เตรียมสหกิจศึกษาและการฝึกงานทางบริหารธุรกิจ

Pre Co-operative Education and Job Internship in Business Administration

: เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ  ดังนี้
1.1 สามารถเลือกสถานประกอบการเพื่อฝึกงานได้
1.2 มีบุคลิกภาพ มารยาทในสังคม มนุษย์สัมพันธ์ รู้จักกาลเทศะ มีความมั่นใจในตนเอง
1.3 สามารถเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล เขียนรายงานและนำเสนอได้
1.4 มีทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพ
2.1 เพื่อเตรียมความพร้อมแก่นักศึกษาที่สนใจเลือกแผนการเรียนสหกิจศึกษา ให้สามารถ
     สมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรปรับปรุงใหม่ ปี พ.ศ.2555
2.2 เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของคณะบริหารธุรกิจ ที่ต้องการผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับ
     ความต้องการของตลาดแรงงานและสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม
 
ศึกษาและฝึกทักษะการปฏิบัติเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา หรือการฝึกงานทางบริหารธุรกิจ โดยมุ่งเน้นฝึกทักษะในด้านความรู้เกี่ยวกับงานสหกิจศึกษาหรือการฝึกงานทางบริหารธุรกิจ เริ่มตั้งแต่การเลือกสถานประกอบการที่เหมาะสม การเขียนจดหมายสมัครงานและเทคนิคการสัมภาษณ์งาน การพัฒนาบุคลิกภาพ มารยาทสังคม จริยธรรมวิชาชีพ ทักษะพื้นฐานสำหรับผู้ปฏิบัติงาน การเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล อธิบายและสรุปผลการศึกษา โดยสามารถเขียนและนำเสนอผลงานได้ ตลอดจนเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร อาชีวอนามัย มาตรฐานและความปลอดภัยในสถานประกอบการ  กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานและสถานประกอบการ ทักษะ ด้านการสื่อสาร ทักษะในการทำงานเป็นทีม การปรับตัวเข้ากับสังคมการทำงาน ด้านบุคลิกภาพและมารยาท ด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ
อาจารย์ผู้สอนกำหนดวัน เวลา ในการให้คำปรึกษา (Office Hour) สัปดาห์ละ 6 ชั่วโมง (2) ชั่วโมง และประกาศให้ผู้เรียนทราบ นอกจากนั้น ยังอนุญาตให้นักศึกษาติดต่อผ่านโทรศัพท์ และ e-mail ด้วย โดยบอกหมายเลขโทรศัพท์ และ e-mail address ส่วนตัวให้ทราบ
 
1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม (Ethics and Moral)
1.1 มีวินัยและความรับผิดชอบต่อหน้าที่  ตรงต่อเวลา มีความมุ่งมั่นในการทำงานให้สำเร็จ
1.2 มีน้ำใจ มีจิตอาสา   จิตสาธารณะ   เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม  และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
1.3 มีความพอเพียง 
1.4 มีความซื่อสัตย์  กตัญญู เที่ยงธรรม อ่อนน้อมถ่อมตน รู้จักกาลเทศะ ใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
1.5 มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพและปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับขององค์กรและสังคม
 
 
อาจารย์ประพฤติตนเป็นตัวอย่าง
บรรยายสอดแทรกคุณธรรม
มอบหมายงาน
กิจกรรมกลุ่ม
สังเกตพฤติกรรม
2. ความรู้
- มีความรู้ในหลักการ และทฤษฎี ความสำคัญ องค์ประกอบของสหกิจศึกษา ประวัติความเป็นมา การฝึกงานในสถานประกอบการ การเตรียมตัว การเตรียมความพร้อม  การติดต่อสถานประกอบการ การเตรียมหัวข้อโครงงาน การเขียนโครงงาน  
บรรยาย
ร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็น
ฝึกตอบปัญหาและแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
3) ด้านทักษะทางปัญญา  (Cognitive Skills)
3.1เป็นผู้ใฝ่รู้ และมีความ สามารถในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
3.2 สามารถคิด  วิเคราะห์  และตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลได้   มีวิสัยทัศน์  และความคิดสร้างสรรค์     
3.3 นำความรู้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
3.4 สามารถค้นคว้าข้อเท็จจริง สรุปทำความเข้าใจได้
3.5 สามารถวิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางแก้ไข
บรรยาย
ร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็น
ฝึกตอบปัญหาและแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
สังเกตการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
 
4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (Interpersonal Skills and Responsibility)
4.1  มีความสามารถในการทำงานเป็นทีม  ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
4.2  ตระหนักถึงสิทธิของตนเองและผู้อื่น และยอมรับในความแตกต่างหลากหลายของมนุษย์
4.3 มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่น วางตัวและแสดงความคิดเห็นได้เหมาะสมกับบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ
4.4 สามารถวางแผนและรับผิดชอบการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 
 
กิจกรรม
งานกลุ่ม
กำหนดความรับผิดชอบ
ทำรายงาน
 
การนำเสนอผลงาน
สังเกตพฤติกรรม
การส่งรายงาน
5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร  และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  (Numerical  Analysis, Communication  and Information Technology Skills)
5.1 สามารถใช้ภาษาในการติดต่อสื่อความหมายได้ดี ทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน
5.2 สามารถวิเคราะห์เชิงตัวเลขระบุเทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์มาใช้ในการวิเคราะห์ แปลความหมายได้
5.3 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร  ศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์และคัดเลือกข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
5.4 สรุปประเด็นและสื่อสารทั้งการเขียน การพูด รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมมีประสิทธิภาพ
ใช้ Power point  
มีการนำเสนอข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูล
การมอบหมายงานด้วยการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
การนำเสนองานโดยการบรรยาย
การใช้ภาษาในการเขียนรายงาน
การใช้สื่ออิเลคทรอนิกส์นำเสนอผลงาน
 
