เตรียมสหกิจศึกษาและการฝึกงานทางบริหารธุรกิจ

Pre Co-operative Edudation in Business Admini

จุดมุ่งหมายของการฝึกงานทางวิชาชีพ เป็นการฝึกให้นักศึกษาได้เรียนรู้สิ่งต่อไปนี้
-  เพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ความรู้ทางด้านการตลาดและอื่นๆ ที่ได้ศึกษามาในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการจริง
-  เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้การทำงานด้านการตลาดและอื่นๆ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาในการทำงาน
-  เพื่อให้นักศึกษาฝึกการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กร และมีวินัยในการปฏิบัติตนตามข้อบังคับการปฏิบัติงานในฐานะพนักงานของสถานประกอบการจิรง
-  เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
          -      เพื่อให้อาจารย์นิเทศ พนักงาน พี่เลี้ยงและนักศึกษาเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของการฝึกงานทางวิชาชีพจริงและมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่คาดหวังอย่างชัดเจน
          -  เพื่อให้อาจารย์นิเทศ พนักงาน พี่เลี้ยงและนักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผลกระบวนการฝึกงานทางวิชาชีพอย่างเหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนารายวิชา
ศึกษาและฝึกปฏิบัติทักษะการปฏิบัติเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาหรือการฝึกงานทางวิชาชีพ โดยมุ่งเน้นฝึกทักษะในด้านความรู้เกี่ยวกับงานสหกิจศึกษาหรือการฝึกงานทางวิชาชีพ ทักษะด้านการสื่อสาร ทักษะในการทำงานเป็นทีม การปรับตัวเข้ากับสังคมการทำงาน ด้านบุคลิกภาพและมารยาท ด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ
 -   อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์สาขาและFace page ของกลุ่ม  -   อาจารย์จัดการประชุมทุกๆสัปดาห์เพื่อปรึกษาหารือในด้านการทำงาน ปัญหาที่เกิดขึ้นและโครงการที่จะต้องดำเนินงานตามแผนงาน สัปดาห์ละครั้ง โดยกำหนดทุกวันอาทิตย์ของแต่ละสัปดาห์  ในห้องปฏิบัติการและห้องเรียน
 
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย เคารพกฎกติกามารยาท มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิส่วนบุคคล   มีความซื่อสัตย์ในงานที่ได้รับมอบหมาย โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
1.1.1 มีความเคารพต่อกฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์การและสังคม
มีจิตสำนึกและมีมโนธรรมที่จะแยกแยะความถูกต้อง ความดี และความชั่ว
1.2.1 บรรยายทฤษฏีเกี่ยวกับการเริ่มต้นการปฏิบัติงาน ความจำเป็นและความสำคัญ และขั้นตอนการเขียนแผนงานด้านต่างๆ ตลอดจนความสำคัญของแต่ละฝ่ายงานเพื่อความเป็นเอกภาพของการทำงานร่วมกันในสถานประกอบการ
1.2.2 จัดกลุ่มเขียนแผนงานพร้อมปฏิบัติการ
1.2.3 สรุปการฝึกปฏิบัติงานเมื่อกลับมาจากการฝึกปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา 1.3.2   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม 1.3.3   ประเมินผลการทำงานทั้งตนเองและทีมงานอย่างต่อเนื่อง 1.3.4   ประเมินผลโดยใช้ข้อสอบประมวลความรู้และทักษะที่ได้รับตลอดการฝึกปฏิบัติงาน
 
มีความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่ได้รับจากห้องเรียนมาประยุกต์ใช้ในสถานประกอบการจริงภายในเวลาหนึ่งภาคการศึกษา และมีความสามารถเชิงการเป็นผู้ประกอบการที่มีแรงบันดาลใจในการทำงานภายใต้สถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา 2.1.1 มีความรู้ความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนด้านบริหารธุรกิจ ที่ครอบคลุมทั้ง การบัญชี เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ 2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจ ทางการตลาด การเงิน การผลิตและการดำเนินงาน รวมทั้งการจัดองค์กรและทรัพยากรมนุษย์ 2.1.3 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจในด้านการวางแผน การปฏิบัติการ การควบคุมและการประเมินผลการดำเนินงานรวมทั้งการปรับปรุงแผนงาน 2.1.4 มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าของทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจรวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
 
