จิตรกรรม 5

Painting 5

1.1 รู้กระบวนการและเข้าใจ จิตรกรรม 4 ทั้งภาคทฤษฏีและปฎิบัติมาแล้ว ศึกษาต่อและปฏิบัติให้สูงขึ้น  1.2 รู้ระบบการวางแผนการสร้างผลงาน ตามที่ผู้สอนได้กำหนดโครงการให้  1.3 เข้าใจถึงการค้นคว้า การวิเคราะห์ ในเนื้อหาเรื่องราว ของตอนเองได้อย่างถูกต้อง  1.4 แก้ปัญหากระบวนการสร้างสรรค์ผลงานของตนเอง ได้ และแสดงออกมาในผลงานอย่างมีคุณค่า และมีเอกลักษณ์พาะตน  1.5 ผลงานที่สร้างสรรค์ ออกมามีรูปแบบและเอกลักษณ์ ทั้งเนื้อหาและคุณค่าในด้านเทคนิคและความประณีต 
2.1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม  2.2 มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถนำความคิดมาแปลเป็นผลงานทางจิตรกรรม  2.3 ฝึกทักษะการเขียนภาพจิตรกรรม รู้จักแก้ปัญหาในผลงานของตนเองได้ สามารถวิจารณ์ผลงานของตนเองและผู้อื่น   2.4 มีความสามารถด้านเทคนิคการเขียนภาพจิตรกรรม และนำส่วนดีของเทคนิคที่หาได้มาสร้างสรรค์ในผลงานของตัวเองได้อย่างเหมาะสมและสมบรูณ์  2.5 เป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อ
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับจิตรกรรมที่สูงขึ้นกว่าจิตรกรรม  4  ตามโครงการที่กำหนดให้และโครงการที่นักศึกษากำหนดเอง  เน้นการศึกษา  ค้นคว้า วิเคราะห์  เพื่อให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์กันในรูปแบบ  เนื้อหา  เทคนิค  และการแสดงออกของการสร้างสรรค์งานจิตรกรรมที่มีคุณค่าทางศิลปะและมีเอกลักษณ์เฉพาะตน
1 ชั่วโมง/สัปดาห์
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในแต่ละวิชาต้องพยายามสอดแทรกเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้ทั้ง 5 ข้อ เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่าง ๆ ที่ศึกษา รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมอย่างน้อย 5 ข้อตามที่ระบุไว้  1. มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม  2. มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ  3. มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม  4. เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนทุกรายวิชา รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ
1. ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่ มอบหมายและการร่วมกิจกรรม  2. ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร  3. ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย  4. ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับ ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ มีคุณธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาที่ศึกษานั้นต้องเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้เพื่อใช้ประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้  1. มีความรู้ความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา  2. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา  3. สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และการปฎิบัติเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ นอกจากนี้ควรจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษา ในด้านต่าง ๆ คือ การทดสอบย่อย
นักศึกษาต้องสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้โดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษาเเล้ว ดังนั้นนักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรม อาจารย์ต้องเน้นให้นักศึกษาคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหารวมทั้งแนวคิดด้วยตนเอง ไม่สอนในลักษณะท่องจำนักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ จากการสอนเพื่อให้เกิดทักษะทางปัญญาดังนี้  1. มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ  2. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
1. ส่งเสริมการเรียนรู้จากการแก้ปัญหา ( Problem Based Instruction)  2. ให้นักศึกษาปฏิบัติการจากสถานการณ์จริง  3. มอบหมายงานที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์และสังเคราะห์
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น ประเมินจากการนำเสนอรายงานผลการดำเนินงานและการแก้ปัญหา ประเมินผลการปฏิบัติการจากสถานการณ์จริง และประเมินจากการทดสอบ เป็นต้น
นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อน คนที่มาจากสถาบันอื่น ๆ และคนที่จะมาเป็นผู้บังคับบัญชา หรือคนที่จะมาอยู่ใต้บังคับบัญชา ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่าง ๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นอาจารย์ต้องสอดแทรกวิธีการที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติต่าง ๆ ต่อไปนี้ให้นักศึกษาระหว่างที่สอนวิชา  1. มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี  2. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ  3. สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม  4. สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นข้ามหลักสูตร หรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่น หรือผู้มีประสบการณ์ โดยมีความคาดหวังในผลการเรียนรู้ดัานทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความสามารถในการรับผิดชอบ ดังนี้  1. กำหนดการทำงานกลุ่มโดยให้หมุนเวียนการเป้นผู้นำและผู้รายงาน  2. ให้คำแนะนำในการเข้าร่วมกิจกรรมสโมสร กิจกรรมของมหาวิทยาลัย  3. ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ  4. มอบหมายงานให้สัมภาษณ์บุคลต่างๆ
