วาดเส้น 2

Drawing 2

                     1.  รู้ความหมาย รูปแบบ ลักษณะของการวาดเส้นสร้างสรรค์ใน ลักษณะต่างๆ
                     2.  เข้าใจกระบวนการสร้างสรรค์ของการวาดเส้น ในทางเนื้อหา องค์ประกอบศิลป์                
                     3.  ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการฝึกฝนทักษะปฏิบัติงานเส้นสร้างสรรค์อย่างเข้าใจ   
                     สามารถนำเสนอผลงานและแสดงทัศนะในทางสร้างสรรค์ได้ถูกต้องตามจุดมุ่งหมาย
                     4.  เห็นคุณค่างานวาดเส้นสร้างสรรค์และรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
เพื่อให้นักศึกษาใช้ความรู้เบื้องต้นทางการวาดเส้นนำมาปรับปรุงรูปแบบผลงาน   พร้อมทั้งศึกษากระบวนการสร้างสรรค์ของการวาดเส้นอันมีรูปแบบและลักษณะเฉพาะวิธีการลักษณะต่างๆ    รวมถึงการฝึกการคิดวิเคราะห์การสร้างสรรค์ในทางเนื้อหา และการจัดองค์ประกอบศิลป์     เพื่อให้เกิดการพัฒนาการในการนำเสนอผลงาน  มีการแสดงออกทางความคิดอันมีรูปแบบการสร้างสรรค์ทางการวาดเส้นที่มีลักษณะเฉพาะตน  รวมทั้งสามารถกระตุ้นให้นักศึกษานำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการเรียนในวิชาเอกอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ดียิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคนิควิธีการที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาและฝึกปฏิบัติ การเขียนภาพคน โดยเน้นสัดส่วน โครงสร้างและแสงเงาที่ถูกต้อง ด้วยวัสดุอุปกรณ์ที่หลากหลาย โดยคำนึงถึงหลักกายวิภาค
-    อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ
 -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
  1) ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา  มีความซื่อสัตย์ในการสร้างสรรค์ศิลปะการวาดเส้นอย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
(1) ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
(2)   มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น
(3)   มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ
กำหนดเวลาส่งผลงานที่มอบหมายอย่างตรงต่อเวลา เปรียบเทียบผลของผู้มีวินัยมี

 
มนุษยชนของผู้ที่เป็นต้นแบบบุคคล
1.3.3 ให้นักศึกษาแบ่งกันเป็นบุคคลต้นแบบ และช่วยเหลือแนะนำซึ่งกันและกัน
ความรับผิดชอบกับผู้ที่ขาดวินัยขาดความรับผิดชอบ

