การฝึกปฏิบัติเชิงธุรกิจ

Business Simulation

เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ในห้องเรียน มาจัดทำแผนงานเพื่อการปฏิบัติการร่วมกันในบริษัท(จำลอง) ร่วมจัดตั้งโดยทีมนักศึกษา เป็นผู้บริหารจัดการโดยมีการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งเป็นตัวเงินและไม่ใช่เงิน
เพื่อให้เป็นโครงการทดลองในการปฏิบัติงานของนักศึกษาที่มีความเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ อย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์  และมองเห็นถึงเรียนรู้และเจริญเติบโตของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งผู้สอน และผู้เรียน(ผู้ปฏิบัติงานในโครงการ)
ศึกษาความรู้เบื้องต้นทางธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ การจัดการงานขาย มุ่งเน้นการเรียนในรูปแบบสถานการณ์จริง โดยใช้สถานการณ์จำลองและเทคโนโลยีต่างๆมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆในลักษณะองค์รวม ไม่ว่าจะเป็นการจัดการการตลาด การผลิต การเงิน และการจัดการ และการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และฝึกปฏิบัติเป็นทีมภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา จนถึงการรายงานผลประกอบการเช่นเดียวกับการบริหารบริษัท
-   อาจารย์จัดการประชุมทุกๆสัปดาห์เพื่อปรึกษาหารือในด้านการทำงาน ปัญหาที่เกิดขึ้นและโครงการที่จะต้องดำเนินงานตามแผนงาน สัปดาห์ละครั้ง โดยกำหนดทุกวันศุกร์ของแต่ละสัปดาห์  ในห้องปฏิบัติการ ห้องพักครู และห้องเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย เคารพกฎกติกามารยาท มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิส่วนบุคคล   มีความซื่อสัตย์ในงานที่ได้รับมอบหมาย โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
1.1.1 มีความเคารพต่อกฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์การและสังคม
1.1.2 มีจิตสำนึกและมีมโนธรรมที่จะแยกแยะความถูกต้อง ความดี และความชั่ว
บรรยายทฤษฏีเกี่ยวกับการเริ่มต้นจัดตั้งบริษัทจำลอง ความจำเป็นและความสำคัญ และขั้นตอนการเขียนแผนงานด้านต่างๆ ตลอดจนความสำคัญของแต่ละฝ่ายงานเพื่อความเป็นเอกภาพของการทำงานร่วมกัน

                2 จัดกลุ่มเขียนแผนงานพร้อมปฏิบัติการ
                3. แต่งตั้ง/เลือกตั้งทีมงานบริหารในบทบาทสมมติตามโครงสร้างองค์กรของบริษัทจำลองโดยยึดถึงความสามารถของบุคคลแต่ละคน และการยอมรับจากกลุ่มเป็นหลัก
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3   ประเมินผลการทำงานทั้งตนเองและทีมงานอย่างต่อเนื่อง
1.3.4   ประเมินผลโดยใช้ข้อสอบประมวลความรู้และทักษะที่ได้รับตลอดโครงการ
 
มีความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่ได้รับจากห้องเรียนมาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริงภายในเวลาของโครงการประมาณ 4 เดือนหรือหนึ่งภาคการศึกษา ในรูปแบบของบริษัทจำลองในสถาบันอุดมศึกษา ภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา และมีความสามารถเชิงการเป็นผู้ประกอบการที่มีแรงบันดาลใจในการทำงานภายใต้สถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
2.1.1 มีความรู้ความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนด้านบริหารธุรกิจ ที่ครอบคลุมทั้ง การบัญชี เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ศิลปะศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจ ทางการตลาด การเงิน 
การผลิตและการดำเนินงาน รวมทั้งการจัดองค์กรและทรัพยากรมนุษย์
2.1.3 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจในด้านการวางแผน การปฏิบัติการ การควบคุมและการประเมินผลการดำเนินงานรวมทั้งการปรับปรุงแผนงาน
2.1.4 มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าของทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจรวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
บรรยาย  การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอรายงานผลการดำเนินงาน การแก้ไขปัญหาภายใต้สถานการณ์วิกฤติ  โดยนำมาสรุปและนำเสนอ  และสามารถออกแบบโครงการที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในการดำเนินงานในรูปแบบบริษัทจำลอง และโครงการพิเศษทางการตลาด(ย่อย)ต่างๆ
2.3.1   ประเมินจากการแผนงานและผลการปฏิบัติงานตามแผนงาน
2.3.2   ประเมินผลจากยอดขายส่วนบุคคล และความสามารถปรับตัวกับการทำงานเป็นทีมได้
2.3.3   ประเมินผลจากการดำเนินงานเป็นทีม
2.3.4   ประเมินผลความสามารถในการทำงานด้านบริหารตามที่ได้รับมอบหมาย
และสามารถนำเสนอผลการปฏิบัติการ และรวบรวมผลการทำงานให้แล้วเสร็จตามวัน เวลา ที่ได้กำหนดในแผนงานได้อย่างเรียบร้อยและถูกต้อง
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
3.1.1 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ต่อยอดกรอบความรู้เดิม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาและประสบการณ์เพื่อให้เกิดนวัตกรรม กิจกรรมหรือแนวทางในการบริหารธุรกิจใหม่ๆ
3.1.2 สามารถสืบค้น จำแนก วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้ซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเหมาะสม
3.2.1   การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษที่ต้องแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน
3.2.2   การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
3.3.1   วัดผลจากการประเมินโครงการ  การนำเสนอผลงาน
3.3.2   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1   มีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม การประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบ พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงานซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบ
4.1.2   มีความกระตือรือร้นและและความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความรับผิดชอบยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งมีความเป็นผู้ตามในจังหวะที่เหมาะสม
4.1.3   มีความสามารถในการริเริ่มแสดงความคิดเห็นใหม่ๆที่อาจมีความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์
4.2.1   จัดกิจกรรมกลุ่ม
4.2.2   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล
4.2.3   การนำเสนอรายงาน
5.1.1     สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์  สถิติและการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ
5.1.2     สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีสิทธิภาพ
5.1.3     สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน และเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
5.1.4     สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้อง  ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจา
5.2.1     มอบหมายให้มีการรายงานผลการดำเนินงานประจำสัปดาห์เพื่อติดตามความก้าวหน้าของงานทั้งส่วนบุคคลและภาพรวมของงาน
            5.2.2     กระตุ้นให้มีการใช้ข้อมูลที่มาจากระบบสารสนเทศมาใช้ในการวางแผนงานและนำเสนอผลการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6
1 12021403 การฝึกปฏิบัติเชิงธุรกิจ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม พฤติกรรมการเข้าชั้นเรียน 1-17 10 %
2 ความรู้ สอบกลางภาค สอบปลายภาค งานที่มอบหมาย 9 18 6,8,17 20% 5% 5,5.5
3 ทักษะทางปัญญา การฝึกปฏิบัติทำธุรกิจ 12-17 50%
4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคลและความรับผิดชอบ สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม สังเกตจากงานที่มอบหมาย 2-16 รวมอยู่ใน กิจกรรมที่ 3
5 ทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อ การค้นคว้าข้อมูล ความสมบูรณ์ ของผลงานที่มอบหมาย 12-16 รวมอยู่ใน กิจกรรมที่ 3
      คู่มือการบริหารและแบบปฏิบัติการวางแผนบริษัทจำลอง โครงการแข่งขันธุรกิจจำลองในสถาบันอุดมศึกษา,2548
      อิมะสึ มิกิ. 2556. สร้างโมเดลธุรกิจ ง่ายนิเดียว. สำนักพิมพ์ วีเลิร์น.
ไม่มี
เอกสาร แผนและผลการดำเนินงาน บริษัทจำลอง เจ็ดลิน ล้านนา 2008
เอกสาร แผนและผลการดำเนินงาน บริษัทจำลอง เจ็ดลิน ล้านนา 2008 Plus
เอกสาร แผนและผลการดำเนินงาน บริษัทจำลอง เจ็ดลิน ล้านนา 2008 Victory
www.abac.edu
https://km.li.mahidol.ac.th/business-model-canvas/
หนังสือพิมพ์ธุรกิจต่างๆ เช่น ประชาชาติธุรกิจ ผู้จัดการ ฐานเศรษฐกิจ ฯลฯ
วารสาร นิตยสาร บทความหรืองานวิจัยต่างๆทางการตลาด และเว็บไซต์ทางธุรกิจ
 
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่าน Facebook เพื่อเก็บข้อมูลความพึงพอใจและปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงานของพนักงาน  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา

 
 
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาประจำคณะฯ  เพื่อตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบจากการนำเสนอผลการทำงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์ที่ปรึกษาที่เกี่ยวข้องกับโครงการอย่างต่อเนื่อง