การจัดการโรงเพาะฟักสัตว์น้ำ

Aquatic Animal Hatchery Management

1. มีความเข้าใจเกี่ยวกับ รูปแบบต่าง ๆ ของโรงเพาะฟักสัตว์น้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำทะเล
2. มีทักษะในการปฏิบัติเกี่ยวกับ การเลือก การใช้ และการบำรุงรักษาอุปกรณ์และเครื่องมือในโรงเพาะฟัก
3. มีทักษะการปฏิบัติเกี่ยวกับการวางระบบต่างๆ ภายในโรงเพาะฟักประกอบด้วย ระบบอากาศ ระบบไฟฟ้า และระบบน้ำ
4. มีทักษะและทราบถึงแนวทางในการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการคุณภาพน้ำที่ใช้สำหรับโรงเพาะฟักเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาในการเพาะฟักและอนุบาลสัตว์น้ำ การสุขาภิบาลในโรงเพาะฟัก
1. เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจและเกิดความรู้ความสามารถและความเข้าใจ โดยใช้หลักการของการจัดการโรงเพาะฟักเพื่ออนุบาลและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2. นักศึกษานำความรู้และทักษะไปใช้ในการดำรงชีวิต ประกอบอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อให้เนื้อหาสมบูรณ์สอดคล้องกับสถานการณ์ และการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับรูปแบบต่างๆ  โรงเพาะฟักสัตว์น้ำจืดน้ำกร่อยและทะเลอุปกรณ์และเครื่องมือในโรงเพาะฟัก  การวางระบบต่างๆ  ภายในโรงเพาะฟักประกอบด้วย ระบบอากาศ  ระบบไฟฟ้า  และระบบน้ำ  การจัดการคุณภาพน้ำที่ใช้สำหรับโรงเพาะฟักเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาในการเพาะฟักและอนุบาลสัตว์น้ำ การสุขาภิบาลในโรงเพาะฟัก
3.1 วันจันทร์ พุธ ศุกร์ เวลา 15.00 - 16.30 น. ห้อง FS201 โทร 091-8396241
3.2  E-mail; mr1fisheries@hotmail.com   เวลา 20.00 - 21.00 น. ทุกวัน
1.1 มีจิตสำนึกและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรมสาธารณะ
1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการ หรือวิชาชีพ
1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
การสอนแบบบรรยายเชิงอภิปราย โดย   
- จะสอดแทรกหรือยกตัวอย่างประกอบในขณะสอนเนื้อหา
- กำหนดหลักเกณฑ์หรือแนวปฏิบัติให้นักศึกษาต้องถือปฏิบัติในการเรียนรายวิชานี้ เช่น การตรงเวลา การมีวินัยในห้องเรียน รับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
- นักศึกษาต้องไม่ทุจริตในการสอบหรือการลอกการบ้านหรืองานของผู้อื่น
- การนำข้อความจากแหล่งความรู้ต่างๆ มาทำรายงานนั้น ต้องมีการอ้างอิงเพื่อให้เกียรติแก่เจ้าของความคิด
- นักศึกษาต้องรู้จักแบ่งปันความรู้กับเพื่อนนักศึกษาด้วยกัน
- ร้อยละ 90 ของนักศึกษาเข้าเรียนตรงเวลา
- ร้อยละ 95 ของนักศึกษา ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติที่อาจารย์กำหนด
- ไม่มีการทุจริตในการสอบ หรือไม่มีการลอกรายงานหรือลอกการบ้าน
2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎี และหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ที่ศึกษา
2.2  สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในสาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
การสอนแบบการอภิปรายกลุ่มย่อย (Small - Group Discussion)  โดย 
- บรรยายประกอบการอภิปรายในหลักการและทฤษฏี
- มอบหมายให้อ่านบทความวารสารทางวิชาการ พร้อมทั้งเขียนรายงานสรุปในเรื่องที่อ่าน และส่งเป็นการบ้าน 
- ทดสอบความเข้าใจโดยจะมีการสอบย่อย รวมทั้งวัดความรู้โดยการสอบกลางภาคเรียนและการสอบปลายภาคเรียน
- ประเมินจากการร่วมอภิปรายในชั้นเรียน และรายงานที่นำส่ง
3.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
