ธุรกิจการบินและการออกบัตรโดยสาร

Airline Business and Ticketing

1.1 เพื่อศึกษาความหมาย ความสำคัญ ของความเป็นมาและความสำคัญของธุรกิจการบินได้
1.2 เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และเข้าใจในธุรกิจการบิน ธุรกิจเครื่องบิน ธุรกิจท่าอากาศยาน ธุรกิจบริการเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการบิน
1.3 เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และเข้าใจการจำหน่ายตั๋วเครื่องบิน การสำรองที่นั่ง การออกตั๋ว และการให้บริการผู้โดยสารของสายการบิน
1.4 ผู้เรียนมีความรู้และเข้าใจในมาตรฐานที่ใช้ในธุรกิจการบิน รหัสชื่อย่อ ชื่อเต็มของสายการบิน และของเมืองในแต่ละประเทศ การอ่านและใช้ตารางเวลาเที่ยวบิน เส้นทางการบินทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศของสายการบินต่างๆ การอ่านบัตรโดยสารตั๋วเครื่องบินประเภทต่างๆ ระบบการสำรองที่นั่งด้วยคอมพิวเตอร์ (CSR ) การบันทึกข้อมูลของผู้โดยสารและการอ่านข้อมูล ( PNR )
2.1 เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในการดำเนินการในธุรกิจการบิน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับการเรียนรู้ในรายวิชาอื่นที่เกี่ยวกับการเดินทางและการท่องเที่ยว
2.2 เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจในกิจกรรมทางการตลาดและการส่งเสริมการตลาดในธุรกิจการบิน
ศึกษาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจการบิน ภูมิศาสตร์การบิน กฎและระเบียบการจราจรทางอากาศ ตารางเวลากำหนดการบิน ชนิดของเครื่องบินและประสิทธิภาพการบิน งานบริการภาคพื้นดินและบนเครื่องบิน ระบบการจอง การออกบัตรโดยสารและการคิดคำนวณค่าโดยสาร ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสำรองที่นั่งสายการบิน การจัดทำเอกสาร และระเบียบพิธีการเข้า-ออกระหว่างประเทศ การขนส่งและพัสดุภัณฑ์ทางอากาศ และศึกษาดูงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3 ชั่วโมง
1.1.1 มีจิตสำนึกและตระหนักถึงความสำคัญในด้านธุรกิจการบิน
1.1.2 มีบทบาทในการพัฒนาผู้เรียนในมีความรู้ความเข้าใจ และความรับผิดชอบ โดยปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม ตลอดจนความมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ
วิธีการสอนโดยการบรรยาย สาธิต พร้อมยกตัวอย่างประกอบ และ มอบหมายงานเดี่ยว และงานกลุ่ม และอภิปรายผลการดำเนินกิจกรรมในแต่ละงาน โดยสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ
นักศึกษาได้เรียนรู้และเข้าใจความเป็นมาและความสำคัญของธุรกิจการบินได้ และมีความรู้ในรวมถึงนักศึกษาสามารถนำความรู้ด้านการสำรองที่นั่งมาใช้ในการประกอบธุรกิจนำเที่ยว
นักศึกษาต้องมีความรู้ในด้าน ภูมิศาสตร์การบิน กฎและระเบียบการจราจรทางอากาศ ตารางเวลากำหนดการบิน ชนิดของเครื่องบินและประสิทธิภาพการบิน งานบริการภาคพื้นดินและบนเครื่องบิน
2.2.1 อธิบาย ยกตัวอย่าง และ กรณีศึกษา
2.2.2 ให้นักศึกษานำเสนองานที่ได้รับมอบหมายทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่ม
พิจารณาจากข้อมูลที่นักศึกษานำเสนอและวิธีการนำเสนอหน้าห้องเรียนโดยสามารถสื่อความหมายให้อาจารย์และเพื่อนๆนักศึกษาในชั้นเรียนให้เข้าใจ
การฝึกคิดและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
ให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้าข้อมูลด้านการบิน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมข้อเสนอแนะด้านการตลาดของธุรกิจการบิน
สังเกตจากพฤติกรรมของผู้เรียนและติดตามงานที่ได้มอบหมาย และประเมินจากแบบฝึกหัด การทดสอบวัดความรู้และทักษะ และงานที่ได้รับมอบหมาย
การทำงานร่วมกันเป็นทีมได้อย่างเหมาะสม
ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม ทำการศึกษาภูมิศาสตร์การบิน กฎและระเบียบการจราจรทางอากาศ ตารางเวลากำหนดการบิน ชนิดของเครื่องบินและประสิทธิภาพการบิน
พิจารณาจากข้อมูลที่นักศึกษาทั้งกลุ่มนำเสนอหน้าห้อง โดยทุกคนสามารถนำเสนอหน้าห้องเรียน สามารถสื่อความหมายให้อาจารย์และนักศึกษาในชั้นเรียนเข้าใจได้
นักศึกษาสามารถคิด คำนวณ ระยะเวลาในการเดินทาง ตามเวลามาตรฐานโลก
มอบหมายงานให้คิดคำนวณระยะเวลาการบินตามเส้นทางและให้นักศึกษาทำรายงานและนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
พิจารณาจากข้อมูลที่นักศึกษาทั้งกลุ่มนำเสนอหน้าห้อง โดยทุกคนสามารถนำเสนอหน้าห้องเรียน สามารถสื่อความหมายให้อาจารย์และนักศึกษาในชั้นเรียนเข้าใจได้
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). อุตสาหกรรมการบินและการจำหน่ายตั๋วเครื่องบิน. พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพมหานคร : บริษัทเพรส แอนด์ ดีไซน์.
พรนพ พุกกะพันธุ์. (2548).ธุรกิจการบิน (Airline business). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
การวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว ฉลองศรี พิมลสมพงศ์ 2550.
ICAO องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ : https://www.icao.int/Pages/default.aspx
CACT สถาบันการบินพลเรือน : http://www.catc.or.th/2015/index.php/th/documents.
IATA สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ : https://www.iata.org/Pages/default.aspx
เกรด คะแนน เกณฑ์การพิจารณา A 90 – 100 เข้าชั้นเรียน ร่วมกิจกรรม และส่งงานทั้ง 2 ชิ้น และสอบปลายภาคได้ 80 -100 % B+ 85 - 89 เข้าชั้นเรียน ร่วมกิจกรรม และส่งงานทั้ง 2 ชิ้น และสอบปลายภาคได้ 75 - 79 % B 75 - 84 เข้าชั้นเรียน ร่วมกิจกรรม และส่งงานทั้ง 2 ชิ้น และสอบปลายภาคได้ 70 - 74 % C+ 70 - 74 เข้าชั้นเรียน ร่วมกิจกรรม และส่งงานทั้ง 2 ชิ้น และสอบปลายภาคได้ 65 - 69 % C 60 - 69 เข้าชั้นเรียน ร่วมกิจกรรม และส่งงานทั้ง 2 ชิ้น และสอบปลายภาคได้ 60 - 64 % D+ 55 - 59 เข้าชั้นเรียน ร่วมกิจกรรม และส่งงานทั้ง 2 ชิ้น และสอบปลายภาคได้ 55 - 59 % D 50 - 54 เข้าชั้นเรียน ร่วมกิจกรรม และส่งงานทั้ง 2 ชิ้น และสอบปลายภาคได้ 50 - 54 % F 0 - 49 เข้าชั้นเรียน ร่วมกิจกรรม และส่งงานทั้ง 2 ชิ้น และสอบปลายภาคได้ 0 - 49 %
ให้นักศึกษากรอกข้อมูลแบบสอบถามเพื่อประเมินประสิทธิภาพการสอนในชั้นเรียน
ผลที่ได้รับจากการสรุปแบบสอบถาม มาปรับปรุงการสอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสอนมากขึ้น
สอบกลางภาค และการสอบปลายภาค
นำข้อมูลที่ได้รับจากการสอนเทอมปัจจุบันไปปรับปรุงพัฒนาประสิทธิผลของรายวิชาในเทอมต่อไป