เคมีอินทรีย์ 1

Organic Chemistry 1

1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานทางเคมีอินทรีย์
1.2 เพื่อให้นักศึกษาสามารถจำแนกสารประกอบอินทรีย์ตามหมู่ฟังก์ชันได้
1.3 เพื่อให้นักศึกษาสามารถเรียกชื่อและเขียนโครงสร้างของสารอินทรีย์ได้
1.4 เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้วิธีการสังเคราะห์และปฏิกิริยาเคมีของสารอินทรีย์ประเภทต่างๆ
1.5 เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในรายวิชาอื่นๆได้ ด้วยการเรียนรู้แบบบูรณาการศาสตร์
1.6 เพื่อให้นักศึกษามีการเรียนรู้และศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เพื่อสนองต่อกลยุทธ์ในการพัฒนานักศึกษาในการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เพื่อให้ตอบสนองต่อผลการเรียนรู้ของหลักสูตรและปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยมีการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์และเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองควบคู่ไปกับการเรียนในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนตลอดจนให้นักศึกษาค้นคว้าความรู้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย
โครงสร้าง สมบัติ ปฏิกิริยาและการเตรียมสารประกอบไฮโดรคาร์บอนและอนุพันธ์ ทั้งชนิดสารประกอบอะลิฟาติก สารประกอบอะลิไซคลิก สารประกอบอะโรมาติกและอนุพันธ์ สเตอริโอเคมีคาร์โบไฮเดรตและลิพิด
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการในทุกวันศุกร์ 13.00-15.00 น.)
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น และประพฤติตนโดยคํานึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในแต่ละรายวิชาต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่าง ๆ ดังนี้
1.1.1.1 มีจิตสํานึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และ สิ่งแวดล้อม
1.1.1.4 เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
นอกจากนั้น ยังมีรายวิชาส่งเสริมสนับสนุนให้นักศึกษามีการพัฒนาจริยธรรมและจรรยาวิชาชีพเช่น ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพ การควบคุมคุณภาพและระบบประกันคุณภาพในอุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น ซึ่งอาจารย์ ผู้สอนสามารถสอดแทรกเนื้อหาที่เกี่ยวของกับจรรยาวิชาชีพ และสามารถจัดให้มีการวัดผลแบบมาตรฐานในด้านคุณธรรม จริยธรรม ทุกภาคการศึกษา ด้วยการสังเกตพฤติกรรมระหว่างการทํากิจกรรม และมีการกําหนดคะแนนในเรื่องคุณธรรม จริยธรรมให้เป็น ส่วนหนึ่งของคะแนนจิตพิสัยในชั้นเรียน นักศึกษาที่คะแนนความประพฤติไม่ผ่านเกณฑ์ อาจต้องทํากิจกรรมเพื่อสังคมเพิ่มก่อนจบการศึกษา
กําหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้า ชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งงายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ นอกจากนี้ผู้สอนต้องสอดแทรกและส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรมในทุกรายวิชา และส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ สนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมในการให้บริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม ปลุกฝังจิตสํานึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ยกย่องและเชิดชูนักศึกษาที่ทําความดีและเสียสละ
ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาและการปฏิบัติตนในด้านต่าง ๆ ได้แก่
1.1.3.1 การตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกําหนดระยะเวลา ที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
1.1.3.2 ความมีวินัยและความใส่ใจของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
1.1.3.3 ความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
1.1.3.4 ความซื่อสัตย์สุจริตในการทํางานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ
 