การเรียนแบบแก้ปัญหา (Problem-solving) โดย

-ในการสอนจะเสริมสร้างการใช้ทักษะเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจและสามารถเชื่อมโยงกับหลักการหรือทฤษฎีอันเป็นแนวทางสู่การแก้ปัญหาต่างๆ
-โดยการใช้สื่อเป็นวีดีทัศน์และ มอบหมายโจทย์ปัญหาให้นักศึกษาได้ฝึกหาข้อมูล วิเคราะห์และเข้าใจวิธีแก้ปัญหาโดยอิงบนหลักการและ/หรือทฤษฎีอย่างถูกต้อง
- โดยการทดสอบจากข้อสอบที่เป็นข้อสอบซึ่งต้องให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา ตลอดจนนำหลักการและทฤษฎีไปอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
- ประเมินจากการร่วมอภิปรายในชั้นเรียน
4.1 มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.3 สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
 การสอนโดยใช้เทคนิคการระดมพลังสมอง (Brainstorming)  โดย
- มอบหมายงานให้นักศึกษาทำเป็นกลุ่ม แล้วนำเสนอในชั้นเรียน และต้องแนะนำให้นักศึกษาเข้าใจใน  การทำงานร่วมกัน
- ให้นักศึกษาทำงานร่วมกันเพื่อเกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการทำรายงาน และนำเสนองาน
- ประเมินจากกระบวนการทำงาน การจัดระบบการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
- ประเมินจากความเข้าใจในกระบวนการทำงานและการแบ่งงานกันทำตามความเหมาะสมในการออกปฏิบัติภาคสนาม
5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.2 สามารถสืบค้น วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การสอนแบบกรณีศึกษา (Case Studies) โดย
- กำหนดให้นักศึกษาอ่านตำรา และบทความทางวิชาการ การจัดทำรายงานให้ใช้หนังสืออ้างอิงหรือฐานข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ
- ให้ค้นคว้าในการจัดทำรายงานผ่านฐานข้อมูลหรือวารสารวิชาการ
- ในการนำเสนอรายงานให้นำเสนอผ่านระบบสารสนเทศ (power point)
 
- ประเมินจากรายงาน หรืองานที่มอบหมาย ว่ามีการใช้วารสาร หนังสือ หรือฐานข้อมูลเชิงวิชาการ
- ประเมินจากการนำเสนอในชั้นเรียนที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
6.1 มีทักษะในการใช้ความรู้เพื่อดำเนินงานบนมาตรฐานที่ดีในการผลิตที่ดีทางการประมง
6.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ
การสอนแบบปฏิบัติ  โดย
- กำหนดให้นักศึกษาฝึกทักษะดำเนินงานจัดการโรงเพาะฟักที่มีมาตรฐานและเหมาะสมต่อการเพาะฟัก
- ประเมินจากโครงการกลุ่มในการวางแผนการดำเนินงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2
1 23013409 การจัดการโรงเพาะฟักสัตว์น้ำ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.2, 1.3, 1.4, 2.1, 2.2, 2.3 การเข้าชั้นเรียน การส่งรายงานตรงเวลา การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน 1-15 5%
2 4.1, 4.2, 4.3, 4.4, 6.1, การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์
3 3.1, 3.2, การทดสอบย่อย 3 ครั้ง 4,6,10 5%
4 2.1, 2.2, 2.3, 3.1, 3.2 การสอบกลางภาค 8 5%
5 5.1, 5.2, 5.3 การนำเสนองาน/การรายงาน 14 20%
6 2.1, 2.2, 2.3, 3.1, 3.2 การสอบปลายภาค 16 65 %
-สถิติการประมงแห่งประเทศไทย. (2556). กลุ่มวิจัยและวิเคราะห์สถิติการประมง ศูนย์สารสนเทศ กรมประมง, เอกสารฉบับที่ 9/2557 [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา : http://www1.fisheries.go.th, (13 กรกฎาคม 2557)
-กรมประมง. (2557). E-book การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ด้านการประมง [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา: http://www.fisheries.go.th, (13 มิถุนายน 2557).
