การออกแบบระบบขนส่งสำหรับโลจิสติกส์

Logistics Transportation System Design

1.1 เพื่อเข้าใจถึงความสำคัญของระบบการขนส่งทางบก ทางอากาศทางทะเลและการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ
1.2 เพื่อพยากรณ์ปริมาณความต้องการการเดินทาง
1.3 เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความสำคัญของปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อระบบขนส่งปริมาณการไหลของจราจรพิจารณาจุดตัดสินใจในการเดินทางเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
1.4 เพื่อเข้าใจถึงการใช้แบบจำลองเพื่อศึกษาพฤติกรรมของระบบขนส่ง
1.5 เพื่อศึกษาแผนการพัฒนาระบบและเส้นทางขนส่ง
มีการเพิ่มเนื้อหารายวิชา รวมถึงกรณีศึกษาเพื่อให้ทันสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
ศึกษาและวิเคราะห์ระบบการขนส่งทางบก ทางอากาศทางทะเลและการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พยากรณ์ปริมาณความต้องการการเดินทางการวิเคราะห์ความสำคัญของปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อระบบขนส่งปริมาณการไหลของจราจรพิจารณาจุดตัดสินใจในการเดินทางเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดการใช้แบบจำลองเพื่อศึกษาพฤติกรรมของระบบขนส่งศึกษาแผนการพัฒนาระบบและเส้นทางขนส่ง
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีวินัย ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบ โดยปฏิบัติหน้าที่ด้วยคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้

ตระหนักในความมีวินัย ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบ

ปฏิบัติหน้าที่ด้วยคุณธรรมและจริยธรรม
ให้ความสำคัญในวินัย ตรงต่อเวลา และการส่งงานภายในเวลาที่กำหนด มอบหมายงาน

สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม
1.3.1 การขานชื่อ การให้คะแนนการเข้าชั้นเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลา
1.3.2 ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
- มีความรู้ความเข้าใจ และวิเคราะห์ เรื่องระบบการขนส่งสำหรับโลจิสติกส์
- นำความรู้ไปประยุกต์ในกิจกรรมด้านโลจิสติกส์
- นำหลักการด้านระบบการขนส่งแบบต่าง และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นพื้นฐาน
- ใช้การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนบรรยายร่วมกับการสมมุติเหตุการณ์การออกแบบระบบขนส่งสำหรับโลจิสติกส์ในลักษณะที่แตกต่างกัน
- กำหนดงานออกแบบระบบขนส่งสำหรับโลจิสติกส์
- อภิปรายกลุ่มเกี่ยวกับงานการออกแบบระบบขนส่งสำหรับโลจิสติกส์
- การสังเกต สอบกลางภาค และสอบปลายภาค
- การทำแบบฝึกหัด
- การเข้าห้องเรียน
3.1 ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
- ความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์โดยใช้หลักการที่ได้เรียนมาตลอดจนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ในสถานการณ์จริง
- สามารถแก้ปัญหาทางโลจิสติกส์ได้โดยนำหลักการต่าง ๆ มาอ้างอิงได้อย่างเหมาะสม
- การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL) เป็นปัญหาของการขนส่งและความต้องการของเจ้าของธุรกิจ
- ฝึกแก้ปัญหาในงานออกแบบระบบ และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา จากกรณีศึกษาตามประเด็นปัญหาที่กำหนดไว้แล้ว โดยแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม ภายในกลุ่มจะต้องเสนอแนวทางไปสู่การแก้ปัญหา
 
- ประเมินจากการตอบปัญหาและการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน ทั้งรายบุคคลและกลุ่ม
- แบบฝึกหัด
- การสอบข้อเขียนกลางภาคและปลายภาค
- มีความรับผิดชอบในการทำงานที่ได้รับมอบหมายทั้งรายบุคคลและงานกลุ่ม
- สามารถปรับตัวในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ในทุกสถานภาพ
- วางตัวและร่วมแสดงความคิดเห็นในกลุ่มได้อย่างเหมาะสม
- จัดกิจกรรมเสริมในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนที่นักศึกษามีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับนักศึกษาอื่นและบุคคลภายนอก
- มอบหมายงานกลุ่มและมีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามกิจกรรมที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่น โดยไม่ยึดติดกับเฉพาะเพื่อนที่ใกล้ชิด
- กำหนดความรับผิดชอบของนักศึกษาแต่ละคนในการทำงานกลุ่ม อย่างชัดเจน
- ประเมินการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
- ประเมินความรับผิดชอบจากรายงานกลุ่มของนักศึกษา
5.1 ทักษะการวิเคราะห์ตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา
- มีทักษะการใช้ภาษาไทยในการอธิบายหลักการและสถานการณ์ตลอดจนหารสื่อสารความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูลและนำเสนอรายงาน
- มีความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์และสถิติในอันที่จะวิเคราะห์สถานการณ์ตลอดจนนำเสนอข้อมูลโดยใช้คณิตศาสตร์หรือสถิติ
- สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร
- ใช้PowerPoint ที่น่าสนใจ ชัดเจน ง่ายต่อการติดตามทำความเข้าใจ ประกอบการสอนในชั้นเรียน
- การสอนโดยมีการนำเสนอข้อมูลจากการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นตัวอย่างกระตุ้นให้นักศึกษาเห็นประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอและสืบค้นข้อมูล
- การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูลและแหล่งข้อมูล
- การมอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
- การมอบหมายงานที่ต้องมีการนำเสนอทั้งในรูปเอกสารและด้วยวาจาประกอบสื่อ
- ประเมินทักษะการคำนวณจากเอกสาร และการสอบต่างๆ
- ประเมินทักษะการใช้สื่อและการใช้ภาษาพูดจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
- ประเมินรายงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
- มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สาธิตการปฏิบัติการ โดยผู้เชี่ยวชาญ
- สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานและจดบันทึก
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1 , 1.2 2.1 , 2.2 , 2.3 , 3.1,3.2, 5.3 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 8 16 30% 30%
2 1.1 , 2.1,2.2,2.3, 3.1,3.2, 4.1 ,4.2,4.3 5.1,5.2,5.3, 5.4 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.1, 2.3 ,3.2, 5.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
ไชยยศ ไชยมั่นคง และ มยุขพันธ์ ไชยมั่นคง. 2554. กลยุทธ์การขนส่ง, ดวงกมลสมัยจำกัด, กรุงเทพ.
คำนาย อภิปรัชญาสกุล, หัวหน้าควบคุมงานขนส่งสมัยใหม่, กรุงเทพฯ : โฟกัสมีเดีย แอนต์ พับลิชชิ่ งจำกัด, 2557. ณกร อินทร์พยุง. การแก้ปัญหาการตัดสินใจในอุตสาหกรรมการขนส่งและลอจิสติกส์, กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2548 Logistics Case Study in Thailand 4 ,Transport Logistics Management. กรุงเทพฯ : ไอทีแอล เทรด มีเดีย
http://www.logisticsthailand.com/Download/iTL_Order2012.pdf
http://www.gisthai.org/about-gis/gis.html
http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~kong/GIS_in_ITS_2.pdf
http://www.dpt.go.th/knowledges/TCplanning/txt/engineer2.pdf
http://www.surames.com/images/column_1227454933/chapter%204%20traffic%20engineering.pdf
http://prezi.com/lnvpiiezogty/presentation/
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