เตรียมสหกิจศึกษาและการฝึกงานทางบริหารธุรกิจ

Pre Co-operative Education and Job Internship in Business Administration

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจและฝึกทักษะการปฏิบัติเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาและการฝึกงานทางบริหารธุรกิจ โดยมุ่งเน้นฝึกในด้านความรู้เกี่ยวกับงานสหกิจศึกษาหรือการฝึกงานทางบริหารธุรกิจ ทักษะด้านการสื่อสาร ทักษะในการทำงานเป็นทีม การปรับตัวเข้ากับสังคมการทำงาน ด้านบุคลิกภาพ มารยาท จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ
เพื่อเตรียมตัวให้นักศึกษาได้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีการฝึกทักษะการปฏิบัติงานเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาหรือการฝึกงานทางวิชาชีพ โดยในการเตรียมความพร้อมสำหรับนักศึกษานั้น ได้มุ่งเน้นให้นักศึกษาเข้าใจหลักการและแนวคิดเกี่ยวกับสหกิจศึกษา กระบวนการ ขั้นตอนของสหกิจศึกษา ระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับสหกิจศึกษา และฝึกทักษะในด้านความรู้เกี่ยวกับงานสหกิจศึกษาหรือการฝึกงานทางวิชาชีพ ทั้งในทักษะด้านการสื่อสาร ทักษะในการทำงานเป็นทีม การปรับตัวเข้ากับสังคมการทำงาน ด้านบุคลิกภาพ และมารยาท ด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ ซึ่งทักษะต่างๆ นี้ เป็นทักษะที่มีความจำเป็นสำหรับการฝึกงานสหกิจศึกษาหรือการฝึกงานทางวิชาชีพ ให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจและการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคม เสริมสร้างความรู้และทักษะวิชาชีพของนักศึกษาและบัณฑิตอย่างต่อเนื่อง
ศึกษาและฝึกทักษะการปฏิบัติเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาหรือการฝึกงานทางวิชาชีพ โดยมุ่งเน้นฝึกทักษะในด้านความรู้เกี่ยวกับงานสหกิจศึกษาหรือการฝึกงานทางวิชาชีพ ทักษะด้านการสื่อสาร ทักษะในการทำงานเป็นทีม การปรับตัวเข้ากับสังคมการทำงาน ด้านบุคลิกภาพและมารยาท ด้านจริยธรรม และจรรายาบรรณในวิชาชีพ
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
    พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลสงวนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟแวร์ และ ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา มีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม
1.1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจต่อบุคคลองค์กรและสังคม
1.1.7 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2.1 อาจารย์ผู้สอนสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพในการสอน
1.2.2 กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย
1.2.3 เน้นการเข้าชั้นเรียนตรงเวลาและการแต่งกายให้เป็นตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
1.3.1 การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่ง กาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
1.3.2 การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
1.3.3 การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม และความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
1.3.4 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
2.1.2 มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
2.1.3 มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.2.1 จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
2.2.2 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นำเสนอ และถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนร่วมชั้นเรียนหรือผู้สนใจทั่วไป
2.2.3 ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
2.3.1 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.3.2 ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมาย รายงาน การค้นคว้า หน้าชั้นเรียน
2.3.3 ประเมินจากการนำเสนอผลงาน
3.1.1 สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
3.1.2 คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป
3.2.1 การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
3.2.2 การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียน และมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
3.3.1 ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา
3.3.2 ประเมินจากงานที่มอบหมายทั้งงานกลุ่มและงานรายบุคคล
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วยตามกำหนดเวลา
4.2.1 จัดการเรียนการสอนที่เน้นการทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4.2.2 สอดแทรกความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย
4.3.1 ประเมินความรับผิดชอบตามงานที่ได้รับมอบหมายทั้งงานกลุ่มและงานรายบุคคล
5.1.1 พัฒนาทักษะการคิดคำนวณเชิงตัวเลข
5.1.2 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงานและนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.1.4 พัฒนาทักษะในการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.5 พัฒนาทักษะในการนำเสนอรายงาน โดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากแหล่งความรู้ต่างๆ
5.2.2 นำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน 5.3.2 ประเมินจากรายงาน และการนำเสนอรายงานด้วยสื่อเทคโนโลยี
6.1.1 สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
6.1.2 สามารถปฏิบัติงานโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ แก้ปัญหาเชิงบูรณาการได้ด้วยการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความอย่างมีเหตุผล
6.2.1 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
6.3.1 ผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา จากการจำลอง หรือสถานการณ์จริง และความสามารถในการนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
6.3.2 การนำเสนอผลงาน หรือโครงงาน โดยการเลือกใช้ภาษา การสื่อสารในบริบทต่าง ๆ เพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา อย่างเหมาะสม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1-2, 5-6 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 7 5%
2 1-2, 5-8 สอบกลางภาค 9 20%
3 10-12 ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 14 5%
4 10-14 สอบปลายภาค 16 20%
5 ทุกหน่วยการเรียนรู้ งานที่ได้รับมอบหมาย/รายงาน (ความตรงต่อเวลา, วิธีการนำเสนองาน, ความถูกต้องสมบูรณ์ของงาน) ตลอดภาคการศึกษา 20%
6 ทุกหน่วยการเรียนรู้ การเข้าชั้นเรียน, การแต่งกายและความประพฤติ, การมีส่วนร่วม ตลอดภาคการศึกษา 30%
- กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2561). กฏหมายแรงงาน. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2561, จาก https://www.labour.go.th/th/index.php?option=com_content&view=category&id =31&Itemid=11
- กิจจา บานชื่น. การพัฒนาบุคลิกภาพ. 2559. ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย.
- คู่มือสหกิจศึกษาสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก
- คู่มือการจัดการสหกิจศึกษาไทย สมาคมสหกิจไทย
- ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ. (ม.ป.ป). คู่มือสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยศรีปทุม. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2561, จาก https://www.spu.ac.th/uploads/contents/2018042 583522.pdf
- สิริวัน ร่มฉัตรทอง. มปป. มาตรฐานความปลอดภัยสู่ ISO26000. สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย.
- อติชาญ รุจิรวีร์. 2559. สัมภาษณ์งานอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ : วิเคราะห์คำถามเพื่อการสัมภาษณ์งาน . กรุงเทพมหานคร.
มาตรฐานและการประกันคุณภาพการดำเนินงานสหกิจศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและสมาคมสหกิจศึกษาไทย
เว็บไซต์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
1.1 การสังเกตจากพฤติกรรมของผู้เรียน
1.2 แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการจัดการเรียนการสอนระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.3 แบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา
2.1 สังเกตการณ์สอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
ผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จะถูกนำมาวิเคราะห์ เพื่อใช้ในการปรับปรุงและเรียบเรียงเนื้อหาในการสอนใหม่ ให้มีความทันสมัย มีประโยชน์ และให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจของนักศึกษายิ่งขึ้น
ตรวจสอบผลประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบและการให้คะแนนพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำงาน
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุกปี เพราะเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองที่หลากหลายในเรื่องเกี่ยวกับการเตรียมสหกิจศึกษาและการฝึกงานทางบริหารธุรกิจ