-กรมประมง. (2557). E-book สัตว์น้ำกร่อยที่สำคัญทางเศรษฐกิจ [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา : http://www.fisheries.go.th, (23 มิถุนายน 2557).
-กรมประมง. (2557). สัตว์น้ำจืดที่สำคัญทางเศรษฐกิจ [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา : http://www.fisheries.go.th, (9 มิถุนายน 2557).
-ถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2557). โครงการ: “สถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตของประเทศไทยกับการใช้ทะเลอย่างยั่งยืน” [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา: http://marinepolicy.trf.or.th, (10 มิถุนายน 2557).
-วงศ์วรุตม์ บุญญานุโกมล. (2557). คู่มือความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ (Manual of Laboratory Safety) ห้องปฏิบัติการกลางสำหรับการเรียนการสอนและวิจัย โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา: http://www.am. mahidol.ac.th, (19 กรกฎาคม 2557).
-คณะกรรมการอานวยการควบคุมการติดเชื้อและติดต่อ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.(2557). คู่มือและระเบียบปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ปี 2557-2560. ขอนแก่น: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
-สุดารัตน์ มโนเชี่ยวพินิจ และ กุลนารี สิริสาลี. (2540). แนวทางการบริหารงานเพื่อความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ: กุลนารี สิริสาลี บรรณาธิการ Clinical Laboratory Accreditation. กรุงเทพมหานคร :บริษัท เอช ที พี เพรส จำกัด.
-มฆ บุญพราหมาณ์. (2522). การเลี้ยงปลา ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.150 หน้า.
-อุทัยรัตน์ ณ นคร. (2537). การเพาะพันธุ์ปลาดุกและการเลี้ยง ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.138 หน้า.
-บุญชัย เจียมปรีชา และสามารถ  เปรมกิจ. (2533). ปัญหา และการแก้ไขการเลี้ยงกุ้งกุลาดำที่จังหวัดเพชรบุรี. ศูนย์พัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งสมุทรสาคร, กองเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง, กรมประมง. เอกสารวิชาการฉบับที่ 30/2533, 15 หน้า.
-วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2557). การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา: https://th.wikipedia.org, (15 กรกฎาคม 2557).
-กรมประมง. (2556). การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลระบบปิด [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา : http://www1.fisheries.go.th, (23 กรกฎาคม 2557).
-ไทยเกษตรศาสตร์. (2557). การออกแบบและสร้างที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา : http://www.thaikasetsart.com, (12 กรกฎาคม 2557).
-อษุมา กู้เกียรตินันท์ และ วิมล อยู่ยืนยง. (2544). การจัดการด้านสุขภาพสัตว์ของผู้ประกอบการที่ขอรับรองมาตรฐานฟาร์ม. สัตวแพทยสาร, 52(1-2): 58-71.
-สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2555). แนวทางการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพประเภทการเลี้ยงสัตว์น้ำ. [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา: http://env.ana mai.moph.go.th, (12 กรกฎาคม 2557).
-อนันต์  ตันสุตะพานิช. (2539). หลักการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ วิธีการฟื้นฟูการเลี้ยงกุ้งกุลาดำและสภาพแวดล้อมในระบบปิดและรีไซเคิ้ล สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเพชรบุรี, กองเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง, กรมประมง. 28 หน้า.
-ชลอ ลิ้มสุวรรณ. (2534). คัมภีร์การเลี้ยงกุ้งกุลาดำ. สำนักพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ, กรุงเทพฯ.
-บุญเสริม  วิทยชานาญกุล. (2556). โครงการการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำร่วมกับการอนุบาลลูกปลาทับทิมด้วยระบบน้ำตะกอนชีวภาพสัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างกุ้งและปลา. แผนวิจัยและพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีภายใต้การดาเนินงานคลินิกเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยมหิดล.