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรายวิชาที่ศึกษาซึ่งประกอบกันขึ้นเป็น องค์ความรู้ที่จะพัฒนาความสามารถและทักษะอันเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้และเข้าใจ ดังนั้นมาตรฐานความรู้ ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้
1.2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
1.2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
1.2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง การทดสอบผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานนี้สามารถทําได้โดยการใช้ข้อสอบวัดผลในรายวิชาที่เรียน ทั้งการทดสอบภาคทฤษฎีและปฏิบัติตลอดระยะเวลาของหลักสูตร
ใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ใช้การบูรณาการการเรียนการสอนกับการทํางาน (Work-Integrated Learning) โดยมุ่งเน้นทั้งหลักการทางทฤษฎี และการ ประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฎิบัติในสภาพแวดล้อมจริงและให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จัดให้มี การเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงาน หรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษา โดยใช้การวัดผล ดังนี้
1.2.3.1 การทดสอบย่อย
1.2.3.2 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
1.2.3.3 รายงานที่นักศึกษาจัดทํา
1.2.3.4 งานที่ได้มอบหมาย
1.2.3.5 การนําเสนอรายงานในชั้นเรียน
1.2.3.6 แฟ้มสะสมผลงาน
นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพโดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษา ดังนั้น นักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาพร้อมกับคุณธรรม และจริยธรรม โดยกระบวนการเรียน
การสอนต้องเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหา ด้วยตนเอง นักศึกษาที่ผ่านกระบวนการเรียนการสอนด้วยวิธีดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1.3.1.1 มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
1.3.1.2 มีทักษะในการนําความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญาใช้แนวข้อสอบที่ให้นักศึกษาได้อธิบายแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาโดยการ ประยุกต์ความรู้ที่เรียนมาหรือให้นักศึกษาเลือกใช้วิชาชีพที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่กําหนดให้
ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ และการบูรณาการการเรียนการสอนกับการทํางาน (Work-Integrated Learning) มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์องค์ประกอบของสถานการณ์ต่าง ๆ โดยใช้บทบาทสมมติสถานการณ์จําลองและกรณีศึกษา เพื่อเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาได้ฝึก วิเคราะห์แนวทางแก้ไขให้ถูกต้อง
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา ได้แก่
1.3.3.1 บทบาทสมมติหรือสถานการณ์จําลอง
1.3.3.2 การเลือกใช้วิธีการเพื่อแก้ใขปัญหาในบริบทต่างๆ
1.3.3.3 การนําเสนอรายงานในชั้นเรียน
1.3.3.4 การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์
 
หมวดวิชาต่าง ๆ ของหลักสูตรมีความเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล นักศึกษาจึงต้องได้รับการฝึกประสบการณ์เพื่อเรียนรู้การปรับตัวให้เข้ากับบุคคลและกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ดังนั้นผู้สอนต้องแนะนําการวางตัว มารยาทในการเข้าสังคม และทักษะที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ดังนี้
1.4.1.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
1.4.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นําและผู้ตาม
1.4.1.3 สามารถทํางานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
1.4.1.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม การวัดและประเมินผลทําได้โดยการสังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทํากิจกรรมกลุ่ม ทั้งในและนอกชั้นเรียน และผลสะท้อนกลับจากการฝึกประสบการณ์ต่าง ๆ
ดําเนินการสอนโดยการกําหนดกิจกรรมกลุ่ม การทํางานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่น หรือ ค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ที่มี ประสบการณ์และประสบความสําเร็จในงานอาชีพ โดยมีความคาดหวัง
ในผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความสามารถในการรับผิดชอบ ดังนี้
1.4.2.1 สามารถทํางานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
1.4.2.2 มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
1.4.2.3 สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรได้เป็นอย่างดี
1.4.2.4 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
1.4.2.5 มีภาวะความเป็นผู้นําและผู้ตาม
1.4.2.6 มีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของบุคคลที่ติดต่อสื่อสารด้วย และสามารถวางตนได้
เหมาะสมกับกาลเทศะ ขนบธรรมเนียมและแนวทางปฏิบัติเฉพาะของแต่ละวัฒนธรรม
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา ได้แก่
1.4.3.1 พฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนําเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน
1.4.3.2 พฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
ในยุคปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสําคัญในชีวิตประจําวันและการประกอบอาชีพ
นักศึกษาต้องมีความรู้และมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน การติด ต่อสื่อสารและการพัฒนาตนเอง ดังนั้น นักศึกษาจําเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรมและความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชา ด้วยเหตุนี้ ผู้สอนต้องใช้เทคโนโลยีในการสอนเพื่อฝึกให้นักศึกษามีคุณสมบัติ ดังนี้
1.5.1.1 เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้เหมาะสม
1.5.1.2 สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
1.5.1.3 ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล การวัดและประเมินผลอาจจัดทําในระหว่างการสอน โดยการจัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อนํามาเรียบเรียง นําเสนอและอภิปราย แสดงความคิดเห็นในกลุ่ม หรือจัดกิจกรรมให้ นักศึกษาใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารหรือนําเสนอผลงานต่างๆ
ดําเนินการสอนด้วยกิจกรรมที่นักศึกษาต้องติดต่อสื่อสารค้นคว้าหาข้อมูล และนําเสนอผลจากการค้นคว้าโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนี้
1.5.2.1 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
1.5.2.2 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาข้อมูล
1.5.2.3 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการนําเสนอผลงาน
1.5.2.4 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับขนบธรรมเนียมปฏิบัติของ
สังคมแต่ละกลุ่ม
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา ดังนี้
1.5.3.1 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร
1.5.3.2 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล
1.5.3.3 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนําเสนอผลงาน
1.5.3.4 จรรยามารยาทในการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และ วัฒนธรรมสากล
 
