การฝึกทักษะพื้นฐานทางวิศวกรรม 1

Basic Engineering Skill Training 1

         ศึกษาและปฏิบัติงานเกี่ยวกับทักษะพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องมือวัดเชิงกล การใช้ตะไบในการลดขนาด ฉาก และผิวงานให้ได้ตามพิกัด การใช้เครื่องมือช่างพื้นฐานทั่วไป การฝึกลับคมเครื่องมือตัด การใช้งานเครื่องมือกล การบำรุงรักษา และการปรับตั้งเครื่องมือกล
Study and practice on basic skills in engineering, which involves the use of mechanical instrumentation. Use a rasp to reduce the size and surface according to the coordinates. Using basic tools. Practice sharpening cutting tools. Using machine tools. Maintenance and adjustment of machine tools.
เพื่อให้เป็นพื้นฐานของนักศึกษาในการเรียนรู้ในเรื่องที่สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย ตลอดจนเป็นการเตรียมความพร้อมด้านการฝึกปฏิบัติโดยใช้เครื่องมือเครื่องจักรอุตสาหกรรม และสอดรับกับการเรียนในวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป
ศึกษาและปฏิบัติงานเกี่ยวกับทักษะพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องมือวัดเชิงกล การใช้ตะไบในการลดขนาด ฉาก และผิวงานให้ได้ตามพิกัด การใช้เครื่องมือช่างพื้นฐานทั่วไป การฝึกลับคมเครื่องมือตัด การใช้งานเครื่องมือกล การบำรุงรักษา และการปรับตั้งเครื่องมือกล
Study and practice on basic skills in engineering, which involves the use of mechanical instrumentation. Use a rasp to reduce the size and surface according to the coordinates. Using basic tools. Practice sharpening cutting tools. Using machine tools. Maintenance and adjustment of machine tools.
-    อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านบอร์ดประกาศของสาขาวิชาหรือเว็บไซต์คณะ
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.4 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางต่างๆ ต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม
1.1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพและมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพ
        ปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม
1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
1.3.2 ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าฝึกปฏิบัติการ
1.3.3 ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบและความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย
1.3.4 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรม ทางเทคโนโลยี
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษาของสาขาวิชาเฉพาะด้านการผลิตและนวัตกรรมอาหา ที่เน้นหลักการทางเครื่องมือวัดพื้นฐาน เครื่องมือ พื้นฐาน เครื่องมือกลพื้นฐาน และ อุปกรณ์ต่างๆตลอดจนความปลอดภัยในโรงงาน และสามารถใช้เครื่องมือวัดพื้นฐาน เครื่องมือ พื้นฐาน เครื่องมือกลพื้นฐาน และอุปกรณ์ต่างๆได้อย่างปลอดภัย
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2.1.5 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้    
เน้นหลักการทางทฤษฎี และประยุกต์ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษา ในด้านต่าง ๆ คือ
2.3.1 การทดสอบย่อย
2.3.2 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.3.3 ประเมินจากรายงานและชิ้นงานที่นักศึกษาจัดทำ
2.3.5 ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
3.1.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดีและอย่างเป็นระบบ
3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำความรู้จากภาคทฤษฎีมาปรับใช้กับการปฏิบัติได้ถูกต้อง และมีความคิดที่ยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม สามารถแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานเครื่องมือกลได้อย่างเหมาะสม
3.1.4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
3.1.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเองเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์องค์ประกอบของสถานการณ์ต่างๆโดยใช้บทบาทสมมติสถานการณ์จำลองและกรณีศึกษาทางการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ การอภิปรายกลุ่ม เพื่อเป็นตัวอย่างให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติจริงและได้ฝึกวิเคราะห์แนวทางแก้ไขให้ถูกต้อง
  ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การเลือกใช้วิธีการเพื่อแก้ใขปัญหาในบริบทต่างๆ
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
4.1.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ในกลุ่มทั้งในบทบาทผู้นำและผู้ร่วมทีมทำงาน
4.1.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.1.5 สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
        ใช้การสอนที่มีการกำหนดการปฏิบัติงานให้มีการทำงานเดี่ยวและกลุ่มโดยมีความคาดหวังในผลการเรียนรู้ดัานทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความสามารถในการรับผิดชอบ ดังนี้
4.2.1 สามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
4.2.2 มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
4.2.3 สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้อย่างดี
