วิจัยธุรกิจ

Business Research

รู้ความสำคัญและขอบเขตการวิจัยธุรกิจ เข้าใจกระบวนการวิจัยธุรกิจ จัดทำโครงการวิจัยธุรกิจ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญญาในการนำความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานในการทำวิจัยธุรกิจ เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ควรมีการเปลี่ยนตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับสถานการณ์
   ศึกษาความสำคัญและขอบเขตของการวิจัยธุรกิจ กระบวนการทำวิจัยธุรกิจ การจัดทำโครงการวิจัยธุรกิจเบื้องต้น โดยครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับ การค้นหาปัญหาวิจัย จุดประสงค์วิจัย การออกแบบวิจัย การเลือกตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการจัดทำรายงานวิจัย ทั้งนี้ให้มีการปฏิบัติงานจริง
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านช่องทางออนไลน์
 - อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1         คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา
1.1.1     มีความซื่อสัตย์สุจริต  ซื่อตรงต่อหน้าที่  ต่อตนเองและต่อผู้อื่น  ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น และมีความสำนึกรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
1.1.2     มีความกตัญญู  ความเสียสละ ความอดทน  ความเพียรพยายาม
1.1.3     มีความพอเพียงเป็นหลักในการดำเนินชีวิต โดยยึดแนวความคิดความพอประมาณ  ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกัน
1.1.4     มีความเคารพต่อกฎ  ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.5     มีจิตสำนึกและมีนโนธรรมที่จะแยกแยะความถูกต้อง  ความดี  และความชั่ว
1.2.1     ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
1.2.2     ให้การยกย่องชมเชยผู้ที่มีความซื่อสัตย์ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี
1.2.3     กำหนดระเบียบลงโทษผู้ทุจริตการสอบ
1.3.1    ประเมินจากเวลาการเข้าชั้นเรียนของนักศึกษาและเวลาการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย
1.3.2    ความเอื้อเฟื้อหรือความมีน้ำใจต่อเพื่อนและครูอาจารย์
2.1         ความรู้ ที่ต้องได้รับ
2.1.1      มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนด้านบริหารธุรกิจ ที่ครอบคลุมทั้ง การบัญชี  นิติศาสตร์  ศิลปะศาสตร์  และวิทยาศาสตร์
2.1.2      มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจ ทางการตลาด  การเงิน  การผลิตและการดำเนินงาน รวมทั้งการจัดองค์กรและทรัพยากรมนุษย์
2.1.3      มีความรู้ความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผนการปฏิบัติการ การควบคุมและการประเมินผลการดำเนินงานรวมทั้งการปรับปรุงแผนงาน
2.1.4      มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
2.2.1    ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
2.3.1    การทดสอบย่อย
2.3.2    การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.3.3    ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา
3.1  ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
3.1.1    มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  ต่อยอดกรอบความรู้เดิม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาและประสบการณ์เพื่อให้เกิดนวัตกรรม  กิจกรรม  หรือแนวทางในการบริหารธุรกิจใหม่ๆ
3.1.2    สามารถสืบค้น  จำแนก  และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้ซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจอย่างเหมาะสม
3.1.3    สามารถคิดค้นทางเลือกใหม่ๆ รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบที่เป็นผลจากทางเลือกอย่างรอบด้าน โดยการนำความรู้และประสบการณ์มาประยุกต์ใช้
3.1.4    มีความกล้าในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์
3.2.1    กำหนดให้นักศึกษาวางแผนการทำงานเป็นทีม
3.2.2    เน้นถึงศาสตร์และศิลป์ รวมถึงรูปแบบในการนำเสนอผลงานและให้นักศึกษาได้มีการนำเสนอผลงานจริง ๆ
3.3.1    ประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบสอบถาม โดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา ซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกตอบที่ถูกมาคำตอบเดียวจากกลุ่มคำตอบที่ให้มา
3.3.2    ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
4.1  ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1.1    มีความสามารถในการประสานงาน มีมนุษยสัมพันธ์และสามารถสร้างสัมพันธภาพอันดีกับผู้อื่นด้วยพื้นฐานความเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีจิตวิทยา
4.1.2    มีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม  การประสานงาน  การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบ
4.1.3    มีความกระตือรือร้นและความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งมีความเป็นผู้ตามในจังหวะที่เหมาะสม
4.1.4  มีความสามารถในการริเริ่มแสดงความคิดเห็นใหม่ๆ ที่อาจมีความแตกต่าง อย่างสร้างสรรค์
4.2.1    มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน
4.3.1    ประเมินจากพฤติกรรมในการทำกิจกรรมระหว่างนักศึกษาในกลุ่ม 
4.3.2    ประเมินจากผลงานของนักศึกษาทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม
5.1  ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข  การสื่อสาร  และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
5.1.1     สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์  สถิติและการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ
5.1.2     สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีสิทธิภาพ
5.1.3     สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน และเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
5.1.4     สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้อง  ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจา
5.1.5     สามารถสื่อสารด้วยบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือ และสามารถเลือกใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการและเทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับกลุ่มบุคคลที่มีพื้นฐานและแนวความคิดที่หลากหลาย
5.1.6     ความสามารถนำเทคโนโลยีไปเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนในการดำเนินงานและทราบถึงข้อจำกัดของเทคโนโลยี
5.1.7     ความสามารถนำเทคโนโลยีการสื่อสารแบบเครือข่าย  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารและดำเนินงาน
5.2.1     ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้
5.2.2     มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.3.1   ประเมินจากการสรุปและอภิปรายงานที่ได้รับมอบหมายร่วมกัน
5.3.2   ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.3.3   ประเมินจากการทดสอบ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะคิดวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 1 2 4 1 2 3 4 5 7
1 12011311 วิจัยธุรกิจ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 - ทดสอบกลางภาค - ทดสอบปลายภาค 8, 17 25 % 25 %
2 - ตรวจผลงานศึกษาค้นคว้า - ตรวจผลงานวิจัย - การนำเสนอ ตลอดภาคเรียน 40%
3 - ประเมินจากการมีส่วนร่วมกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียน - ประเมินความรับผิดชอบความตรงต่อเวลาและใบงานที่ได้รับมอบหมาย ตลอดภาคเรียน 10%
ยุทธ  ไกยวรรณ์. วิธีวิจัยทางธุรกิจ.กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ,2548.
สุดาดวง  เรื่องรุจิระ.ระเบียบวิธีวิจัยตลาดเบื้องต้น.ครั้งที่10,กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ประกายพฤก,2549.
          ธานินทร์  ศิลป์จารุ.การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS กรุงเทพฯ:บริษัท วี.อินเตอร์ พรินท์  จำกัด ,2550.
Kothari, C.R. (2004). Research Methodology. New Delhi: New Age International.
เว็บไซต์ E-learning   มหาวิทยาลัยต่างๆ
ฐานข้อมูลงานวิจัย(ThaiLIS) https://arit.rmutr.ac.th/?page_id=211
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษา ได้ดังนี้
1.1         การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2         แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3         ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   ผลการเรียนของนักศึกษา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน ดังนี้
ให้นักศึกษาใช้  E-learning  และทำการทดสอบด้วยแบบทดสอบPre-test  และ Post –test
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังจากออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
- มีการตั้งคณะกรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดย
ตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
- ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
เปลี่ยนสลับอาจารย์ผู้สอน หรือเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงเพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรือผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการต่างๆ