การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขั้นสูง

Advance Computer Programming

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสื่อสารของอินเตอร์เน็ต โครงสร้างการทำงานและการเขียนโปรแกรมของเว็บเซิร์ฟเวอร์ และเว็บไคลแอนท์ การบันทึกข้อมูลผ่านฟอร์ม การเชื่อมต่อกับโปรแกรมบนเซิร์ฟเวอร์ การพัฒนาโปรแกรมเชื่อมต่อฐานข้อมูลเพื่อเผยแพร่สารสนเทศ โปรแกรมและเครื่องมือสำหรับการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ และการประยุกต์ในงานสารสนเทศ เป็นนักเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญญาในการนำความรู้ ความเข้าใจ ในการเขียนโปรแกรมของเว็บเซิร์ฟเวอร์และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับแนวคิด วิธีการ และเทคนิคการเขียนโปรแกรมแบบต่างๆ เพื่อทำให้โปรแกรมที่เขียนขึ้นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เทคนิคการทดสอบ ตรวจสอบ แก้ไขโปรแกรม การเขียนโปรแกรมเรียกตัวเอง การค้นหาข้อมูล และการเรียงลำดับข้อมูล
1
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟแวร์ และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา มีความซื่อสัตย์ในการประกอบอาชีพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้ 1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต 1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ 1.1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1.1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 1.1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคมมีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2.1 บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเว็บไซต์ 1.2.2 อภิปรายกลุ่ม 1.2.3 กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดบทบาทสมมุติ
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา 1.3.2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม 1.3.3 ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา 1.3.4 ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
2.1.1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ และทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา 2.1.2 สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจ และอธิบายความต้องการ ทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา 2.1.3 สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์ให้ตรงตามข้อกําหนด
บรรยาย อภิปราย การทำงานเดี่ยวและกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา และโครงงาน Problem – based Learning และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี 2.3.2 ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Problem – based Learning
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
3.2.1 การมอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าหาบทความและข้อมูลที่เกี่ยวข้องและนำเสนอผลการศึกษา 3.2.2 วิเคราะห์กรณีศึกษา ในการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในปัจจุบัน
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้ระบบสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่าย 3.3.2 วัดผลจากการประเมินโครงการ การนำเสนอผลงาน 3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน 4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม 4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา 4.2.2 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา 4.2.3 การนำเสนอรายงาน
4.3.1 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
5.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ 5.1.2 ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข 5.1.3 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน 5.1.4 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา 5.1.5 พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต  5.1.6 ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งงานทางอีเมล์ การสร้างห้องแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ เช่น Social Network (Facebook) 5.1.7 ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จาก website และการทำรายงานโดยมาจากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ 5.2.2 นำเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี 5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
6.1.1 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน 6.1.2 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา 6.1.3 พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต 
6.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จาก website และการทำรายงานโดยมาจากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ 6.2.2 นำเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