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียนและสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ และความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูล
1. สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม  2. สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม  3. สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวัดมาตรฐานนี้อาจทำได้ในระหว่างการสอน โดยอาจให้นักศึกษาแก้ปัญหา วิเคราะห์ประสิทธิภาพขอวิธีแก้ปัญหา และให้นำเสนอแนวคิดของการแก้ปัญหา ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ ต่อนักศึกษาในชั้นเรียน อาจมีการวิจารณ์ในเชิงวิชาการระหว่างอาจารย์และกลุ่มนักศึกษา
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ส่งเสริมให้มีการตัดสินใจบนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูลและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกตต้องและให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในหลากหลาย สถานการณ์
ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงาน
มีทักษะในการใช้วัสดุอุปกรณ์ ในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย มีทักษะในการร่างและทำต้นแบบผลงานตามที่แต่ละคนถนัด สามารถสร้างสรรค์ผลงาน โดยใช้เทคนิคต่างๆได้อย่างเหมาะสม สามารถวิเคราะห์ปัญหาในการสร้างสรรค์ผลงาน มีทักษะในการสร้างสรรค์ที่แสดงเอกลักษณ์เฉพาะตนได้อย่างชัดเจน
สร้างเจตคติที่ดีต่อการฝึกปฏิบัติ จัดนิทรรศการแสดงผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาในที่สาธารณะเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดความคิดสร้างสรรค์และฝึกปฏิบัติงานด้วยใจ
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์เป็นต้น
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีความรู้ความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีทักษะในการใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ ในการสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย มีทักษะในการร่างและทำต้นแบบผลงานตามที่แต่ละบุคคลถนัดได้ สามารถสร้างสรรค์ผลงาน โดยใช้เทคนิคต่างๆได้อย่างเหมาะสม สามารถวิเคราะห์ปัญหาในการสร้างสรรค์ผลงาน มีทักษะในการสร้างสรรค์ผลงานที่แสดงเอกลักษณ์เฉพาะตนได้อย่างชัดเจน
1 41011406 จิตรกรรม 5
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ความรู้จากการศึกษาการปฏิบัติงาน และการวิเคราะห์จากการทำงานในชั้นเรียน/การศึกษานอกเวลา นำเสนองาน สัปดาห์ที่ 5-17 50%
2 วัดผลความรู้/ความเข้าใจ ของนักศึกษา การสอบกลางภาค และสอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 9 และ 17 30%
3 ความรับผิดชอบ การเข้าชั้นเรียน และส่งผลงานตรงตามเวลาที่กำหนดให้ ทุกสัปดาห์ 10%
4 ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ การสังเกต/การทำงานในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 10%
- Eleanor Heartney. 2009. Art & Today. NY : Phaidon.  - Edward Lucie-Smith ( 2009) Lives of the Great Modern Artists (Revised Edition).NY:Thame & Hudson.  - Sister Wendy Beckett. 2009.1๐๐๐ Masterpieces. NY:DK Publishing.  - Tony Godfrey.(2010). Painting Today. NY:Thame & Hudson.  - William Furlong .(2010). Speaking of Art. NY:Phaidon.
- วารสาร Art in America ปี ๒๕๔๑ -๒๕๕๓
- สูจิบัตรงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๑-ปัจจุบัน กรุงเทพมหานคร
- www.artgalleryartist.com/Body-Painting/
- www.linkism.com › Visual Artists › Painters
- วารสาร FineArt ไทยแลนด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 จนถึงปัจจุบัน กรุงเทพมหานคร  - สูจิบัตรงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1 จนถึงปัจจุบัน กรุงเทพมหานคร
- สอบถามความคิดเห็นจากนักศึกษาหลังจากทำการสอน  - ให้นักศึกษาเขียนแสดงความคิดเห็นการสอนสัปดาห์สุดท้าย  - ประเมินการสอนโดยผู้บริหารของภาค/สาขาวิชา
จัดประชุมคณาจารย์ระดมความคิดเห็นเมื่อสิ้นสุดภาคเรียน
-สรุปผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา  -ประชุมคณาจารย์แจ้งผลการประเมินและแสดงความคิดเห็นเพื่อพัฒนาเรียนการสอน  -จัดประชุมสัมมนาคณาจารย์เพื่อพัฒนาเทคนิคใหม่ ๆ เกี่ยวกับการสอน
-มีคณะกรรมการวิชาการประจำสาขาวิชา  -มีคณะกรรมการพิจารณาข้อสอบและผลสอบ  -ให้นักศึกษาทราบผลจากการส่งงานที่มอบหมาย  -นักศึกษาสามารถตรวจสอบคะแนน ผลคะแนน จากฝ่ายทะเบียนได้
นำผลที่ได้จากการสอบถามความคิดเห็น คะแนนสอบของนักศึกษา การประชุมสัมมนา นำมาสรุปผลและพัฒนารายวิชาก่อนการสอนในภาคเรียนต่อไป