ให้คำแนะนำเกี่ยวกับทักษะการเขียนภาพบุคคลที่ถูกต้อง และมีความเคารพในสิทธิ
1.3.1   ประเมินผลการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลา อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ สังเกต
          พฤติกรรมการเข้าเรียน
1.3.2   รับฟังคำแนะนำการเขียภาพบุคคล และไม่ล้อเลียน หรือทำให้บุคคลที่เป็นต้นแบบ
         เสียสมาธิ มีเวลาพักสำหรับบุคคลต้นแบบ
คนที่ยังไม่ได้เป็นต้นแบบมีจิตอาสาในการเสนอตัว คนที่มีฝีมือเก่งกว่าให้คำแนะนำคนที่มีฝีมืออ่อนกว่า  
มีความรู้ในหลักการแบ่งสัดส่วนและทักษะวิธีการวาดเส้นภาพบุคคลตามหลักกายวิภาคเบื้องต้น กระบวนการวาดเส้นภาพบุคคลในท่าทางต่างๆ ที่ต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ที่หลากหลายแต่ต้องเป็นอุปกรณ์ที่มีความเฉพาะทางในการวาดเส้น มีความเข้าใจในการจัดองค์ประกอบของภาพวาดบุคคลต้องมีความเหมาะสมกับหน้ากระดาษ          
(1)   รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตรอื่นที่เกี่ยวข้อง
(2)   มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ
(3) มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม
(4) มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรม ศาสตรในสาขาวิชาที่ศึกษา        
2.2.1 บรรยายพร้อมสื่อการสอนประกอบการวาดเส้นภาพบุคคล เทคนิค และวิธีการวาดเส้นโดยการใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆในการศึกษาพร้อมวาดให้ดูเป็นตัวอย่าง
2.2.2 สอนทักษะวิธีการในเรื่องการกำหนดสัดส่วนในภาพบุคคลต้นแบบ กายวิภาคศาสตร์ และหลักทางทัศนีย์วิทยา เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจการน้ำหนักแสงเงาจากสิ่งที่พบเห็นจากรูปแบบเหมือนจริง
2.2.3 กำหนดให้นักศึกษาฝึกฝนเทคนิควิธีการในการวาดเส้นลักษณะต่างๆจนเกิดความชำนาญและเข้าใจหลักทฤษฏีของการวาดเส้นภาพบุคคล
2.3.1 มีแบบทดสอบย่อยทุกสัปดาห์ ด้วยหัวข้อการปฏิบัติงานที่เน้นความถูกต้องตามหลัก
        กายวิภาค
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบสามารถเรียนรู้และวางแผนในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ได้  ฝึกการนำเสนอผลงานการการวาดเส้นในแบบต่างๆกับเพื่อนนักศึกษาและอาจารย์ประจำวิชาเพื่อให้เกิดการแสดงออกทางความคิด การแลกเปลี่ยนมุมมองและทัศนะในทางการสร้างสรรค์      เพื่อให้มีการวิเคราะห์ทบทวนเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาทางสร้างสรรค์อย่างใหม่ๆ  เพื่อปรับปรุงเป็นรูปแบบการวาดเส้นสร้างสรรค์ของนักศึกษาเอง
 (1) สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาน 
 (2) สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
 (3) สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้
 (4) มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน        
3.2.1 การมอบให้นักศึกษาปฏิบัติงานส่วนตน โดยฝึกให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาทางด้านการมอง จากต้นแบบบุคคลจริง และต้นแบบบุคคลจากภาพถ่าย นำมาสร้างผลงานการวาดเส้นในแบบเหมือนจริง
3.2.2 การมอบให้นักศึกษาปฏิบัติงานส่วนตน ด้วยการเลือกใช้เทคนิควิธีการและอุปกรณ์ที่หลากหลาย โดยฝึกฝนให้เกิดทักษะความชำนาญในกระบวนการวาดเส้นภาพบุคคล
3.2.3 หารูปแบบต้นแบบบุคคลที่เป็นแรงบันดาลใจส่วนตน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวาดเส้นภาพบุคคลอย่างเหมาะสม 
3.3.1   ทดสอบย่อยตลอดภาค ด้วยหัวข้อการปฏิบัติงานที่เน้นการวัดทักษะความชำนาญในการใช้อุปกรณ์สำหรับวาดเส้นภาพบุคคลได้อย่างเหมาะสม
3.3.2   ประเมินสรุปปลายภาค จากการนำเสนอผลงานวาดเส้นที่เสร็จสมบูรณ์จากการค้นคว้าข้อมูล  ฝึกฝนเทคนิควิธีการสร้างสรรค์
3.3.3   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
มีการพัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน สามารถแสดงความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม โดยมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
 (1) มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและมนุษยสัมพันธ์ที่ดี 
