สัมมนาวิศวกรรมโลจิสติกส์

Logistics Engineering Seminar

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการค้นคว้าและการรวบรวมข้อมูลเพื่อทำการวิจัย วิธีการนำเสนอผลงาน และสามารถนำเสนอหัวข้องานวิจัยทางวิศวกรรมโลจิสติกส์สำหรับ ทำโครงงาน
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานในการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลเพื่อทำการวิจัย ตลอดจนสามารถนำเสนอผลงานและสามารถนำเสนอข้อหัวงานวิจัยทางวิศวกรรมโลจิสติกส์เพื่อทำโครงงาน
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับวิธีการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลเพื่อทำการวิจัย วิธีการนำเสนอผลงาน รวมทั้งเสนอหัวข้องานวิจัยทางวิศวกรรมโลจิสติกส์สำหรับทำโครงงาน
1. อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ
2. อาจารย์ประจำวิชาจัดตั้งกลุ่ม Facebook เพื่อติดต่อประสานงานและสั่งงาน
3. อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1. มีวินัย ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบสูงทั้งต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม
2. แสดงความซื่อสัตย์สุจริตอย่างสม่ำเสมอ
3. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยคุณธรรมและจริยธรรม
4. เคารพในระเบียบและกฎเกณฑ์ขององค์กรและสังคม
การให้นักศึกษาเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม อภิปรายกลุ่ม
1. ประเมินผลจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานที่ได้รับมอบหมาย และการร่วมกิจกรรม
2. ประเมินผลจากการมีวินัยและความพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
1. เข้าใจ และวิเคราะห์หลักการและทฤษฎีพื้นฐานด้านโลจิสติกส์
2. สามารถนำไปประยุกต์ในกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ได้
3. เข้าใจและวิเคราะห์หลักการของศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ เช่น หลักเศรษฐศาสตร์ หลักกฎหมาย หลักการจัดการ เป็นต้น และสามารถนำมาประยุกต์หรือเป็นพื้นฐานของโลจิสติกส์
1. มีความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์โดยใช้หลักการที่ได้เรียนมาตลอดจนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ในสถานการณ์จริง
2. สามารถแก้ปัญหาทางโลจิสติกส์ได้โดยนำหลักการต่างๆมาอ้างอิงได้อย่างเหมาะสม
3. มีความใฝ่หาความรู้
1. สามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
2. มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
3. สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
4. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
5. มีภาวะผู้นำ
1. ส่งเสริมให้นักศึกษากล้าแสดงออกและเสนอความคิดเห็นโดยการจัดอภิปรายและเสวนางานที่มอบหมายที่ให้ค้นคว้า
2. ให้นักศึกษานำกรณีศึกษาทางด้านโลจิสติกส์มาทำการวิเคราะห์ในฐานะวิทยากร เพื่อเข้าร่วมสัมมนา
3. ให้นักศึกษาฝึกการจัดโครงการสัมมนาทางวิชาการทางด้านโลจิสติกส์
1. ประเมินจากผลงานและการอภิปรายเสวนา
2. ประเมินผลจากการจัดโครงการสัมมนาทางวิชาการ
1. มีทักษะการใช้ภาษาไทยในการอธิบายหลักการและสถานการณ์ตลอดจนการสื่อสารความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเก็บรวบรวมข้อมูลและนำเสนอรายงาน
3. มีความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์และสถิติในอันที่จะวิเคราะห์สถานการณ์ตลอดจนนำเสนอข้อมูลโดยใช้คณิตศาสตร์หรือสถิติ
4. ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้
1. การใช้ศักยภาพทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน ที่ได้รับมอบหมาย5.3.1 ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงาน
1. ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงาน
1. มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
1. ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและมีความประณีต
2. สนับสนุนการทำโครงการ
1. สร้างแบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
2. พิจารณาจากผลการปฏิบัติงานและพิจารณาจากผลการจัดนิทรรศการ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 บทที่ 1-8, การปฏิบัติ ข้อ 1.2 ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1-8 และ 10-16 การจัดโครงการสัมมนาทางวิชาการ 7 30%
2 การปฏิบัติข้อ 2.2 ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1-8 และ 10-16 การจัดโครงการสัมมนาทางวิชาการในชั้นเรียน ในฐานะที่นักศึกษาเป็นวิทยากรทางด้านโลจิสติกส์ กับกรณีศึกษาที่นำมาศึกษาและวิเคราะห์ 11-16 40%
3 การปฏิบัติข้อ 2.1 ตั้งแต่สัปดาห์ 1-8 และ 10 การสอบปลายภาคการศึกษา 17 20%
4 ทฤษฎีและปฏิบัติ สัปดาห์ที่ 1-17 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. ไพพรรณ เกียรติโชคชัย. การจัดการสัมมนาสู่ความเป็นเลิศ. พิมพ์ครั้งที่ 4 .กรุงเทพมหานคร : การศึกษา , 2548.
2. เกษกานดา สุภาพจน์.การจัดสัมมนา.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร:ศูนย์ส่งเสิรมวิชาการ,2549.
กรณีศึกษาเกี่ยวกับโลจิสติกส์
เอกสารสรุปโครงการการจัดสัมมนา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1. การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
2. แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
3. ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
1. การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2. ผลการเรียนของนักศึกษา
3. การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
1. สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
2. การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
1. การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
2. มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
1. ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
2. เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