การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ

Object Oriented Programming

แนวคิดเชิงวัตถุคลาสออบเจ็กส์ การซ่อนสารสนเทศ การห่อหุ้ม ความสามารถในการสร้างตัวแทน กรรมวิธีการถ่ายทอดคุณสมบัติ ภาวะที่มีหลายรูปแบบยูเอ็มแอล และภาษาสัญลักษณ์ที่ใช้ในการอธิบายโมเดล และการเขียนโปรแกรม การเขียนโปรแกรมโดยใช้แนวคิดเชิงวัตถุ
เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และอธิบายหลักการและระเบียบวิธีการเชิงวัตถุ สามารถอธิบายถึงโครงสร้างหรือรูปแบบได้ สามารถออกแบบระบบโดยใช้ภาษายูเอ็มแอลในการออกแบบ และนำแนวคิดของการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุไปเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหาตามสถานการณ์ต่าง ๆ ได้
แนวคิดเชิงวัตถุคลาสออบเจ็กส์ การซ่อนสารสนเทศ การห่อหุ้ม ความสามารถในการสร้างตัวแทน กรรมวิธีการถ่ายทอดคุณสมบัติ ภาวะที่มีหลายรูปแบบยูเอ็มแอล และภาษาสัญลักษณ์ที่ใช้ในการอธิบายโมเดล และการเขียนโปรแกรม การเขียนโปรแกรมโดยใช้แนวคิดเชิงวัตถุ
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟต์แวร์ และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา มีความซื่อสัตย์ในการเขียนโปรแกรมอย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรมจริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
- ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
- มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
- มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
- เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
- เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
- สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม
- มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
- บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการเขียนโปรแกรม การละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรม เช่น การใช้ โปรแกรมที่มีลิขสิทธิ์ในการพัฒนางานประยุกต์ การหาทางเลือกในการใช้โปรแกรมที่ไม่มีลิขสิทธิ์เช่น Open Source หรือ Freeware
- อภิปรายกลุ่ม
- การเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
- พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
- มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
- การเลือกใช้โปรแกรมในการแก้ปัญหาโจทย์
- ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
- ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
มีความรู้ในหลักการแก้ปัญหา การแก้ปัญหาด้วยมนุษย์และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หลักการทั่วไปในการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ แนวคิดเชิงวัตถุคลาสออบเจ็กส์ การซ่อนสารสนเทศ การห่อหุ้ม ความสามารถในการสร้างตัวแทน กรรมวิธีการถ่ายทอดคุณสมบัติ ภาวะที่มีหลายรูปแบบยูเอ็มแอล และภาษาสัญลักษณ์ที่ใช้ในการอธิบายโมเดล

สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์ให้ตรงตามข้อกำหนดสามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ รู้ เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
บรรยาย ฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ แก้ปัญญาโจทย์ การทำงานกลุ่ม การนำเสนอผลการเขียนโปรแกรม การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นคว้าหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา โครงงาน Problem-based Learning และ Cooperative Learning
- ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบข้อเขียนและสอบปฏิบัติ
- นำเสนอสรุปการอ่านจากการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
- วิเคราะห์ และแก้ปัญหาโจทย์โดยการเขียนโปรแกรมจากกรณีศึกษา
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์โจทย์ และแก้ไขปัญหาโดยใช้การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์อย่างสร้างสรรค์ นอกจากนี้ นักศึกษาจะมีทักษะทางปัญหาสอดคล้องกับคุณสมบัติของหลักสูตร ดังนี้

 คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ  สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์  สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ  สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
การมอบหมายให้นักศึกษาทำโครงงาน และนำเสนอผลการศึกษา
- จากการวิเคราะห์กรณีศึกษา ในการนำเทคนิคการเขียนโปรแกรม มาใช้ในการแก้ปัญหา
- การสะท้อนแนวคิดจากผลลัพธ์ที่เกิดจากการเขียนโปรแกรม และความประพฤติ
ทดสอบย่อย สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โจทย์ทางวิทยาศาสตร์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมทั้งสอบปฏิบัติ
นักศึกษาจะมีทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ตามข้อกำหนดในคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้

สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆในกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน  มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม  มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
- จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์โจทย์กรณีศึกษา และการนำเสนอวิธีแก้ปัญหา
- มอบหมายงานรายกลุ่ม และรายบุคคล เช่น การค้นคว้าการประยุกต์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในงานต่างๆ การใช้คอมพิวเตอรอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน
- การนำเสนอรายงาน
- ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
- รายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
- รายงานการศึกษาด้วยตนเอง
- มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
- มีความสามารถในการสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
- สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
- สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
นอกจากทักษะดังกล่าวตามคุณสมบัติของหลักสูตรแล้ว รายวิชานี้ นักศึกษาจะมีทักษะอื่นๆ อีก เช่น
- ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข ลำดับการทำงานของประโยคคำสั่งทางคณิตศาสตร์
- ทักษะการคิดสูตรในการแก้ปัญหาโจทย์ทางคณิตศาสตร์
- พัฒนาทักษะในการแปลและตีความ คำสั่งทางโปรแกรม การแก้ปัญหาจากข้อความแสดงความผิดพลาดจากการเขียนโปรแกรม ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษ
- พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
- พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
- พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
- ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งงานทางอีเมล์ การสร้างห้องแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ  
ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
- มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ และทำรายงาน โดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
- นำเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม       
- การจัดทำรายงาน และนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
- การมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. คุณธรรม จริยธรรม
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5
1 12031307 การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1-1.3 2.1-2.7 3.1-3.5 4.1-4.9 5.1-5.6 สอบกลางภาค 9 30%
2 6.1-6.8 7.1-7.4 8.1-8.3 9.1-9.5 10.1-10.4 สอบปลายภาค 17 30%
3 1.1-1.3 2.1-2.7 3.1-3.5 4.1-4.9 5.1-5.6 6.1-6.8 7.1-7.4 8.1-8.3 9.1-9.5 10.1-10.4 การส่งงานตามที่มอบหมาย รายบุคคล และรายกลุ่ม ตลอดภาคการศึกษา 40%
นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์, การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ ด้วย Java 2
ตำราประกอบ มีดังนี้ การพัฒนาโมเดลสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุด้วย UML 2.0 Developing Software With UML การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุด้วย Visual Basic.NET การเขียน โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับการสอนในห้องปฏิบัติการ มีดังนี้
- Netbean IDE
- EditPlus 3.51
- Microsoft Visio 2010 - MySQL
เว็บ ไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
- การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน
แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
- แบบฝึกหัดของนักศึกษา
- ผลการสอบของนักศึกษา
การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
- การวิจัยในชั้นเรียน
- การวิจัยนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
- การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
- มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรลลฃ
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอน และรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
- ปรับปรุงรายวิชาทุก 1 ภาคการศึกษา หรือ ตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์