การเขียนโปรแกรมบนเว็บ

Web Programming

มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและเวิลด์ไวด์เว็บ มีความรู้ความเข้าใจในแนวความคิดในการเขียนโปรแกรมบนเว็บ เข้าใจรูปแบบ วิธีการ และคำสั่งในการเขียนโปรแกรมบนเว็บ มีทักษะในการนำความรู้ที่ได้มาแก้ปัญหาในการเขียนโปรแกรมบนเว็บ
เพื่อให้สอดคล้องกับสาระวิชาในกรอบหลักสูตรมาตรฐานด้านระบบสารสนเทศของสำนักงาน
การสร้างโปรแกรมประมวลผลบนระบบเว็บ ภาษาแสดงผล การออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้ การสร้างเว็บแบบไดนามิก การใช้ประโยชน์โปรแกรมฝั่งลูกข่ายและแม่ข่าย การใช้โปรแกรมฝั่งลูกข่ายเพื่อควบคุมการทำงานของเว็บ กลไกคุกกี้และการสร้างเว็บที่เก็บสถานะ การใช้ทรัพยากรบนแม่ข่าย และในระบบเครือข่าย ระบบประมวลผลร่วมกับฐานข้อมูล ข้อคำนึงถึงด้านความปลอดภัยของระบบงาน
1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคล องค์กร และสังคม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
กล่าวถึงการมีวินัย และการตรงต่อเวลา บอกผลดีของการมีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและผู้อื่น บรรยายและเสนอแนะเพื่อให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์

อธิบายถึงประโยชน์ของการมีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพและผลกระทบในการละเมิดจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
ความประพฤติของนักศึกษาและพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษา การแสดงความคิดเห็นของนักศึกษาในการวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ ความตรงต่อเวลาในการส่งผลงานของนักศึกษา
มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายการเขียนโปรแกรมบนเว็บ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา สามารถวิเคราะห์ออกแบบ ติดตั้งปรับปรุงโปรแกรมบนเว็บ ให้ตรงกับข้อกำหนด มีประสบการณ์ในการพัฒนาและหรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
บรรยายและแสดงตัวอย่างประกอบ ให้แบบฝึกหัดและใบงานฝึกปฏิบัติ
ผลงานจากแบบฝึกหัดและการฝึกปฏิบัติ สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบ นำเสนอผลงานจากแบบฝึกหัดและใบงาน
คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสมมีวิจารณญาณในการเขียนโปรแกรมบนเว็บอย่างเป็นระบบ สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
บรรยายและแสดงตัวอย่างประกอบ ให้ใบงานฝึกปฏิบัติโดยกำหนดรูปแบบงานให้นักศึกษาสามารถใช้ทักษะเพื่อแก้ปัญหา
ผลงานจากแบบฝึกหัดและการฝึกปฏิบัติ สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบ
สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสารมารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
จัดให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่ม และร่วมกันแสดงความคิดเห็นในการเขียนโปรแกรมบนเว็บ โดยมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละบุคคลอย่างชัดเจน ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นต่อระบบงานที่นำเสนอ
นำเสนอโปรแกรมบนเว็บโดยสมาชิกในกลุ่มต้องมีส่วนร่วมในการนำเสนอ ความสามารถของสมาชิกในการตอบข้อซักถามของอาจารย์หรือเพื่อนร่วมชั้น
มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารอย่างเหมาะสม
          กำหนดให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่มแบ่งหน้าที่กันทำงานโดยกำหนดรูปแบบงานให้นักศึกษาสามารถใช้ทักษะเพื่อแก้ปัญหา และนำเสนอผลงาน จัดส่งผลงาน
นำเสนอผลงาน และตอบข้อซักถามของอาจารย์ และตรวจผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4
1 12031204 การเขียนโปรแกรมบนเว็บ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2, 1.7 2.1, 2.2, 2.3, 2.5, 2.6, 2.7, 2.8 3.1, 3.3, 3.4 4.4 Case Study 1 - 12 2, 3, 4, 5, 6, 7, 9, 10, 11, 12, 13, 14 20%
2 2.1, 2.2, 2.3, 2.7, 2.8 3.1, 3.4 สอบกลางภาค 8 30%
3 4.4 5.1, 5.3, 5.4 นักศึกษาแบ่งกลุ่มจัดทำโปรแกรมบนเว็บ และ นำเสนอ 15-16 20%
4 2.1, 2.2, 2.3, 2.7, 2.8 3.1, 3.4 สอบปลายภาค 17 30%
อนรรฆนงค์ คุณมณี. พัฒนา Web App แบบมืออาชีพด้วย PHP+AJAX และ jQuery. นนทบุรี : ไอดีซีฯ, 2555.
เจริญศักดิ์ รัตนวราห, ฐิสันต์ ทิพย์ศุภธนนท์. PHP & MySQL สร้าง Web Programming ด้วยภาษายอดนิยมที่สุดในยุคนี้.  บริษัท เน็ตดีไซน์ พับลิชชิ่ง จำกัด, 2554.
ประชา พฤกษ์ประเสริฐ. สร้างเว็บและเพิ่มลูกเล่นด้วย   HTML & XHTML. กรุงเทพฯ : ซิมพลิฟาย, 2553.
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน การสะท้อนความคิดจากพฤติกรรมของผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
สังเกตจากการมีส่วนร่วมในการเรียนและการทำกิจกรรมในชั้นเรียน


ผลการสอบ การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
แก้ไขเนื้อหาให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ นักศึกษาเพิ่มเติมในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ การวิจัยใน/นอกชั้นเรียน
มีการตรวจ Case Study และงานกลุ่มของผู้เรียน โดยผู้สอนตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละคนว่ามีการพัฒนาที่ผิดปกติหรือไม่ และมีการแจ้งผลของคะแนนที่ได้รับเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
ปรับปรุงรายวิชาทุกปี เพราะเทคโนโลยีมีการเปลี่ยแปลงอยู่ตลอดเวลา