการประเมินผล
5.3.1  ประเมินจากความถูกต้องของการวิเคราะห์ข้อมูล
5.3.2  ประเมินจากการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
              5.3.3  ประเมินจากการอ้างอิงเอกสารได้ถูกต้อง
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
ให้ศึกษา และทดลองปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับโครงงานที่นำเสนอ กำหนดให้นักศึกษาส่งผลงานตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้ มอบหมายงานให้ทำเป็นกลุ่ม ให้ทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบ
วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาตรี
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้ ด้านปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 3 4 5 1 2 1 2
1 33059499 โครงงานวิศวกรรมโยธา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2 2.1-2.4 3.3 3.5 5.2 5.4 -ความถูกต้อง ครบถ้วนของเนื้อหารายงานความเป็นมาของโครงงาน -ความถูกต้อง ครบถ้วนของเนื้อหารายงานการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง -ความถูกต้อง ครบถ้วนของเนื้อหารายงานวิธีการดำเนินงานของโครงงาน -ความถูกต้อง ครบถ้วนของเนื้อหารายงานข้อมูลและวิเคราะห์ผลข้อมูล -ความถูกต้อง ครบถ้วนของเนื้อหารายงานการสรุปผลโครงงาน -จัดส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ 3 6 9 11 12 12 5% 5% 5% 5% 5% 30%
2 2.5 4.1 5.2 -ทดสอบการนำเสนอโครงงาน -การนำเสนอโครงงานต่อคณะกรรมการ 14 15 5% 30%
3 1.1 4.1 6.1 การนำเสนอ การมีส่วนร่วมเสนอความคิดเห็น การส่งงานตรงเวลา ตลอดภาคการศึกษา 10%
รายละเอียดการเขียนปริญญานิพนธ์  สาขาวิศวกรรมโยธา  คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่เชียงราย
แบบฟอร์มต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาโครงงานวิศวกรรมโยธา
คู่มือโครงงานวิศวกรรมโยธา
              ตัวอย่าง ปริญญานิพนธ์สาขาวิศวกรรมโยธา
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านสื่อต่าง ๆ ของอาจารย์ผู้สอน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