 
6 ด้านทักษะปฏิบัติ (Psychomotor Skill)
6.1 มีทักษะปฏิบัติ และสามารถแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานตามสภาพจริง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม คุณธรรม จริยธรรม 1-15 10%
2 คุณธรรม จริยธรรม การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน 1-15 1-15
3 ความรู้ การทดสอบย่อย 5 ครั้ง 1-15 10%
4 ความรู้ การสอบกลางภาค 9 20%
5 ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การนำเสนองาน/การรายงาน 4-16 30%
6 ความรู้ การสอบปลายภาค 17 20 %
1.1 การพัฒนาบุคลิกภาพ
1) พิมลพรรณ  เชื้อบางแก้ว. 2549. การพัฒนาบุคลิกภาพ Personality development ; มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. พิมพ์ครั้งที่ 6 – กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย.
2) อัจฉรา นวจินดา. 2542.ศิลปะการดำเนินชีวิต (Art of Living). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3
1.2 การสัมภาษณ์งาน
1) คมกฤช  ชนะศรี. 2549. คู่มือการสมัครงานของนักศึกษา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, สงขลา
2) วีระวัฒน์  ปันนิตานัย. 2544. คู่มือการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง : จากหลักวิธีสู่แนวปฏิบัติที่ดี. กรุงเทพมหานคร. เอช อาร์ เซ็นเตอร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. หน้า 281.
1.3 มาตรฐานความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม
1) สายงานพัฒนาระบบประกันคุณภาพ. 2549. Shopping List : ความเสี่ยง/ปัจจัยเสี่ยงและมาตรการควบคุม/วิธีการจัดการความเสี่ยง. ส่วนประกันคุณภาพ สำนักบริหารวิชาการ.
2) สิริวันร่มฉัตรทอง. มปป. มาตรฐานความปลอดภัยสู่ ISO 26000. สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย.
1.4 กฎหมายเกี่ยวกับแรงงาน
เกษมสันต์  วิลาวรรณ. 2550. กฎหมายแรงงานกับการบริหารบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : วิญญชน.
1.5 การวิเคราะห์ข้อมูล
1) พรเพ็ญ  เพชรสุขศิริ. 2540. สถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัยทางการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ : คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. 169  หน้า.
2) ศิริชัย  พงษ์วิชัย. 2551. การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์ : เน้นสำหรับงานวิจัย. ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
3) สุภางค์  จันทวานิช. 2551. การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 8 กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 177 หน้า.
1.6 การปฏิบัติงานสำนักงาน
1) จุรีรัตน์  คำนวณสิน. มปป. การปฏิบัติงานสำนักงาน. 123 หน้า.
2.1 กรมวิชาการ 2544 สมบัติผู้ดี กระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพฯ พิมพ์ครั้งที่ 30
2.2 สมศรี สุกุมลนันท์ มปป. มารยาทสังคม บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด กรุงเทพฯ
2.3 ทองสุข มันตากร 2552 ศิลปะการวางตนของคนทำงาน บริษัทเพ็ญพรินติ้ง จำกัด จังหวัดขอนแก่น
3.1 คู่มือโครงการสหกิจศึกษาและฝึกงานทางวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก
3.2 วารสารสหกิจศึกษา
3.3 website ต่างๆ
http://www.jeedzlife.com/web/content/0002/interview/interview.html
http://www.jobnorththailand.com/leaning/StatJob/startjob.html
http://www.jobkhonkaen.com/forum/posting.php
http://www.sut.ac.th/mew/text09.html
http://mail.chiangmai.ac.th/~cnxcmces/CIC/30001.html
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ทั้งด้านวิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและห้องนอกเรียน       สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงรายวิชา ด้วยระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัย
หลักสูตร/ภาควิชา/คณะกำหนดให้มีการประเมินการสอนโดยคณะกรรมการประเมินการสอนที่แต่งตั้งโดย.....จากการสังเกตการณ์สอน การสัมภาษณ์นักศึกษา
หลักสูตร/ภาควิชา/คณะกำหนดให้ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลรายวิชา แล้วจัดทำรายงานรายวิชาตามที่ สกอ.กำหนด ทุกภาคการศึกษา ให้ผู้สอนเข้ารับการอบรมกลยุทธ์การสอน การวิเคราะห์ผู้เรียน  การวิจัยในชั้นเรียน ในรายวิชาที่มีปัญหาอย่างน้อยภาคการศึกษาละ 1 รายวิชา  มีการประชุมผู้สอนเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและหาแนวทางแก้ไข
หลักสูตร/ภาควิชา/คณะกำหนดให้มีคณะกรรมการประเมินข้อสอบ และความเหมาะสมของการให้คะแนน ทั้งคะแนนดิบและระดับคะแนน โดยการสุ่มรายวิชา 60 % ของรายวิชาทั้งหมดในหลักสูตรหรือภาควิชาภายในรอบเวลาหลักสูตร
หลักสูตร/ภาควิชา/คณะจัดให้มีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา คณะกรรมการประเมินของหลักสูตร/ภาควิชา การรายงานรายวิชาหลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา การทบทวนเนื้อหาที่สอน กลยุทธ์การสอน และเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนารายวิชาเสนอต่อประธานหลักสูตรหรือหัวหน้าภาค เสนอต่อกรรมการประจำคณะพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปเพื่อวางแผนปรับปรุงในปีการศึกษาต่อไป