 
นักศึกษามีความสามารถพัฒนาตนเองได้  และปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพของตนเอง  โดยนักศึกษา ต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ จากทักษะการปฏิบัติ ดังนี้ (1)  มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย (2) มีพัฒนาการทางด้านระบบต่าง ๆ ของร่างกาย (3) มีพัฒนาการทางด้านบุคลิกภาพ
ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้  ทักษะ การปฏิบัติในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้ปฏิบัติอย่างสม่ําเสมอ
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงจากผลงาน และทักษะการปฏิบัติของนักศึกษา ดังนี้ (1) จากประสิทธิภาพในทักษะการปฏิบัติ  ความถูกต้อง  (2) การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และความสามารถในการตัดสินใจ (3) พฤติกรรมที่แสดงออกในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักาะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ุ6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 22023101 เคมีอินทรีย์ 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม การส่งงานตามที่มอบหมาย การเข้าชั้นเรียน 1-17 10
2 ด้านความรู้ สอบกลางภาค สอบปลายภาค 1-17 50
3 ด้านทักษะทางปัญญา สอบย่อย แบบฝึกหัดท้ายบท การทำงานกลุ่มและผลงาน การนำเสนอผลงาน 1-17 25
4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ การส่งงานตามที่มอบหมาย การทำงานกลุ่มและผลงาน รายงานที่มอบหมาย การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็น 1-17 5
5 ด้านทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การทำงานกลุ่มและผลงาน การนำเสนอผลงาน รายงานที่มอบหมาย 1-17 5
6 ทักษะพิสัย ความกระตืนรือร้น การมีส่วนร่วมในกิจกรรม 1-17 5
ศุภชัย ใช้เทียมวงศ์, 2555, เคมีวิเคราะห์ พิมพ์ครั้งที่ 13 สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร
นงเยาว์ มาลัยทอง เอกสารประกอบการสอน กระบวนวิชาเคมีอินทรีย์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์หนังสือสถานบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อุดม ก๊กผล และคณะ, 2554, อินทรีย์เคมี 1 พิมพ์ครั้งที่ 11 สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร
Wade, L.G., Jr. 1999, “Organic Chemistry”, 4thed., Prentice Hall International, Inc., New Jersey.
ไม่มี
ไม่มี
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะของนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตพฤติกรรมจากการทำกิจกรรมของนักศึกษา
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา (การสอบกลางภาคและปลายภาค)
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 ประมวลความคิดเห็นของนักศึกษา สรุปปัญหา อุปสรรค แนวทางแก้ไขเมื่อสิ้นสุดการ สอน เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการปรับปรุงรายวิชาในภาคการศึกษาต่อไป
3.2 ปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมกับระดับของนักศึกษา โดยดูจากแบบทดสอบก่อนการเรียน เพื่อปูพื้นฐานและทบทวนในบางหัวข้อ
3.3 ปรับปรุงกลยุทธ์การสอนให้เหมาะแก่กลุ่มนักศึกษา
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการตรวจแบบฝึกหัด เพื่อปรับปรุงแก้ไข อธิบายทำความเข้าใจเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม และพิจารณาคะแนนสอบย่อย สอบกลางภาคและสอบปลายภาค
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 ปรับปรุงรูปแบบของกิจกรรมให้มีความหลากหลาย
5.3 ปรับปรุงเนื้อหาการสอนให้มีความน่าสนใจ มีการเลือกใช้สื่อที่ทันสมัย
5.4 นำข้อคิดเห็นจากการประเมินโดยนักศึกษามาประมวล เพื่อจัดเนื้อหาความรู้ให้เหมาะสม ผลจากการประมวลจะนำไปปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนในรุ่นต่อไป