การสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล

Teaching English for International Communication

เพื่อให้ผู้เรียน เรียนรู้ทฤษฎีการสอน และกระบวนการการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
การสร้างและการประเมินบทเรียน การทำแผนการสอน และพัฒนาทักษะด้านการสอน
ภาษาอังกฤษโดยการนำเทคโนโลยีเป็นสื่อการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้จากการฝึกปฏิบัติและแก้ปัญหาจากสถานการณ์จริงไปใช้ในวิชาชีพ เพื่อให้สอดคล้องกับระเบียบและแนวปฏิบัติ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2552 ของกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (2552) และแนวการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การศึกษาทฤษฏีเกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษ นำความรู้ในรายวิชาต่างๆ มาวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อสร้างบทเรียนที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน ฝึกปฏิบัติการสอน บูรณาการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการเรียนการสอนวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน สร้างแบบทดสอบและประเมินผลการเรียน
-   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
 -    อาจารย์ให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์สาขา หรือทางแอปลิเคชั่นไลน์
พัฒนาผู้เรียนให้มีวินัย  ขยัน  อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคม  และสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งกระตุ้นให้ผู้เรียนมีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม  จริยธรรม
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางคุณธรรม  จริยธรรม และการเสียสละของการผู้ที่จะประกอบอาชีพครู

2.  อภิปรายกลุ่ม
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามเวลาที่กำหนด
1.3.2   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำอย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3   ประเมินผลการนำเสนองานที่มอบหมาย
มีความรู้และเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา  และสามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
บรรยาย  อภิปราย การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอรายงาน ผู้สอนมอบหมายให้ค้นหาทฤษฎีการสอนภาษาอังกฤษและแนวทางการสอนภาษาอังกฤษอย่างมีประสิทธิภาพ  นำมาสรุปและนำเสนอในชั้นเรียน
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี ประเมินผลสอบปลายภาคจากการฝึกปฏิบัติการสอนจริงและรายงานผลการจัดการเรียนรู้
2.3.2   ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล 
มีทักษะด้านการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการและวิชาชีพ พร้อมทั้งมีทักษะในการนำความรู้มาประยุกต์และปรับเปลี่ยนได้เหมาะสมตามสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล
3.2.1   การมอบให้นักศึกษาทำโครงการสอนที่บูรณาการวิชาความรู้ในวิชาอื่น วิเคราะห์และปรับเนื้อหาให้เหมาะสม เพื่อนำไปใช้เป็นบทเรียน
3.2.2   อภิปรายกลุ่ม
3.3.1   สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์ปัญหาในการเรียนการสอน  และแนวทางการแก้ไขปัญหา
3.3.2   วัดผลจากการประเมินโครงการ  การนำเสนอผลงาน
3.3.3   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี  พร้อมทั้งสามารถทำงานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.2.1   จัดกิจกรรมกลุ่ม
4.2.2   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล
4.2.3   การนำเสนอรายงานและฝึกปฏิบัติการสอนจริง
4.2.4   การบูรณาการการเรียนการสอนกับงานวิจัยหรืองานบริการวิชาการ
4.3.1   ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3   ประเมินจากงานที่มอบหมายและรูปแบบการนำเสนอ
4.3.4   ประเมินจากการทดสอบและการฝึกปฏิบัติการสอนจริง 
สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะและสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning
5.2.2   มอบหมายให้จัดทำรายงานเป็นรูปเล่มและนำเสนองาน
5.3.1   ประเมินจากงานที่มอบหมายและรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
5.3.3   ประเมินจากการทดสอบและการฝึกปฏิบัติการสอนจริง 
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล 1 หน่วยที่ 1-5 สอบกลางภาค 8 30 % 2 หน่วยที่ 6-8 สอบปลายภาค 17 30 % 3 หน่วยที่ 1-8 แบบฝึกหัด / กิจกรรม / งานมอบหมาย Final Performance ตลอดภาคการศึกษา 30% 4 จิตพิสัย ตลอดภาคการศึกษา 10%
เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการสอนภาษาอังกฤษ
ไม่มี
เว็บไซต์ตัวอย่าง
- ทฤษฎีการสอน
- กิจกรรมการนำเข้าสู่บทเรียน
- เอกสารและเนื้อหาประกอบการสอน
- การจัดการห้องเรียน
- การทำแบบประเมินและแบบทดสอบภาษาอังกฤษ
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จากกิจกรรมดังต่อไปนี้
          1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
          1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
          1.3 ข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จากนักศึกษาผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ดังต่อไปนี้
          2.1 การสังเกตการณ์การสอนของหัวหน้าสาขาวิชา/หัวหน้าสาขา/ผู้ที่คณะมอบหมาย
          2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
          2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
นำผลประเมินการสอนตามข้อ 2 มาปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอนดังนี้
          3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
          3.2 ดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมได้ดังนี้
          4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยหัวหน้าสาขาวิชา หรือหัวหน้าสาขา หรือผู้ที่คณะมอบหมาย
          4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ คะแนนภาคปฏิบัติ และการให้คะแนนพฤติกรรม
นำผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา มาวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดของรายวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้
          5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
          5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้จากรายวิชานี้ เข้ากับปัญหาที่มาจากงานวิจัยหรือประสบการณ์ของอาจารย์