บรรยาย  การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอรายงานผลการดำเนินงาน การแก้ไขปัญหาภายใต้สถานการณ์วิกฤติ  โดยนำมาสรุปและนำเสนอ  และสามารถออกแบบโครงการที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในการดำเนินงานในรูปแบบการฝึกปฏิบัติงาน
2.3.1   ประเมินจากการแผนงานและผลการปฏิบัติงานตามแผนงาน 2.3.2   ประเมินผลจากยอดขายส่วนบุคคล และความสามารถปรับตัวกับการทำงานเป็นทีมได้ 2.3.3   ประเมินผลจากการปฏิบัติงาน 2.3.4   ประเมินผลความสามารถในการทำงานด้านบริหารตามที่ได้รับมอบหมาย และสามารถนำเสนอผลการปฏิบัติการ และรวบรวมผลการทำงานให้แล้วเสร็จตามวัน เวลา ที่ได้กำหนดในแผนงานได้อย่างเรียบร้อยและถูกต้อง
 
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากการอยู่ร่วมกับผู้อื่น  3.1.1 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ต่อยอดกรอบความรู้เดิม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาและประสบการณ์เพื่อให้เกิดนวัตกรรม กิจกรรมหรือแนวทางในการบริหารธุรกิจใหม่ๆ 3.1.2 สามารถสืบค้น จำแนก วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้ซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเหมาะสม
 
3.2.1   การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษที่ต้องแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน  3.2.2   การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
 
3.3.1   วัดผลจากการประเมินโครงการ  การนำเสนอผลงาน 3.3.2   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
 
4.1.1   มีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม การประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบ พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงานซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบ 4.1.2   มีความกระตือรือร้นและและความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความรับผิดชอบยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งมีความเป็นผู้ตามในจังหวะที่เหมาะสม 4.1.3   มีความสามารถในการริเริ่มแสดงความคิดเห็นใหม่ๆที่อาจมีความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์
 
4.2.1   จัดกิจกรรมกลุ่ม 4.2.2   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล  4.2.3   การนำเสนอรายงาน
 
4.3.1   วัดผลจากการประเมินโครงการ  การนำเสนอผลงาน 4.3.2   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
 
5.1.1     สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์  สถิติและการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ 5.1.2     สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีสิทธิภาพ 5.1.3     สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน และเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน 5.1.4     สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้อง  ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจา
 
5.2.1     มอบหมายให้มีการรายงานผลการดำเนินงานประจำสัปดาห์เพื่อติดตามความก้าวหน้าของงานทั้งส่วนบุคคลและภาพรวมของงาน             5.2.2     กระตุ้นให้มีการใช้ข้อมูลที่มาจากระบบสารสนเทศมาใช้ในการวางแผนงานและนำเสนอผลการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
 
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 7 1 2 3 4 5 6
1 100034022 เตรียมสหกิจศึกษาและการฝึกงานทางบริหารธุรกิจ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.1.,2.1.2,2.1.3 การทดสอบ ประเมินผลครั้งที่ 1 ประเมินผลครั้งที่ 2 สอบประมวลความรู้ สอบปลายภาค 9 14 15 16 5% 5% 10% 20%
2 1.1.1,1.1.2, 2.1.4,3.1.1, 3.1.2,4.1.1, 4.1.2,4.1.3,5.1.1,5.1.2,5.1.3,5.1.4 วิเคราะห์โครงการและการวางแผน การปฏิบัติการ การควบคุมและการนำเสนอผลการดำเนินงาน รายงาน การร่วมจัดทำแผนงาน การเข้าร่วมปฏิบัติงาน เข้า/ออก,ขาด/ลา/มาสาย การรายงานผลการฝึกปฏิบัติ การส่งรายงานโครงการ ตลอดภาคการศึกษา 50%
3 1.1.1,1.1.2 การเข้าชั้นเรียน การเข้าร่วมประชุม การร่วมเสนอความคิดเห็นในการเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
เอกสารประกอบการสอนเตรียมสหกิจศึกษาและการฝึกงานทางบริหารธุรกิจ
ไม่มี
หนังสือวิชาหลักการตลาด หนังสือการเขียนรายงาน หนังสือคอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ www.abac.edu หนังสือพิมพ์ธุรกิจต่างๆ เช่น ประชาชาติธุรกิจ ผู้จัดการ ฐานเศรษฐกิจ ฯลฯ วารสาร นิตยสาร บทความหรืองานวิจัยต่างๆทางการตลาด และเว็บไซต์ทางธุรกิจ
 
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่าน Facebook เพื่อเก็บข้อมูลความพึงพอใจและปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงานของพนักงาน  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้ 2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
 
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้ 3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
 
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2   มีการตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาประจำคณะฯ  เพื่อตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบจากการนำเสนอผลการทำงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
 
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์ที่ปรึกษาที่เกี่ยวข้องกับโครงการอย่างต่อเนื่อง