6.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี 6.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สอบกลางภาคเรียน สอบกลางภาคเรียน 8 30
2 นำเสนองานกลุ่ม วิเคราะห์นำเสนองานกลุ่ม 7 และ 16 30
3 การเข้าชั้นเรียนและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน การเข้าชั้นเรียนและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10
4 สอบปลายภาค สอบปลายภาค 17 30
กิตติ ตรีคุณประภา  และคณะ. (2553). C++ E-Learning. อินเทอร์เน็ตน่ารู้. [Online]. Available :                   http://ba.hcu.ac.th/Elearning/elearn.htm กิฟฟาริน ธุรกิจเสริมออนไลน์. (2553). บทเรียนคอมพิวเตอร์. การเขียนโปรแกรมภาษาซี.                  อินเทอร์เน็ตน่ารู้. [Online]. Available : http://www.no-poor.com/CandDelphi/                 c_slide_02.files/frame.htm ขวัญจิตร สุวรรณวงศ์. (2553). สาระคอมพิวเตอร์. โรงเรียนลำปางกัลยาณี. การเขียนโปรแกรม                  ภาษาซี Torbo++. อินเทอร์เน็ตน่ารู้. [Online]. Available : http://www.lks.ac.th/kuanjit/                 menu_C.htm   จันทร์จิรา สินทนะโยธิน และวิศรุต  พลสิทธิ. ดร. (2550). การเขียนโปรแกรมภาษาซี เบื้องต้น.                 อินเทอร์เน็ตน่ารู้. [Online]. Available : http://www.vcharkarn.com/vlesson/1 ธนกฤต  ขันธวัฒน์. (2553). เรียนรู้การเขียนโปรแกรมภาษาซี. อินเทอร์เน็ตน่ารู้.[Online].                  Available:http://www.rw.ac.th/~kruchon/msc/topic06.html
ธีรวัฒน์  ประกอบผล. รศ. (2550). การเขียนโปรแกรมบนระบบปฏิบัติการเท็กซ์โหมด (ภาษาซี).                  กรุงเทพมหานคร :  ซัคเซส มีเดีย. บุญสืบ  โพธิ์ศรี และชยธร  ฉัตรสุวรรณ. การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 1. กรุงเทพมหานคร :                 กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ส่งเสริมอาชีวะ. โอภาส  เอี่ยมสิริวงศ์. (2552). การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาซี (Programming with C).                   กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ด. ปรัชญา ศิริภูรี. (2553). แผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ. การวิเคราะห์และออกแบบระบบ.                  อินเทอร์เน็ตน่ารู้. [online]. Available : http://itd.htc.ac.th/st_it50/it5016/nidz/Web_C/                 unit6.html   ประภาพร  ช่างไม้. (2551).  คู่มือการเขียนโปรแกรมภาษาซี  ฉบับผู้เริ่มต้น. โอดีซี อินไฟ                  ดิสตริพิวเตอร์ เซ็นเตอร์ จำกัด. กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2553). โครงการพัฒนาเนื้อหาความรู้สำหรับเครือข่ายเพื่อโรงเรียน                 ไทย. [Online]. Available : http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/ มัณฑนา  ปราการสมุทร. (2534). รศ. การเขียนชุดคำสั่งภาษาซี. กรุงเทพมหานคร : ดวงกมลสมัย. มาโนชญ์  แสงศิริ. (2553). สถาบันส่งเสริมการสอนคณิตศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). โครงการ                  ครูที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี (สควค.).                 เครื่องหมายและการดำเนินการในภาษาซี. อินเทอร์เน็ตน่ารู้. [Online]. Available :                  http://www.sangsiri.net/wbi/40208/knows/know9.pdf โรงเรียนจักรคำคณาทร. (2553). เทคโนโลยีสารสนเทศ. ห้องเรียนเครือข่าย (E-Learning). [Online].                  Available : http://www.chakkham.ac.th/technology โรงเรียนทุ่งสง. (2553). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษาซี. อินเทอร์เน็ตน่ารู้.  [Online]. Available :                   http://61.7.214.35/tsscom/teacher/c/webbase/unit3/basic.php โรงเรียนสตรีอ่างทอง. (2551). บทเรียน Online วิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ.                 (E-Learning). [Online].Available : http://www.sa.ac.th/elearning/index32.htm
วรรณวณา  ปัญญาใส. (2553). สือการสอนโปรแกรมภาษาซี. อินเทอร์เน็ตน่ารู้. [Online].                  Available :  http://www.comcn.in.th/elearnning/wanwana/web_c/inputoutput.html สุณี รักษาเกียรติศักดิ์. ผศ. ดร. (2553). Course Directory. Data Structure and Algorithm.                   อินเทอร์เน็ตน่ารู้. [Online]. Available : http://sot.swu.ac.th/CP341/outline.htm หาญ  เพ็ญแสง. (2541). การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 1. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เอมพันธ์. อนิวัฒน์ แก้วห่อทอง. (2553). การเขียนโปรแกรมภาษาซี. อินเทอร์เน็ตน่ารู้. [Online]. Available :                 http://itd.htc.ac.th/st_it51/it5144/npt/work/c/bc7.html
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 1.3 ข้อเสนอแนะผ่าน Social Network ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้ 3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่างๆ