การจัดการของเสียจากสัตว์

Animal Waste Management

1.1 รู้คุณสมบัติของเสียจากสัตว์และผลกระทบของของเสียจากสัตว์ต่อสิ่งแวดล้อม 1.2  เข้าใจการจัดการและการนำของเสียจากสัตว์มาใช้ประโยชน์ 1.3 เข้าใจการผลิตแก๊สชีวภาพจากมูลสัตว์
1.4 มีจิตสำนึกในการรักษาสภาพแวดล้อมและรับผิดชอบสังคม
เพื่อจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษามีความรู้ ความสามารถในการบูรณาการความรู้ทางทฤษฎีนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติด้านการเลี้ยงสัตว์  มีการพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อให้ทันสมัยสอดคล้องกับเหตุการณ์ สภาพการผลิตสัตว์ ณ ปัจจุบัน  และเพื่อให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับคุณสมบัติของของเสียจากสัตว์  มลภาวะจากของเสียจากสัตว์และแนวทางในการแก้ไข  การจัดการ และการนำของเสียมาใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ  การผลิตพลังงานทดแทนจากของเสียจากสัตว์   ปัญหาที่เกิดจากของเสียจากสัตว์ และแนวทางในการแก้ไข  การลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
-   จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) โดยเฉพาะในวันพุธ เวลา 15.00 – 16.00 น. ณ ห้องปฏิบัตืการกายวิภาคและสรีรวิยาของสัตว์เลี้ยง เบอร์มือถือ 08-9953-2245
-    นักศึกษาสามารถติดต่อได้ทาง e-mail address : wchaine@yahoo.com
1. มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 2. มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 3. มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม 4. เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
- สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน หรือยกตัวอย่างเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันประกอบในขณะสอนเนื้อหา
- นักศึกษาต้องไม่ทุจริตในการสอบ หรือการลอกการบ้าน หรืองานของผู้อื่น
- กำหนดหลักเกณฑ์หรือแนวปฏิบัติให้นักศึกษาต้องถือปฏิบัติในการเรียนรายวิชานี้ เช่น การตรงเวลา การมีวินัยในห้องเรียน รับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
- จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม และเสียสละ เป็นต้น
- การนำข้อความจากแหล่งความรู้ต่างๆมาทำรายงานนั้นต้องมีการอ้างอิงเพื่อให้เกียรติแก่เจ้าของความคิด
1. บันทึกการกระทำทุจริตในการสอบ หรือการลอกการบ้านหรือการมีส่วนรวมทำงานที่มอบหมายในกลุ่ม
2. การใช้บันทึกการเข้าชั้นเรียน และการส่งงาน ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของนักศึกษาเข้าเรียนตรงเวลา ส่งงานตามกำหนด และปฏิบัติตามแนวปฏิบัติที่อาจารย์กำหนด
3. ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรร้อยละ 80 ของนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
4. การประเมินผลงาน (เอกสารรายงาน) ผู้สอนตรวจผลงานที่เป็นเอกสารรายงานของผู้เรียน ว่ามีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงานอย่างถูกต้อง และเหมาะสม มีการคัดลอกรายงานของนักศึกษาผู้อื่น
1. มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
3. สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- บรรยายประกอบสื่อการสอน
- การอภิปรายกลุ่ม โดยการกำหนดหัวข้อที่นักศึกษาสนใจ ค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตนเอง และนำเสนอรายงาน
- มอบหมายให้อ่านข้อมูลทางสื่อไร้สาย หรือวารสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสียจากสัตว์
1. การทดสอบย่อยแต่ละหน่วยเรียน 2. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน 3. ประเมินจากรายงานที่มอบหมาย
1. มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 2. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
- มอบหมายหัวข้อรายงาน และให้นำเสนอพร้อมอภิปรายกรณีศึกษาร่วมกันโดยให้นักศึกษามีกระบวนการคิด วิเคราะห์ การวางแผน และการจัดการ ให้เชื่อมโยงกับหลักการหรือปฏิบัติ
- การสังเกตพฤติกรรม ผู้สอนสังเกตพฤติกรรมและประเมินจากคำตอบ และข้อคิดเห็น
- ข้อสอบ โดยการทดสอบจากข้อสอบที่เป็นข้อสอบซึ่งต้องให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์ และแก้ปัญหา  
   ตลอดจนนำหลักการและทฤษฎีไปอธิบายได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
- การประเมินผลงาน ผู้สอนประเมินจากเอกสารรายงาน และการนำเสนอ
1. มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 2. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4. สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
