การเชื่อมต่อระหว่างมนุษย์และเครื่องจักร

Human Machine Interface

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐาน องค์ประกอบ ประโยชน์การใช้งานการสื่อสารระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร ลักษณะทางกายภาพของร่างกายมนุษย์ซึ่งเป็นปัจจัยในการสื่อสารกับเครื่องจักร
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ ความเข้าใจ ในระบบโปรแกรมเมเบิลคอนโทลเลอร์การสื่อสารระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร ลักษณะทางกายภาพของร่างกายมนุษย์ซึ่งเป็นปัจจัยในการสื่อสารกับเครื่องจักร เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีโปรแกรมเมเบิลคอนโทลเลอร์การสื่อสารระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร ลักษณะทางกายภาพของร่างกายมนุษย์ซึ่งเป็นปัจจัยในการสื่อสารกับเครื่องจักร ที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร ลักษณะทางกายภาพของร่างกายมนุษย์ซึ่งเป็นปัจจัยในการสื่อสารกับเครื่องจักร ขั้นตอน วิธีการออกแบบ การประเมินผล รูปแบบการสื่อสารระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร การออกแบบลักษณะของหน่วยรับข้อมูลและหน่วยแสดงผล เทคโนโลยีเครื่องอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวข้องกับงานควบคุม การแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงโปรแกรม หลักการเลือกอุปกรณ์ เครื่องมือและการควบคุมให้เหมาะสมและประยุกต์ใช้งาน
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1) ระเบียบวินัย เช่น เวลาเข้าเรียน การแต่งกาย กำหนดเวลาของงานที่ได้รับมอบหมาย
2) ความรับผิดชอบ เช่น ความใส่ใจในการเรียน การตอบคำถาม ระเบียบของห้องเรียน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ชุดทดลองต่าง ๆ กระดานดำ การประหยัดพลังงาน เช่น เครื่องปรับอากาศ พัดลม ไฟฟ้าแสงสว่าง
3) ซื่อสัตย์ สุจริต เช่น การตอบคำถาม การทำงานมอบหมาย การทำรายงาน การสอบ
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ นอกจากนี้ ผู้สอนต้องสอดแทรกและส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรมในทุกรายวิชา และส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ สนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมในการให้บริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม ปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ยกย่องและเชิดชูนักศึกษาที่ทำความดีและเสียสละ
1) เวลาเข้าเรียน การแต่งกาย การส่งงานที่ได้รับมอบหมาย ประเมินเป็นระดับคะแนนรายบุคคล
2) ความใส่ใจในการเรียน การตอบคำถาม ประเมินเป็นระดับคะแนนรายบุคคล
3) ระเบียบของห้องเรียนประเมินเป็นระดับคะแนนรวมทั้งห้อง
4) การตอบคำถาม การทำงานมอบหมาย การสอบ ประเมินเป็นระดับคะแนนรายบุคคล
5) ความซื่อสัตย์ สุจริต ประเมินเป็นระดับคะแนนรายบุคคล
มีความรู้เกี่ยวกับ เครื่องมือและอุปกรณ์ตรวจจัดในการควบคุมแบบลำดับ การเขียนไดอะแกรมของรีเลย์ การฝึกเขียนโปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ การเขียนคำสั่งบูลีน ภาษาแลดเดอร์ไดอะแกรมและภาษาคำสั่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานควบคุม การแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงโปรแกรม หลักการเลือกอุปกรณ์ เครื่องมือและการควบคุมให้เหมาะสมและประยุกต์ใช้งาน
1) บรรยาย ตั้งคำถาม แบ่งกลุ่มปฏิบัติงาน วิเคราะห์อภิปรายผลการทำลอง สรุปผล
2) บรรยายพร้อมยกตัวอย่าง เงื่อนไขการทำงานของเครื่องจักรจริง ลักษณะงานในอุตสาหกรรมเพื่อให้ได้เห็นภาพตัวอย่างการใช้งานที่ใช้ PLC ควบคุม
 
1) สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2) สอบกลางภาค สอบปลายภาค (ภาคปฏิบัติ) ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดผลด้านทักษะ
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากการใช้เทคโนโลยี
1) แบ่งกลุ่มปฏิบัติการทดลองตามใบงาน
2) อภิปรายกลุ่ม
3) วิเคราะห์สรุปผลการทดลอง
1) สอบกลางภาคและปลายภาค(ภาคปฏิบัติ) โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือเงื่อนไขการงานของเครื่องจักรที่มีใช้งานอยู่จริง
2) วัดผลประเมินผลจากผลการปฏิบัติ
1) พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
2) พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
3) พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
1) แบ่งกลุ่มปฏิบัติงานตามใบงาน
2) อภิปรายสรุปผลการทดลอง
1) ประเมินผลตามใบงาน
1) ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข ในการเขียนโปรแกรม PLC ระบบเลขฐานต่าง ๆ
2) พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการอภิปรายในกลุ่มปฏิบัติการทดลอง
3) พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากเงื่อนไขการทำงานในแบบฝึกหัดต่าง ๆ
 
1) มอบหมายงานแบบฝึกหัดให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
2) มอบหมายงานในใบงานภาคปฏิบัติให้ฝึกคิดแก้ปัญหาจากโจทย์ปัญหาร่วมกันในกลุ่ม
1) ประเมินจากงานที่มอบหมาย
2) ประเมินในประเมินผลภาคปฏิบัติ
สามารถใช้เครื่องมือฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ได้อย่างถูกต้อง    ปฏิบัติการเขียนโปรแกรมได้อย่างเป็นระบบ    โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ในการเรียนการสอนจึงต้องให้ความสำคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านการเขียนโปรแกรม ดังนี้
6.1.1  มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ  (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.1)
6.1.2   มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี (ผลเรียนรู้ข้อ 6.2)  
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากวิชาต่างๆ ที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อต่อไปนี้
6.2.1  สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
6.2.2  สาธิตการปฏิบัติการการเขียนและการรันโปรแกรม 
6.2.3  ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและมีความประณีต
6.2.4  นำเสนอโดยใช้รูปแบบโจทย์ปัญหาและเทคโนโลยีที่เหมาะสม   เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดความคิดสร้างสรรค์ และลงมือเขียนโปรแกรมด้วยใจ
6.2.5  อาจารย์ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีในการเขียนโปรแกรมและดูแลฝึกทักษะตลอดเวลา
 
6.3.1 มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
6.3.2 มีการใช้งานวิจัยของอาจารย์ประกอบการเรียนการสอน
6.3.3 มีการประเมินผลการทำงานในภาคปฏิบัติ
6.3.4 มีการประเมินโครงงานของนักศึกษา
6.3.4 มีการให้คะแนนผลการปฏิบัติงานเขียนโปรแกรมในด้านต่างๆ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. 2. 3. 4. 5. 1. 2. 3. 4. 5. 1. 2. 3. 4. 5. 1. 2. 3. 4. 5. 1. 2. 3. 4. 5. 1. 2.
1 ENGEL203 การเชื่อมต่อระหว่างมนุษย์และเครื่องจักร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.3 , 3.3 2.3 , 3.3 2.3 , 3.3 2.3 , 3.3 สอบกลางภาค(ปฏิบัติ) สอบกลางภาค สอบปลายภาค(ปฏิบัติ) สอบปลายภาค 8 9 17 18 10% 25% 10% 25%
2 3.3 , 4.3 3.3 , 4.3 ประเมินผลแบบฝึกหัด ประเมินผลการปฏิบัติงาน ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.3 , 5.3 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมปฏิบัติงานในกลุ่ม เสนอความคิดเห็นใน ชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
เอกสารประกอบการสอนวิชาการเชื่อมต่อระหว่างมนุษย์และเครื่องจักร อาจารย์ธรายุทธ กิตติวรารัตน์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
 
 
 
 
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