การออกแบบเครือข่ายไอพี

IP Network Design

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบ เครือข่ายไอพี เครือข่ายขนาดใหญ่
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความพร้อมในการแก้ปัญหาด้วยการออกแบบเครือข่ายไอพี ใน
เงื่อนไขที่แตกต่างและนําความรู้ ความเข้าใจในการออกแบบเครือข่ายไอพี เป็นส่วนหนึ่งในการ
ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมคอมพิวเตอร์หรือสาขาอาชีพอื่น ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลง
ตัวอย่างอ้างอิง กรณีศึกษา ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีเครือข่าย
ศึกษาเกี่ยวกับ หลักมูลของการออกแบบเครือข่ายแบบลำดับชั้น การสร้างเครือข่ายที่มีเสถียรภาพสูง การออกแบบเครือข่าย โอเอสพีเอฟ (OSPF) และการจำลองการทำงานเครือข่ายโอเอสพีเอฟ การออกแบบเครือข่ายอีไอจีอาร์พี (EIGRP) การจำลองการทำงานเครือข่ายอีไอจีอาร์พี กรณีศึกษาการจำลองการทำงานเครือข่ายขนาดใหญ่
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
  (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนใหม่ความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ (เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟแวร์ และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา มีความซื่อสัตย์ในสร้างหรือใช้ซอฟแวร์ด้วยความรู้จากระเบียบวิธีเชิงเลข อย่างมีคุณภาพโดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
             1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
             1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม
             1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นําและผู้ตาม สามารถทํางานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อ
             1.1.4 เคารพสิทธิและรับฟังควานคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความ
                    เป็นมนุษย์
             1.1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบงคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
             1.1.6 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
   1.2.1 บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครือข่ายเช่น การ   
            ลักลอบข้อมูลจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และการใช้ความรู้จากการออกแบบเครือข่ายโดยมีวัตถุประสงค์ไม่
            สุจริต
    1.2.2 อภิปรายกลุ่ม
    1.2.3 กําหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกําหนดบทบาทสมมุติ
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
             1.3.2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นํามาทํารายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
             1.3.3 ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
             1.3.4 ประเมินผลการนําเสนอรายงานที่มอบหมาย
มีความรู้ ความเข้าใจใน หลักมูลของการออกแบบเครือข่ายแบบลําดับ การสร้างเครือข่ายที่มีเสถียรภาพสูง การออกแบบเครือข่าย โอเอสพีแอฟ (OSPF) และ จําลองการทํางานของเครือข่าย โอเอสพีแอฟ การออกแบบเครือข่ายอีไอจีอาร์พี (E1GRP) จําลองการทํางานของเครือข่ายอีไอจีอาร์พี กรณีศึกษาการ จําลองเครือข่ายขนาดใหญ่
บรรยาย สาธิต อภิปรายการทำงานของเครือข่ายแต่ละลักษณะบนซอฟต์แวร์แบบจำลองเช่น Packet tracer เป็นต้น กําหนดทํางานกลุ่ม การนําเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นคว้าหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การศึกษาโดยใช้ปัญหา และการจำลองสถานการณ์ด้วยซอฟต์แวร์แบบจำลอง และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฎี
2.3.2 ประเมินจากการออกแบบและจําลองการทํางานของเครือข่ายด้วยซอฟแวร์
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบการวิเคราะห์เพื่อการป้องกัน
และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากการใช้เครือข่าย
3.2.1 การมอบให้นักศึกษาทําใบงานที่ต้องออกแบบซับเนต
3.2.2 สาธิตจากแบบจําลองในปัญหารูปแบบต่างๆ
3.2.3 วิเคราะห์กรณีศึกษา ในการใช้เครือข่ายที่เหมาะสม
3.2.4 การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
3.3.1 สอบแต่ละใบงาน ด้วยการลงมือสร้างแบบจําลองเป็นรายบุคคล โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้เครือข่าย
3.3.2 วัดผลจากการทํางานตามแบบจําลองเครือข่าย
3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
             4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นําและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
             4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตาม
                  กําหนดเวลา
4.2.1 จัดกลุ่มในการใบงานและวิเคราะห์กรณีศึกษา
             4.2.2 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าความก้าวลํ้าของเทคโนโลยี
                     เครือข่าย หรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
             4.2.3 การนําเสนอรายงาน
4.3.1 จัดกลุ่มในการใบงานและวิเคราะห์กรณีศึกษา
             4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นําเสนอ พฤติกรรมการทํางานเป็นทีม
          4.3.3 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.1.1 ทักษะการคิดคํานวณเชิงตัวเลข
             5.1.2 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทํารายงาน
             5.1.3 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
             5.1.4 พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
             5.1.5 ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งทางอีเมล์
             5.1.6 ทักษะในการนําเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซด์ และทํารายงานโดยเน้นการนําตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
             5.2.2 นําเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนําเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
             5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
เน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ดังข้อต่อไปนี้
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
ฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และโปรแกรม Packet Tracer
สังเกตขั้นตอนปฏิบัติงานและความเชี่ยวชาญในการ Config อุปกรณ์บนเครือข่าย IP
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้ง ที่ 2 สอบปลายภาค 4 8 12 16 10% 10% 10%
2 โครงงานที่ 1 โครงงานที่ 2 การ ส่งงานตามที่มอบหมาย 10 12 50%
3 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในห้องเรียน ตลอดภาค การศึกษา 10%
1. Alvaro Ratana, Advanced IP network design Cisco Press 1999
2. MIT Lecture note in Computer Network Department of Electrical Engineering and
   Computer Science 2002
1. Geoff Haviland Designing High Paformance Campus Intranets with Multilayer    Switching Cisco system 1998
ไม่มี
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
        1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
        1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
        2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา
        2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
        5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
        5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหา  ที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