- การอภิปรายกลุ่ม โดยการกำหนดหัวข้อที่เป็นประเด็นการผลิตสัตว์ที่กระทบต่อสังคม มอบหมายงานให้นักศึกษาทำเป็นกลุ่ม และนำเสนอรายงาน
- การประเมินผลงาน ผู้สอนประเมินจากเอกสารรายงาน และการนำเสนอว่าสามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคม
- การประเมินโดยเพื่อนร่วมกลุ่มงานและหรือเพื่อนร่วมชั้นเรียน เพื่อนประเมินผลงานที่เป็นรายงาน และหรือ การปฏิบัติ พฤติกรรมของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
- สังเกตพฤติกรรมจากการทำงานกลุ่ม  ผู้สอนสังเกตพฤติกรรมจากมี มนุษยสัมพันธ์ มารยาทสังคมที่ดี แสดงออกถึงความเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
1. สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 2. สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 3. สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ให้นักศึกษาสืบค้น โดยการกำหนดหัวข้อที่นักศึกษาสนใจ ค้นคว้าเพิ่มเติม และจัดทำรายงาน
- การนำเสนอรายงาน ให้นักศึกษานำเสนอโดยเลือกใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือที่เหมาะสม
- การประเมินผลงานรายบุคคล (เอกสารรายงาน) ผู้สอนตรวจผลงานที่เป็นเอกสารรายงานของผู้เรียน
- ประเมินจากการนำเสนอในชั้นเรียนโดยเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา(Ethics and Moral) 2. ด้านความรู้ที่ต้องได้รับ(Knowledge) 3. ด้านทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา(Cognitive Skills) 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา(Interpersonal Skills and Responsibility) 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม 1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา 2.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 3.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ 4.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 4.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม 5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่าง เหมาะสม 5.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1 23024312 การจัดการของเสียจากสัตว์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.1, 1.1.2, 1.1.3, 1.1.4, 2.1.2,2.1.3, 3.1.1, 3.1.2, 4.1.1, 4.1.2, 4.1.3, 4.1.4 5.1.1, 5.1.2, 5.1.3 ผลงาน /รายงาน/การทำงานกลุ่ม/การศึกษาอิสระ/งานในห้องปฏิบัติการ ทุกสัปดาห์ 30%
2 1.1.3, 1.1.4, 2.1.1, 2.1.3 3.1.1, 3.1.2, 4.1.1, 4.1.2, 4.1.3, 5.1.1, 5.1.2, 5.1.3 นำเสนองานเป็นกลุ่มโดยนักศึกษา พฤติกรรมต่างๆ เช่น การร่วมอภิปราย การตอบคำถาม เป็นต้น 2 10%
3 1.1.2, 1.1.3, 1.1.4, 4.1.1, 4.1.2, 4.1.3, 5.1.3 การส่งงาน การเข้าชั้นเรียน ความรับผิดชอบ คุณธรรม และจริยธรรม ทุกสัปดาห์ 10%
4 1.1.1, 2.1.1, 2.1.2, 2.1.3, 3.1.1, 3.1.2 ทดสอบแต่ละหน่วยเรียน หรือสอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 18 50%
เกรียงศักดิ์ อุดมสินโรจน์.2539. การบำบัดน้ำเสีย มิตรนราการพิมพ์ กรุงเทพมหานคร, 442 หน้า 
กรรณิการ์ สิริสิงห ,2549.เคมีของน้ำ น้ำโสโครกและการวิเคราะห์ พิมพ์ครั้งที่ 4คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพมหานคร ,377 หน้า
ธีระ เกรอต,2539.วิศวกรรมน้ำเสีย การบำบัดทางชีวภาพ สำนักพิมพ์จุฬาลงกณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร, 606 หน้า
ธวัชชัย  ศุภดิษฐ์ . 2550. การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในภาคปศุสัตว์.ทิพเนตร์การพิมพ์.กรุงเทพมหานคร.779 หน้า
 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์,2545 .คู่มือวิเคราะห์น้ำและน้ำเสีย กรุงเทพมหานคร, 243 หน้า
สันทัด ศิริอนันต์ไพบูลย์ ,2549.ระบบบำบัดน้ำเสีย ,สำนักพิมพ์ท้อป,กรุงเทพมหานคร,544 หน้า
อรไท สุขเจริญ ,2547,ระบบกำจัดของเสีย สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพมหานคร,
228 หน้า
การประเมินประสิทธิผลรายวิชาโดยนักศึกษา ดำเนินการดังนี้
-แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชาที่จัดทำโดยมหาวิทยาลัย
-การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการจัดการเรียนการสอนระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
-ผลการทดสอบ
-สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
-การวิจัยในชั้นเรียน
-ทวนจากคะแนนสอบ และรายงาน
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชาได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น