การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์

Electronics Circuits Design

ผลิตวิศวกรปฏิบัติการระดับปริญญาตรี ที่มีความรู้ความสามารถในการออกแบบวงจรพื้นฐานทางวิศวกรรม ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ตามหลักวิชาการทางด้านพื้นฐานการออกแบบวงจร เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในงานด้านวิศวกรรมในสภาพปัจจุบัน
1.) เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้วิธีการคำนวณการออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์และฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมในการออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์
2.) เพื่อศึกษาการออกแบบวงจรไดโอด, ทรานซิสเตอร์ และมอสเฟต
3.) เพื่อศึกษาการออกแบบวงจรแหล่งจ่ายไฟ
4.) เพื่อศึกษาการออกแบบวงจรออมแอมป์
5.) เพื่อศึกษาการออกแบบวงจรขยายสัญญาณ
6.) เพื่อศึกษาการออกแบบวงจรกำเนิดความถี่
7.) เพื่อศึกษาการออกแบบวงจรกรองความถี่
8.) เพื่อศึกษาการออกแบบวงจรทรานซิสเตอร์สวิตช์
9.) เพื่อศึกษาการออกแบบวงจรมัลติไวเบรเตอร์
10.) เมื่อนักศึกษาเรียนรู้วิธีการออกแบบเบื้องต้นของวงจรอิเล็กทรอนิกส์แล้ว นักศึกษาจะต้องมีโครงงานย่อย 1 งาน ต่อ 1 กลุ่ม (จำนวนนักศึกษาแล้วแต่ความเหมาะสม)
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการออกแบบวงจรแหล่งจ่ายไฟ, วงจรออปแอมป์, วงจรขยายสัญญาณ, วงจรกำเนิดความถี่, วงจรกรองกรองความถี่, วงจรทรานซิสเตอร์สวิตช์, วงจรมัลติไวเบรเตอร์, โครงงานย่อ
Study and practice on designing power supply circuits, op-amp circuits, amplifier circuits, frequency generator circuits, filter frequencies circuits, transistor switching, multi-vibrator circuit, sub-project.
1.) อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษา ที่บอร์ดหน้าห้องพัก
2.) อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.) มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคมเคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.) สอดแทรกในการบรรยาย
2.) การเข้าเรียนตรงเวลา ส่งงานที่มอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.) พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
2.) ปริมาณการทุจริตในการสอบ
3.) ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
1.) มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
2.) มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
บรรยาย ซักถาม และการฝึกปฏิบัติ
การทดสอบย่อย การสอบกลางภาค และปลายภาค รวมไปถึงตรวจสอบกระบวนการคิดจากโจทย์การบ้านและผลของงานที่มอบหมาย
1.) มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
2.) สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.) สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
บรรยาย อภิปรายกลุ่ม ซักถามจากกรณีตัวอย่างโจทย์
1.) สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการคำนวณ การวิเคราะห์ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
2.) ตรวจสอบกระบวนการคิดของนักศึกษาจากการทำข้อสอบ หรือปัญหาการบ้าน
1.) รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
บรรยาย และซักถาม การฝึกปฏิบัติ
การทดสอบย่อย การสอบกลางภาค และปลายภาค รวมไปถึงตรวจสอบกระบวนการคิดจากโจทย์การบ้านและผลของงานที่มอบหมาย
1.) มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
2.) มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
3.) สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
บรรยาย ซักถาม และการฝึกปฏิบัติ
การทดสอบย่อย การสอบกลางภาค และปลายภาค รวมไปถึงตรวจสอบกระบวนการคิดจากโจทย์การบ้านและผลของงานที่มอบหมาย
1.) มีความรู้ ความชำนาญในการใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบควบคุมอัติโนมัติพื้นฐานได้เป็นอย่างดี
2.) สามารถออกแบบวงจร วิเคราะห์ปัญหา และประยุกต์ความรู้เพื่อทำงานทางวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบควบคุมอัติโนมัติได้ดี
บรรยาย ซักถาม และการฝึกปฏิบัติ
การทดสอบย่อย การสอบกลางภาค และปลายภาค รวมไปถึงตรวจสอบกระบวนการคิดจากโจทย์การบ้านและผลของงานที่มอบหมาย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย 1. คุณธรรม จริยธรรม
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 2 1 1 3 5 4 1 2 5 2 1 2
1 ENGEL109 การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม โดยการสังเกต ทุกครั้ง 10%
2 ทักษะพิสัย/ความรู้ ตรวจสอบจากการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการอิเล็กทรอนิกส์ ทุกครั้ง 25%
3 ทักษะทางปัญญา การสอบ สอบกลางภาคและปลายภาค 50%
4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความรับผิดชอบ/ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ตรวจสอบรายงานกลุ่มและการจดบันทึกการทดลองในห้องปฏิบัติการอิเล็กทรอนิกส์ 16-17 15%
1.) “พื้นฐานการออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์”, ธนันต์ ศรีสกุล, พิมพ์ครั้งที่ 1 : วิตตี้กรุ๊ป กรุงเทพฯ, 2550.
2.) “การวิเคราะห์วงจรและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรกรม PSpice”, ธนันต์ ศรีสกุล, พิมพ์ครั้งที่ 1 : วิตตี้กรุ๊ป กรุงเทพฯ, 2550.
3.) “เรียนรู้การใช้งาน OrCAD : PSpice & PCB Design”, ทีมงานสมาร์ทเลิร์นนิ่ง, พิมพ์ครั้งที่ 1 : สมาร์ทเลิร์นนิ่ง กรุงเทพฯ, 2551.
1.) ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน
2.) แหล่งข้อมูลสืบค้นบน Internet
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชาโดยผ่านเว็บของสำนักทะเบียนและประมวลผล
1.) ผลการเรียนของนักศึกษา ผลการสอบ
2.) การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
1.) สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
2.) การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1) การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2) มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1) ปรับปรุงรายวิชาทุก 4 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2) เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