-เอกชัย ดวงใจ. (2557). เอกสารและสื่อประกอบการเรียนการสอน รายวิชาปฏิบัติการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน. 80 หน้า
-กรมประมง. (2557). มาตรฐานการจัดการฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาสวยงามเพื่อการส่งออก [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา: http://www.fisheries.go.th, (24 กรกฎาคม 2557).
-ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ (LESA) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). (2557). SOIL, Learing module on Earth Science and Astronomy [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา: http://portal.edu.chula.ac.th, (28 กรกฎาคม, 2557).
-กรมประมง. (2557). แนวปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำจืด สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 92 หน้า
-กองเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง. (2542). โครงการฟื้นฟูการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในเขตพื้นที่ก้นอ่าวไทย, ปีงบประมาณ 2534-2542. กองเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง, กรมประมง, กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์. 37 หน้า.
-มานพ ตั้งตรงไพโรจน์ ภาณุ เทวรัตน์มณีกุล พรรณศรี จริโมภาส สุจินต์ หนูขวัญ กำชัย ลาวัณยวุฒิ วีระวัชรกรโยธิน และวิมล จันทรโรทัย. (2536). การพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลานิล. เอกสารเผยแพร่ฉบับที่ 23/2536. สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง. 87 หน้า.
-การท่องเที่ยว ลพบุรี. (2557). เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ น้ำพระทัยจากสายพระเนตร [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา: http://www.lopburitravel.com, (22 กรกฎาคม 2557).
-ไมตรี ดวงสวัสดิ์. (2530). เกณฑ์คุณภาพน้ำเพื่อการคุ้มครองทรัพยากรสัตว์น้ำจืด. สถาบันประมงน้ำจืดแห่งชาติ, กรมประมง. 38 หน้า.
-ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2544). การบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
-ดนัย เทียนพุฒ, ไพบูลย์ อนวัชมงคล, รินา ปีตาสัย, เสถียร เตชะบรรณะปัญญา, วันจันทร์ รัตนสุนทร และวชิราภรณ์ แสงพายัพ. (2541). รายงานการวิจัยเรื่องทิศทางและ บทบาทการบริหารทรัพยากรบุคคลในทศวรรณหน้า. กรุงเทพฯ: สถาบันการจัดการงานบุคคลสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย.
-วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2557). อุปสงค์อุปทาน [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา: https://th.wikipedia.org, (11 กรกฎาคม 2557).
-ไทยเกษตรศาสตร์. (2557). การจัดการฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา : http://www.thaikasetsart.com, (2 มิถุนายน 2557).
-นงกรณ์ กุณฑลบุตร. (2559). หลักการจัดการ องค์การและการจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอช ที พี เพรส จำกัด. 260 หน้า
-กรมประมง. (2557). การวางผังฟาร์มเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำวัยอ่อนระดับโรงเพาะฟักสัตว์น้ำ ศูนย์วิจัยและพัฒการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดอุทัยธานี [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา: http://www.fisheries.go.th, (10 กรกฎาคม 2557).
-สภาพร สุกสีเหลือง. (2538). การเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้า. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ. 291 น.
-อนันต์  ตันสุตะพานิช. (2539). หลักการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ วิธีการฟื้นฟูการเลี้ยงกุ้งกุลาดำและสภาพแวดล้อมในระบบปิดและรีไซเคิ้ล สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเพชรบุรี, กองเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง, กรมประมง. 28 หน้า.
-สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2549). ศักยภาพการผลิต และการตลาดกุ้งขาวแวนนาไมของประเทศไทย 2548, กรกฎาคม 2549: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
-ชลอ ลิ้มสุวรรณ  และพรเลิศ  จันทร์รัชชกูล. (2547). อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: บริษัทเมจิคพับบลิเคชั่น จำกัด.
-
-
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 
1.2  แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนได้มีกลยุทธ์ดังนี้
2.1  การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2  ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3  การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1  สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2  การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2  มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1  ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2  เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรือหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง