การใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดทำบัญชี

Computer Applications in Accounting

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ระบบประมวลผล กรณีศึกษาและการสาธิตการปฏิบัติงานโดยใช้คอมพิวเตอร์จัดทำบัญชีต่าง ๆ เช่น เงินสด ลูกหนี้ ขายและซื้อสินค้า เงินเดือนค่าแรง รายงานการเงิน ฯลฯ การควบคุมภายในทางด้านคอมพิวเตอร์ต่างๆ เช่น การจัดสายงาน ดำเนินงานการพัฒนาและดูแลรักษาระบบงานชุดคำสั่ง การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ การนำข้อมูลเข้าและโปรแกรมสั่งงาน ระบบรักษาความปลอดภัย ระบบป้องกันความเสียหายและการปฏิบัติงานฉุกเฉิน ตลอดจนการควบคุมภายในเฉพาะ เช่น ระบบการประมวลผลและแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ การควบคุมข้อมูลส่งออก เป็นต้น รวมถึงความรับผิดชอบตามมาตรฐานการเรียนรู้ในแต่ละด้านดังนี้ (ตาม Domain of Leaning)
ด้านคุณธรรมจริยธรรม
ข้อ 1 (1) มีความรู้ความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
ข้อ 1 (2) มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม
ด้านความรู้
ข้อ 2 (1) มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี
ข้อ 2 (2) มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชีโดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
ข้อ 2 (3) มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
ด้านทักษะทางปัญญา
ข้อ 3 (1) สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง
ข้อ 3 (2) สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหารวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
ข้อ 4 (1) สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ข้อ 5 (3) สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ
เพื่อให้สอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชาในหลักสูตรและเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรีของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ระบบประมวลผล กรณีศึกษาและการสาธิตการปฏิบัติงานโดยใช้คอมพิวเตอร์จัดทำบัญชีต่าง ๆ เช่น เงินสด ลูกหนี้ ขายและซื้อสินค้า เงินเดือนค่าแรง รายงานการเงิน ฯลฯ การควบคุมภายในทางด้านคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เช่น การจัดสายงาน ดำเนินงานการพัฒนาและดูแลรักษาระบบงานชุดคำสั่ง การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ การนำข้อมูลเข้าและโปรแกรมสั่งงาน ระบบรักษาความปลอดภัย ระบบป้องกันความเสียหายและการปฏิบัติงานฉุกเฉิน ตลอดจนการควบคุมภายในเฉพาะ เช่น ระบบการประมวลผลและแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ การควบคุมข้อมูลส่งออก เป็นต้น
จำนวน 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ตั้งแต่เวลา 15.30-16.30 น.
คุณธรรมจริยธรรมที่ต้องพัฒนา
ข้อ 1 (1) มีความรู้ความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
ข้อ 1 (2) มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม
เน้นความสำคัญของการตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงาน ให้นักศึกษาปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อตกลงของรายวิชา
สังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงาน รวมถึงการปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ประเมินจากการตรงต่อเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนด
ความรู้ที่ต้องได้รับ
ข้อ 2 (1) มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี
ข้อ 2 (2) มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชีโดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
ข้อ 2 (3) มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จาก
เน้นหลักการทางทฤษฎีและภาคปฏิบัติให้เป็นไปตามเนื้อหาสาระของคำอธิบายรายวิชา ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลโดยการทำงานเป็นกลุ่ม
ประเมินจากการทดสอบกลางภาคและปลายภาค ประเมินจากงานที่มอบหมาย
ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
ข้อ 3 (1) สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง
ข้อ 3 (2) สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหารวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
ให้นักศึกษาเรียนรู้จากข้อมูลของแต่ละกลุ่มที่นำเสนอหน้าชั้นเรียน ให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์ข้อมูลของแต่ละกลุ่มที่นำเสนอและเสนอแนะข้อคิดเห็นในสถานการณ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์
ประเมินจากการนำเสนอข้อมูลของแต่ละกลุ่มหน้าชั้นเรียน ประเมินจากการซักถาม และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกลุ่ม
ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
ข้อ 4 (1) สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
กำหนดให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่มโดยให้หมุนเวียนการเป็นผู้นำเสนอ
ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน ประเมินจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
ข้อ 5 (3) สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ
มอบหมายงานให้นักศึกษาและนำเสนองานในรูปแบบที่เหมาะสม มอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมายและรูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสม ประเมินจากผลงานที่ได้สืบค้นทางอินเตอร์เน็ต
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 11014303 การใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดทำบัญชี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ข้อ 1 (1) (2) ข้อ 2 (1) (2) (3) ข้อ 3 (1) (2) ข้อ 4 (1) ข้อ 5 (3) - ทำแบบทดสอบกลางภาคบทที่ 1 – 4 - ทำแบบทดสอบปลายภาคบทที่ 5 – 8 9 และ 17 30 คะแนน และ 30 คะแนน
2 ข้อ 1 (1) (2) ข้อ 2 (1) (2) (3) ข้อ 3 (1) (2) ข้อ 4 (1) ข้อ 5 (3) - วิเคราะห์กรณีศึกษา รายงานและงานที่มอบหมาย - จิตพิสัย ตลอดภาคการศึกษา 30 คะแนน และ 10 คะแนน
เอกสารประกอบการสอน การใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดทำบัญชี โดย ผู้ช่วยศาสตรจารย์อัจฉราภรณ์ พูลยิ่ง
กฤติยา ยงวณิชย์. 2556.การบัญชีการเงิน. พิมพ์ครั้งที่ 2 : กรุงเทพมหานคร.สำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล.
คู่มือการใช้โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป Express For Windows. กรุงเทพฯ
ชนาภา หันจางสิทธิ์. สร้างและวิเคราะห์งบการเงิน ด้วย Excel ฉบับมืออาชีพ. นนทบุรี:, 2558.
ธารี หิรัญรัศมี และคณะ. 2549. การบัญชีชั้นต้น . พิมพ์ครั้งที่ 4 : กรุงเทพมหานคร.บริษัท ส.เอเซียเพรส (1989) จำกัด.
ภาษิต เครืองเนียม. คู่มือโปรแกรม Microsoft Office Excel 2010. นนทบุรี : ไอดีซีฯ, 2553.
เสนีย์ พวงยาณี และคณะ. 2543. การบัญชีการเงิน . พิมพ์ครั้งที่ 1 : กรุงเทพมหานคร.บริษัท ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น จำกัด.
อัจฉราภรณ์ พูลยิ่ง. 2560. การบัญชีชั้นต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3 : น่าน. ต้นฉบับการพิมพ์.
อัมพร เที่ยงตระกูล และคณะ. 2554. การบัญชีการเงิน. กรุงเทพมหานคร. สำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล.
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ได้ดำเนินการดังนี้
1) การสอบถามความคิดเห็นจากนักศึกษาเป็นรายคนและรายกลุ่ม
2) แบบประเมินผู้สอนของมหาวิทยาลัย
การประเมินการสอนในรายวิชานี้ได้ดำเนินการดังนี้
1) สังเกตการมีส่วนร่วมในการทำงาน
2) การตรวจงานที่มอบหมาย
3) การตรวจความมีระเบียบวินัย การตรงต่อเวลา และปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
4) ทดสอบวัดผลการเรียน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จะมีการปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมองและหาข้อมูลเพิ่มเติม ดังนี้
1) ประชุมผู้สอนในสาขาเพื่อพิจารณาผลในภาพรวมและนำไปสู่การปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป
2) การวิจัยในชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชามีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาดังนี้
1) ทดสอบความรู้ของนักศึกษาอย่างสม่ำเสมอ โดยการทวนถามและให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น
2) ทดสอบความรู้ของนักศึกษา โดยการสุ่มด้วยวิธีการสัมภาษณ์หลังจากส่งผลการเรียนแล้ว
จากการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
1) ปรับปรุงวิธีการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับยุคสมัย
2) ปรับปรุงวิธีการเรียนการสอนตามข้อเสนอและและผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์
3) ปรับปรุงเอกสารประกอบการสอนและสื่อการสอนต่างๆ ให้ทันสมัยอยู่เสมอ