การฝึกงานทางวิชาชีพ

Job Internship

เพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ความรู้ทางด้านการบัญชีและด้านอื่นๆที่ได้ศึกษามาในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการจริง เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้การทำงานด้านการบัญชีและด้านอื่นๆรวมทั้งการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในการทำงาน เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กร และมีวินัยในการปฏิบัติตนตามข้อบังคับการปฏิบัติงานในฐานะพนักงานของสถานประกอบการจริง

 เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพบัญชี
3.1 เพื่อให้อาจารย์นิเทศ พนักงานที่ปรึกษาและนักศึกษาเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของการฝึกงานทางวิชาชีพจริงและมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่คาดหวังอย่างชัดเจน
3.2  เพื่อให้อาจารย์นิเทศ พนักงานที่ปรึกษาและนักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผลกระบวนการ การฝึกงานทางวิชาชีพอย่างเหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนารายวิชา
เน้นการปฏิบัติงานทางด้านวิชาชีพบัญชีในองค์กรต่างๆ เช่น นิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจด้านวิชาชีพบัญชีองค์กรในประเทศหรือหน่วยงานของรัฐนักศึกษาจะเข้าฝึกปฏิบัติงานเต็มเวลาในหน่วยงานนั้นโดยมีพนักงาน ที่ปรึกษาที่องค์กรมอบหมายให้ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติงานของนักศึกษา มีการกำหนดลักษณะงานแผนการปฏิบัติงานให้นักศึกษาทราบเพื่อการประเมินผลการศึกษา 
-
มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ มีวินัยในตนเองและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบขององค์กรที่เข้ารับการฝึกงานได้ สามารถปรับตัวให้เข้ากับงานที่ได้รับมอบหมายและผู้ร่วมงาน

 1.1.4   มีจิตสำนึก และปฏิบัติตนเองที่คำนงถึงประโยชน์ส่วนรวมมกกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
1.2.1  จัดการปฐมนิเทศนักศึกษาก่อนการออกฝึกปฏิบัติงาน เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ และตลอดจนมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ (1.1.1)

จัดทำแผนปฏิบัติงานโดยการกำหนดภาระงาน ขอบเขตของงาน ตารางวลาปฏิบัติงานและการบันทึกเวลาปฏิบัติงาน (1.1.2) จัดทำคู่มือการฝึกงานวิชาชีพเพื่อให้นักศึกษาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ (1.1.2, 1.1.3) ประสานงานการควบคุมการฝึกงานวิชาชีพระหว่างผู้รับผิดชอบรายวิชา อาจารย์นิเทศและพี่เลี้ยงซึ่งแต่งตั้งโดยสถานประกอบการ

จัดให้มีอาจารย์นิเทศก์ประจำตัวนักศึกษา
1.3.1   ประเมินการปฏิบัติงานของนักศึกษาโดย พี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศ  ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
1.3.2   ประเมินตนเองโดยนักศึกษา ด้านทัศนคติต่อวิชาชีพ การพัฒนาตนเองด้านคุณธรรมจริยธรรม
มีความรู้และความเข้าใจแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางบัญชี มีความรู้และความเข้าใจองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์

สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
      2.2.1 กำหนดสถานประกอบการณ์สำหรับการฝึกต้องเป็นสำนักงานทำบัญชี รับทำบัญชี และหรือต้องฝึกในหน่วยงาน/ฝ่าย/ส่วนงานด้านบัญชีเท่านั้น

ทำความเข้าใจกับสถานประกอบการถึงจุดมุ่งหมายของการฝึกงานทางวิชาชีพจริงและมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่คาดหวังอย่างชัดเจน ประสานงานกับสถานประกอบการในการมอบหมายงานและความรับผิดชอบให้กับนักศึกษาให้ตรงกับจุดมุ่งหมายของการพัฒนาความรู้และทักษาวิชาชีพ

ทำการทดสอบความรู้หลังจากการฝึกงานเสร็จสิ้น
2.3.1 ประเมินการปฏิบัติงานของนักศึกษาจากพี่เลี้ยง
2.3.2 ประเมินการปฏิบัติงานของนักศึกษาระหว่างการฝึกงานจากอาจารย์นิเทศและ
2.3.3 ประเมินตนเองโดยนักศึกษาด้าน ทัศนคติต่อวิชาชีพ การพัฒนาตนเองด้านความรู้
2.3.4 ประเมินจากการนำเสนอรายงานของนักศึกษาหลังจากการฝึกประสบการณ์เสร็จสิ้น
สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง  สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กันใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหารวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนิผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ

 สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
2 กระบวนการหรือกิจกรรมต่างๆ ที่ใช้ในพัฒนาผลการเรียนรู้
     3.2.1  มอบหมายให้นักศึกษาจัดทำรายงาน สรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานทางวิชาชีพซึ่งได้รับจากการฝึกงานทางวิชาชีพ
             3.2.2   ให้นักศึกษาจัดทำบันทึกการปฏิบัติงานประจำวันโดยมีรายละเอียดดังนี้
                        1) งานที่ได้รับมอบหมายสอดคล้องกับรายวิชาใดที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
                        2) งานที่ได้รับมอบหมายเป็นงานที่ยังไม่ได้เรียนรู้จากสถานศึกษาแต่เป็นการเรียนรู้เพิ่มเติมหรือเป็นความรู้ใหม่ที่ได้รับจากสถานประกอบการ
                        3) ปัญหาที่เกิดจากการทำงาน
                        4) แนวทางที่ใช้ในการแก้ปัญหา
3.3 วิธีการประเมินผลการเรียนรู้
3.3.1 ประเมินการปฏิบัติงานของนักศึกษาจากพี่เลี้ยง
3.3.2 ประเมินการปฏิบัติงานของนักศึกษาระหว่างการฝึกงานจากอาจารย์นิเทศและ
3.3.3 ประเมินตนเองโดยนักศึกษาด้าน ทัศนคติต่อวิชาชีพ การพัฒนาตนเองด้านความรู้
3.3.4 ประเมินจากการนำเสนอรายงานของนักศึกษาหลังจากการฝึกประสบการณ์เสร็จสิ้น  
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
 4.1.1   สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
 4.1.2   มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี
            4.1.3   สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆทั้งในบทบาทของผู้นำหรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมงาน
            4.1.4   มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามรรถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
4.2.1  จัดปฐมนิเทศนักศึกษาเพื่อสร้างความเข้าใจให้ตรงกันเกี่ยวกับการฝึกงานวิชาชีพ(วัตถุประสงค์ จุดมุ่งหมายในการพัฒนาคุณลักษณะทีดีของนักวิชาชีพบัญชีและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา
5.1.1 มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
5.1.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการ นำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน
5.1.3 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวม ข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ
5.2.1 มอบหมายให้นักศึกษาจัดทำรายงาน สรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานทางวิชาชีพซึ่งได้รับจากการฝึกงานทางวิชาชีพ
5.2.2 ให้มีการนำเสนอรายงานด้วยวาจาโดยมีการใช้เทคโนโลยีและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสม
คุณภาพของรายงาน และการนำเสนอ ประเมินโดยอาจารย์
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 4 2 3 1
1 BACAC137 การฝึกงานทางวิชาชีพ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ความรับผิดชอบของอาจารย์ผู้รับผิดชอบประสบการณ์ภาคสนามต่อการประเมินนักศึกษา ประเมินผลนักศึกษาหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานตามแบการประเมินโดยพิจารณาจาก 1. ผลการประเมินจากพนักงานพี่เลี้ยงฯ 2. บันทึกผลการนิเทศของอาจารย์นิเทศ 3. รายงานโครงงานหรือรายงานผลการปฏิบัติงาน การสรุปผลการประเมินที่แตกต่าง อาจารย์ผู้รับผิดชอบการฝึกงานวิชาชีพ อาจารย์นิเทศและหัวหน้าสาขาประชุมร่วมกันพื่อทำความเข้าใจในผลการประเมินหากเกิดความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา 1. ประเมินโดยพนักงานที่ปรึกษา/พี่เลี้ยงสถานประกอบการ (โดยใช้เกณฑ์ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของการฝึกงานทางวิชาชีพ ) 50 คะแนน 2. ประเมินโดยอาจารย์นิเทศนักศึกษา 20 คะแนน 3. ประเมินจากรายงานผลการฝึกงาน 30 คะแนน รวม 100 คะแนน การประเมินผลนักศึกษาให้ค่าระดับคะแนนเป็น ค่าคะแนนประเมิน มากกว่า 70 คะแนน พ.จ. หรือ S-พอใจ(Satisfactory) ค่าคะแนนประเมิน ต่ำกว่า 70 คะแนน ม.จ. หรือ U-ไม่พอใจ(Unsatisfactory) 17 100%
สมุดบันทึกการปฏิบัติการฝึกงานประจำตัว
สมุดบันทึกการปฏิบัติการฝึกงานประจำตัว
สมุดบันทึกการปฏิบัติการฝึกงานประจำตัว
    1.1 นักศึกษา
          นักศึกษามีส่วนร่วมในการประเมินการฝึกงานวิชาชีพโดยการตอบแบบสอบถามการฝึกงานวิชาชีพ
    1.2 พนักงานที่ปรึกษาหรือผู้ประกอบการ
          มีส่วนร่วมในการประเมินการฝึกงานวิชาชีพในด้านความเหมาะสมของระยะเวลาในการฝึกงาน คุณลักษณะที่เหมาะสมของนักศึกษาจากการฝึกงานในสถานประกอบการ
   1.3 อาจารย์ที่ดูแลกิจกรรมภาคสนาม
          ประเมินการฝึกงานวิชาชีพโดยใช้แบบสอบถามจากบัณฑิตว่าได้ใช้ประสบการณ์จากการฝึกงานวิชาชีพให้เป็นประโยชน์ในการทำงานจริงมากน้อยเพียงใด และวัดผลความรู้หลังจากการออกฝึกงานเสร็จสิ้น
   1.4 อื่น ๆ เช่น บัณฑิตจบใหม่
          ติดตามความความก้าวหน้าในการทำงานของบัณฑิตที่ตรงตามสาขาวิชา โดยการสำรวจสอบถามจากผู้ประกอบการและบัณฑิต
   อาจารย์นิเทศก์นักศึกษาประมวลผลการฝึกงานวิชาชีพจากผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากนักศึกษาและจากพนักงานพี่เลี้ยงจัดทำรายงานสรุปผล
นักศึกษาสามารถปฏิบัติงานในทุกๆ ด้านตามที่พี่เลี้ยงในสถานประกอบการสอนได้เป็นอย่างดี
นำผลประเมินการลงพื้นที่มาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการ   ปรับปรุงวิธีการสอนให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการต่อไปในอนาคต