ชีวเคมีทางการเกษตร

Agricultural Biochemistry

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1.1 เข้าใจสมบัติของสารละลายบัฟเฟอร์
1.2 เข้าใจเกี่ยวกับสารชีวโมเลกุล และหลักการแยกสารชีวโมเลกุลโดยเทคนิคต่างๆ
1.3 เข้าใจจลนศาสตร์ของปฏิกิริยาเอนไซม์
1.4 มีเจตคติที่ดีต่อการศึกษาวิชาชีวเคมีทางการเกษตร
1.5 ประยุกต์ความรู้ไปใช้ได้อย่างเหมาะสม
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญญาในการนำความรู้ ความเข้าใจ ในระบบชีวเคมีในสิ่งมีชีวิต เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาเกี่ยวกับเซลล์และองค์ประกอบของเซลล์ เอ็นไซม์ เมแทบอลิสมของคาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีนและกรดนิวคลีอิก การถ่ายทอดข้อความทางพันธุกรรม ฮอร์โมนที่ควบคุมเมแทบอลิสมในคน พืชและสัตว์
ปฏิบัติการเกี่ยวกับสมบัติของบัฟเฟอร์ สารชีวโมเลกุล การแยกสารชีวโมเลกุลโดยเทคนิคต่างๆ และจลนศาสตร์ของปฏิกิริยาเอนไซม์ และปฏิบัติการทดลองให้สอดคล้องกับทฤษฎี
จัดให้นักศึกษาพบอาจารย์เพื่อขอคำปรึกษาและแนะนำสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง และแจ้งให้นักศึกษาทราบในชั่วโมงแรกของการสอน
3.1 วันจันทร์ พุธ ศุกร์ เวลา 15.00 - 16.30 น. ห้อง 821 โทร. 089-9994038
3.2 e-mail; biochemistryjb@hotmail.com เวลา 20.00 - 21.00 น. ทุกวัน
˜1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
˜1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
 
1. บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
2. อภิปรายกลุ่ม
3. ให้มีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย และมีความซื่อสัตย์ในการสอบ
4. กำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ เช่น ให้เข้าห้องเรียนตรงเวลาและเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ
สามารถดูรายละเอียดวิธีการสอนแต่ละแบบได้ในเว็บไซค์งานพัฒนาหลักสูตร
1.พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
2.มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
3.ไม่มีการทุจริตในการสอบ
4.ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
˜ 2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
1) บรรยายร่วมกับอภิปราย การทำงานกลุ่ม การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้อ่านและสรุปบทความวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2) ให้ทำแบบฝึกหัด
3) นิสิตไปค้นคว้าเพิ่มเติมและจัดทำเป็นรายงานตลอดจนนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
1) สอบกลางภาคและปลายภาคด้วยข้อสอบและสอบปากเปล่า
2) ประเมินจากประสิทธิผลของการค้นคว้าและรายงาน
3) การนำเสนอสรุปการอ่านบทความวิจัยที่เกี่ยวข้อง
4) การนำเสนอการวิเคราะห์กรณีศึกษา
5) ประเมินจากาการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
˜3.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
˜3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
1) บรรยายและอภิปรายกรณีศึกษาร่วมกันในชั้นเรียน
 
2) การมอบหมายให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษ และนำเสนอผลการศึกษา
1) สอบกลางภาคและปลายภาค โดย
ข้อสอบเน้นการใช้สถานการณ์
 
2) สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมใน
การอภิปรายปัญหาในชั้นเรียน
˜4.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
˜4.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
˜4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
1) มอบหมายงานกลุ่มในการ
วิเคราะห์กรณีศึกษา
 
2) มอบหมายงานให้ค้นคว้า
และศึกษาด้วยตนเอง เช่น
ให้เลือกและอ่านบทความ
วิจัยที่เกี่ยวข้องกับวิชา
1) ประเมินจากกระบวนการทำงาน และผลงานที่ทำเป็นกลุ่มหรือโครงงาน
 
2) รายงานการศึกษาด้วยตนเอง (รายงานสรุปรวบยอดความรู้)
 
3) พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
˜ 5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่าง
เหมาะสม
1) มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จาก website สื่อการสอน e-learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
2) นำเสนอผลงานโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
1) การจัดทำรายงาน และนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
 
2) การมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 กิจกรรมที่ 1 ผลการเรียนรู้ 1.1, 1.2, 1.3, 2.1, 3.2 กิจกรรมที่ 2 ผลการเรียนรู้ 1.1-1.4, 2.1, 2.2, 2.3, 3.2, 4.1-4.4, 5.1-5.3 กิจกรรมที่ 3 ผลการเรียนรู้ 1.3,1.4, 2.1, 3.2, 4.1, 5.3 กิจกรรมที่ 1 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 - สอบกลางภาค - ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 - สอบปลายภาค กิจกรรมที่ 2 - วิเคราะห์กรณีศึกษา ค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน - การทำงานกลุ่มและผลงาน - การอ่านและสรุปบทความ - การส่งงานตามที่มอบหมาย กิจกรรมที่ 3 - การเข้าชั้นเรียน - การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความ - คิดเห็นในชั้นเรียน กิจกรรมที่ 1 สัปดาห์ที่ประเมิน 5 9 14 17 กิจกรรมที่ 2 สัปดาห์ที่ประเมิน ตลอดภาค การศึกษา กิจกรรมที่ 3 สัปดาห์ที่ประเมิน ตลอดภาค การศึกษา กิจกรรมที่ 1 สัดส่วนของการประเมินผล - ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 5% - สอบกลางภาค 35% - ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 5% - สอบปลายภาค 35% กิจกรรมที่ 2
1. เอกสารและตำราหลัก
1. ดาวัลย์ฉิมภู่ ชีวเคมี สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2549) พิมพ์ครั้งที่ 2
2. Cheswarth, J.M., Sruchbury T., and Scaife JR., 1998. Agricultural Biochemistry. St.Edmundsbury Press, Suffolk.
3. McKee, T. (1996) Biochemistry; an Introduction, 1st ed, A Time Mirror Company, USA
2. เอกสารและข้อมูลสำคัญ
1. นิโลบล เนื่องตันและคณะ (2542) ชีวเคมี ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
2. มนตรี จุฬาวัฒนฑลและคณะ (2542) ชีวเคมี ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล
3. Roskoski, R. (1996) Biochemistry, 1st ed, W.B. Saunders Company, USA
4. Voet, D. (2004) Biochemistry, 3nd ed, Wiley International Edition, USA
3. เอกสารและข้อมูลแนะนำ
1. คณาจารย์ (2542) คู่มือการสอนชีวเคมี 1 ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
2. Devlin, TM. (1997) Biochemistry with clinical correlations, 4th ed, Wiley-Liss, New York
3. Marks, DB. (1996) Basic Medical Biochemistry; a clinical approach, 1st ed, William and Wilkins Company, USA
4. Lehninger Printciple of biochemistry (four edition)
5. เซลล์ชีววิทยาทางการแพทย์ 1 ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
6. ตำราชีวเคมี ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เช่น ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ทั้งด้านวิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและห้องนอกเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงรายวิชา ด้วยระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัย ฯลฯ
1.1 สอบถามความคิดเห็นจากนักศึกษาในสัปดาห์สุดท้าย
1.2 ให้นักศึกษาเขียนแสดงความคิดเห็นการสอนในสัปดาห์สุดท้าย
: วิธีการประเมินการสอนจากผลการเรียนของนักศึกษา ฯ
3.1 นำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุงการสอน
3.2 ค้นคว้าข้อมูลความรู้ใหม่ ๆ นำมาใช้ในการสอน
3.3 อาจารย์จัดอภิปราย/สัมมนาเพื่อพัฒนารายวิชาให้มีสาระวิชาและการสอนให้เหมาะสมและน่าสนใจ
อธิบายกลไกและวิธีการปรับปรุงการสอน ฯลฯ
4.1 ให้นักศึกษามีโอกาสตรวจสอบคะแนนและเกรดก่อนส่งเกรด
4.2 จัดประชุมอาจารย์ผู้สอนก่อนออกข้อสอบ อธิบายกระบวนการที่ใช้ในการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ของรายวิชา เช่น ทวนสอบจากคะแนนข้อสอบหรืองานที่มอบหมาย กระบวนการอาจจะต่างกันไปสำหรับรายวิชาที่แตกต่างกัน หรือสำหรับมาตรฐานผลการเรียนรู้แต่ละด้าน
นำผลที่ได้จากการสอบถามความคิดเห็น คะแนนของนักศึกษา และผลการประเมินอาจารย์ผู้สอนมาสรุปผลการพัฒนารายวิชาก่อนการสอนในภาคการศึกษาต่อไป
อธิบายกระบวนการในการนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินจากข้อ 1 และ 2 มาวางแผนเพื่อปรับปรุง