4.2.4 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
4.2.5 มีภาวะผู้นำ
        ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียนและสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ และความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูล
5.1.1 สามารถใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ตลอดจนทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
5.1.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ต่อวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
5.1.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
5.1.5 สามารถนำเสนอผลงานโดยใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการในวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม
         ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และสถานการณ์เสมือนจริง แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในหลากหลายสถานการณ์ โดยการติดต่อสื่อสารค้นคว้าหาข้อมูลและนำเสนอผลจากการค้นคว้าโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.3.1 ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฏี การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติ ที่เกี่ยวข้อง
5.3.2 ประเมินจากความสามารถในการอธิบาย ถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือ           ต่าง ๆ การอภิปราย กรณีศึกษาต่างๆ มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน
6.1.1 มีทักษะวิชาชีพในการปฏิบัติงานตามสมรรถนะวิชาชีพที่สถานประกอบการต้องการ
6.1.2 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถบูรณาการความรู้ที่เรียนมาเพื่อพัฒนาต่อยอดทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
6.1.3 มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพของตนเอง
ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากทางทฤษฎีที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัยดังข้อต่อไปนี้
6.2.1 สาธิตการปฏิบัติการทางด้านวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์โดยผู้เชี่ยวชาญ
6.2.2 ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและมีความประณีต
6.3.1 สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานและจดบันทึก
6.3.2 พิจารณาผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งงานที่มอบหมาย
6.3.3 พิจารณาจากแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบในโครงงานที่ได้รับมอบหมาย ในรูปแบบของรายงาน ชิ้นงาน และสื่อต่างๆ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 2 2 3 3 5 1
1 ENGCC507 การฝึกทักษะพื้นฐานทางวิศวกรรม 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,2.1,2.2, 2.3,5.1,5.3 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 5 9 12 18 5% 10% 5% 10%
2 1.1,1.2, 1.3, 2.1,2.2, 2.3,3.1,3.2 3.3,4.1,4.2, 4.3,4.4,5.1, 5.2,5.3,5.4 6.1,6.2,6.3 ค้นคว้าทำรายงาน การนำเสนอรายงาน การปฏิบัติงานงานกลุ่มและผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 60%
3 1.1,1.2, 1.3,3.2,4.2 5.3 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
1.   ทศพล สังข์อยุทธ์.   ทฤษฎีเครื่องมือกล1. พิมพ์ครั้งที่ 4. สระบุรี. โรงพิมพ์ปากเพรียวการช่าง.
       2544.
2.   วิโรจน์  สุวรรณรัตน์. งานเครื่องมือกลเบื้องต้น 1.  กรุงเทพมหานคร. สำนักพิมพ์เอมพันธ์.
       2541.
3.  ศุภชัย  รมยานนท์ และ ฉวีวรรณ  รมยานนท์.   ทฤษฎีงานเครื่องมือกลเบื้องต้น : งานกลึง.
      พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. 2529.
4.  ศุภชัย  รมยานนท์ และ ฉวีวรรณ  รมยานนท์.   ทฤษฎีงานเครื่องมือกลเบื้องต้น : งานเจาะ.
      พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. 2529.
5.  ศุภชัย  รมยานนท์ และ ฉวีวรรณ  รมยานนท์.   ทฤษฎีงานเครื่องมือกลเบื้องต้น : งานทำเกลียว.
      พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. 2529.
6.  ศุภชัย  รมยานนท์ และ ฉวีวรรณ  รมยานนท์.   เครื่องมือกลทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 3.
     กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. 2529.
 
7.  ศุภชัย  อัครนรากุล. กระบวนการตัดเฉือนด้วยเครื่องกัดเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 1. มหาวิทยาลัย
     เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่ 2551.
8.  สุรพล  พลเยี่ยม. งานเครื่องมือกลเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์วังอักษร.
     2546.
9.   ไฮน์ริช   เกร์ลิงก์. ทฤษฎีงานเครื่องมือกล. โรงพิมพ์ซี.ยอจ เวสเตอร์มานน์. 1964.
10.  CHRISTOPHER J. MCCAULEY RICCARDO HEALD and MUHAMMED IQBAL HUSSAIN.  Machinery’s Handbook. INDUSTRIAL PRESS INC.NEW YORK.2000
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น http://library.rmutl.ac.th/  
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนาระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 การประเมินผู้สอน และการเสนอแนะของนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
3. การปรับปรุงการสอน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมองและหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