 (2) มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 (3) สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง
4.2.1 การมอบให้นักศึกษาปฏิบัติงานส่วนตน โดยฝึกให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาทางด้านการมองจากแบบคนจริง นำมาสร้างผลงานการวาดเส้นทั้งในแบบเหมือนจริง
4.2.2 การมอบให้นักศึกษาปฏิบัติงานส่วนร่วมโดยฝึกให้เปลี่ยนมุมมองการวาดเส้นภาพบุคคลทุกสัปดาห์ เปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้วาดมุมที่ดีได้เช่นกัน
4.3.1  ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยผลงานการวาดเส้นภาพบุคคล
4.3.2  ประเมินจากการปฏิบัติงานช่วงระหว่างเวลาเรียน ผลงานวาดเส้นต้องไม่ซ้ำอยู่มุมเดิม
5.1.1  ทักษะการคิดคำนวณ วัดสัดส่วน มุมมอง ทิศทาง จากหลักทัศยนียวิทยา
5.1.2  พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.3  ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1   การมอบให้นักศึกษาปฏิบัติงานส่วนตน โดยฝึกคำนวนด้านการมอง จากแบบคนจริงและภูมิทัศน์สิ่งแวดล้อม นำมาสร้างผลงานการวาดเส้นในแบบเหมือนจริงโดยวัดสัดส่วนได้อย่างถูกต้อง
5.2.2  มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ที่มีข้อมูลทางศิลปะ จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.3  เก็บรวบรวมข้อมูลและนำเสนอผลงาน,ขั้นตอนการปฏิบัติงานโดยใช้รูปแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ไม่มีการประเมินผล
6.1 ด้านทักษะพิสัยที่ต้องพัฒนา            
                (1) มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
                (2) มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
                (3) มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
6.2.1   มอบให้นักศึกษาปฏิบัติงานส่วนตน โดยฝึกให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาทางด้านการมอง จากแบบหุ่นนิ่ง,แบบคนจริงและภูมิทัศน์สิ่งแวดล้อม   นำมาสร้างผลงานการวาดเส้นในแบบเหมือนจริงในขั้นต้นได้
6.2.2   การมอบให้นักศึกษาปฏิบัติงานตามหัวข้อที่กำหนดเกี่ยวกับสัดส่วงร่างกายมนุษย์ในแต่ละสัปดาห์
6.3.1   ประเมินผลงานมีความเข้าใจ สัดส่วนมนุษย์มีความถูกต้องเหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 1 2 3
1 BFAVA111 วาดเส้น 2
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 เข้าใจบทเรียนวาดเส้นสร้างสรรค์ เข้าใจบทเรียนวาดเส้นสร้างสรรค์แบบเหมือนจริง เข้าใจบทเรียนเทคนิควิธีการผสมในการวาดเส้น สอบกลางภาค เข้าใจบทเรียนองค์ประกอบในงานวาดเส้นสร้างสรรค์ ทดสอบสรุปงานวาดเส้นสร้างสรรค์ สอบปลายภาค ประเมินจากผลงานวาดเส้นภาพบุคคลในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน โดยมีเกณฑ์ ดังนี้ -สามารถวาดเส้นภาพบุคคล สัดส่วนถูกต้องตามหลักกายวิภาค มีการลงน้ำหนักแสงเงาอย่างความสมบูรณ์ ตามหัวข้อที่กำหนดให้ -สามารถทดลองใช้เทคนิคและอุปกรณ์ที่หลากหลายในการวาดเส้นภาพบุคคล -สามารถทำงานร่วมกันภายนอกสถานที่ได้อย่างไม่เกิดปัญหา 1-8 10-16 50%
2 มีความเข้าใจ และมีความชำนาญทักษะการวาดภาพโครงสร้างสัดส่วนคนเต็มตัวอย่างละเอียดตามเวลาที่กำหนดให้ได้ ประเมินจากแบบทดสอบหลังเรียน แบบทดสอบกลางภาคและปลายภาค 1-11 18 40%
3 มีความรับผิดชอบเข้าชั้นเรียนตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานในชั้นเรียนและ เช็คชื่อการเข้าชั้นเรียน และกรอกใบคะแนนการปฏิบัติงาน ส่งงาน เสร็จตรงตามเวลา และสามารถปฏิบัติตามคำสั่งแบบฝึกปฏิบัติที่มอบหมายตามหัวข้อได้ถูกต้อง ตลอดภาคการศึกษา 10%
อ.เสน่ห์ ธนารัตน์สฤษดิ์ Study&Drawing บูรพาศิลป์การพิมพ์การพิมพ์ 2530
ผศ.จักริน เงินทอง, คู่มือ Drawing Figure. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Jodi Hauptman, DRAWING FROM THE MODERN 1880-1945.
        EXPERIMENTAL DRAWING. Watson-Guptill Publications/Newyork Pitman House/ London
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษาสามรถปรึกษาอาจารย์

ได้ทุกเวลา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 5 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรือจากการแสดงนิทรรศการศิลปกรรมต่าง ๆ