การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 1

Computer Programming 1

มีความรู้ความเข้าใจในแนวความคิดในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เข้าใจรูปแบบ วิธีการ ภาษาเทียม ภาษาคอมพิวเตอร์ คำสั่งในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่างๆ มีทักษะในการนำความรู้ในด้านการเขียนโปรแกรม และสามารถเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหากับการทำงานกับข้อมูลในรูปแบบต่างๆ
เพื่อให้สอดคล้องกับสาระวิชาในกรอบหลักสูตรมาตรฐานด้านระบบสารสนเทศของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
          การเขียนรหัสเทียม การเขียนขั้นตอนวิธี และการเขียนผังงาน ภาษาสำหรับเขียนโปรแกรม ประเภทข้อมูลแบบต่างๆ ค่าคงที่ ตัวแปร นิพจน์และตัวดำเนินการ คำสั่งในการควบคุมการทำงาน อาร์เรย์ โปรแกรมย่อยและอาร์กิวเมนต์ วิธีการนำข้อมูลเข้า-ออกอย่างง่าย การเขียนโปรแกรมเพื่อทำงานกับแฟ้มข้อมูล รูปแบบการเขียนโปรแกรมที่ดี เทคนิคการแก้ปัญหาต่างๆ
1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
พัฒนาผู้เรียนให้เข้าใจความสำคัญในการศึกษาวิธีการทางโปรแกรม สามารถวิเคราะห์และพัฒนาการเขียนโปรแกรมเพื่อใช้ในองค์กรธุรกิจ มีจรรยาบรรณทางวิชาชีพ ความรับผิดชอบ มีวินัย
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างวิธีการเขียนโปรแกรมที่ใช้ในธุรกิจแบบต่างๆ กำหนดให้นักศึกษาทำงานโดยฝึกปฏิบัติในการเขียนโปรแกรมพื้นฐาน อภิปรายผลงาน
พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา การนำเสนอและอภิปราย ประเมินผลการวิเคราะห์และพัฒนาโปรแกรม
             มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบของวิธีการทางโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การใช้งานข้อมูลแบบต่างๆ มีความรู้ในภาษาเทียม การเขียนขั้นตอนวิธี การเขียนผังงาน ภาษาสำหรับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สามารถเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อแก้ปัญหาในด้านต่างๆ ในองค์กร
บรรยาย ยกตัวอย่างประกอบ กำหนดให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติในการออกแบบ พัฒนา และเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์
ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบ นำเสนอผลงาน
มีวิจารณญาณในการออกแบบการเขียนโปรแกรมอย่างเป็นระบบและถูกต้อง สามารถเขียนโปรแกรมโดยใช้ภาษาคอมพิวเตอร์โดยประยุกต์ให้เหมาะสมกับการทำงานในองค์กรธุรกิจ
บรรยาย ให้แบบฝึกหัด
นำเสนอผลงานจากแบบฝึกหัด และการอภิปรายในชิ้นงาน
สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนในองค์กรในหน่วยงานสารสนเทศต่างๆ เพื่อนำการออกแบบและเขียนโปรแกรมไปประยุกต์ให้ตรงกับบุคคลที่จะต้องใช้ภายในองค์กร มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเอง
      กำหนดให้นักศึกษาทำงานโดยฝึกปฏิบัติงานการเขียนโปรแกรมแบบต่างๆ
นำเสนอผลงานของแบบฝึกหัดและตอบข้อซักถามของอาจารย์
สามารถวิเคราะห์รูปแบบการออกแบบโปรแกรมที่ดีได้อย่างถูกต้อง ประยุกต์การเขียนโปรแกรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งการเขียนและปากเปล่า ใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม ใช้เทคโนโลยีในการนำเสนอและสารสนเทศที่ถูกต้อง
กำหนดให้นักศึกษาทำงาน โดยกำหนดรูปแบบงานที่ให้นักศึกษาสามารถเพื่อเทคนิคการเขียนโปรแกรมในการแก้ไขปัญหาทางธุรกิจได้หลากหลายรูปแบบ นำเสนอผลงาน จัดส่งผลงาน
นำเสนอผลงาน และตอบข้อซักถามของอาจารย์ ตรวจผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4
1 12031102 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2, 1.6 2.1, 2.2, 2.3, 2.5, 2.6, 2.7, 2.8 3.1, 3.3, 3.4 4.4, 4.6 แบบฝึกหัดหน่วยที่ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 1-7 15%
2 5.1, 5.2, 5.3, 5.4 การอภิปรายด้วยวาจาในเรื่อง องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ภาษาคอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์ปัญหา 1-4 10%
3 2.1, 2.2, 2.5, 2.7 3.1, 3.4 สอบกลางภาค 9 20%
4 1.2, 1.6 2.1, 2.2, 2.3, 2.5, 2.6, 2.7, 2.8 3.1, 3.3, 3.4 4.4, 4.6 แบบฝึกหัดหน่วยที่ 8, 9, 10, 11, 12, 13 9-15 15%
5 5.1, 5.2, 5.3, 5.4 การอภิปรายการวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหาทางธุรกิจ 12-13 10%
6 2.1, 2.2, 2.5, 2.7 3.1, 3.4 สอบปลายภาค 17 20%
พิรพร  หมุนสนิท. พื้นฐานการโปรแกรมบนเว็บ.บริษัทเคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์ม จำกัด, ผศ.วัฒนา พันลำเจียก และคณะ.  การโปรแกรมคอมพิวเตอร์.บริษัททริปเพิ้ล เซเว่น มัลติเทค
                   จำกัด,   2547.
          เอกพันธ์ คำปัญโญ, รศ.ธีรวัฒน์  ประกอบผล. หลักการออกแบบและพัฒนาโปรแกรม.  บริษัท    
          ซัคเซส มีเดีย จำกัด, 2552.
โปรแกรมภาษา C
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน การสะท้อนความคิดจากพฤติกรรมของผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ผลการสอบ การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้ การประเมินโดยคณะกรรมการประเมินข้อสอบ
สัมมนาการจัดการเรียนการสอน การวิจัยใน/นอกชั้นเรียน
การทวนสอบการให้คะแนน จากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่นหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจสอบ ข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
ปรับปรุงรายวิชาทุกปี ตามข้อเสนอและผลการสวนสอบในผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4