โปรแกรมประยุกต์ทางฐานข้อมูล

Database Application Software

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล สามารถออกแบบระบบฐานข้อมูลเชิงวัตถุและระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย โดยเป็นการออกแบบฐานข้อมูลเชิงแนวคิด การออกแบบฐานข้อมูลเชิงตรรกะ การออกแบบฐานข้อมูลเชิงกายภาพการวางแผนจัดการ มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับเครื่องมือและผลิตภัณฑ์ทางด้านการจัดการฐานข้อมูล และโปรแกรมประยุกต์ที่ใช้สำหรับจัดการฐานข้อมูลต่าง ๆ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญ หลักการของระบบจัดการฐานข้อมูล และโปรแกรมประยุกต์ทางด้านฐานข้อมูล สามารถนำไปประยุกต์/พัฒนาระบบสารสนเทศโดยใช้โปรแกรมประยุกต์ทางด้านฐานข้อมูลใช้ในองค์กร หรือธุรกิจต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน
การออกแบบระบบจัดการฐานข้อมูล หลักและวิธีการสร้างระบบฐานข้อมูลเชิงวัตถุ ระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย การเชื่อมต่อกับผู้ใช้ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลแบบไคลแอนด์/เซิร์ฟเวอร์ ข้อดีและอุปสรรคต่าง ๆ ของเครื่องมือและผลิตภัณฑ์ทางด้านการจัดการฐานข้อมูล การประยุกต์ใช้ระบบฐานข้อมูล
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1. ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
1.1.2. มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.1.3. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
1.1.4. เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.5. เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.6. สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจาการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคล องค์กรและสังคม
1.1.7. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2.1. สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในเนื้อหารายวิชา
1.2.2. บรรยายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
1.2.3. การทดลองปฏิบัติจริง
1.2.4. อภิปรายกลุ่มทั้งกลุ่มเฉพาะ และกลุ่มใหญ่
1.2.5. กำหนดให้นักศึกษาหากรณีตัวอย่างที่เกี่ยวข้องแล้วนำมาวิเคราะห์ตามศาสตร์และทฤษฎีที่เรียนพร้อมกับแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
1.3.1. พิจารณาจากพฤติกรรมการเข้าเรียนและการทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างถูกต้องและตรงเวลา
1.3.2. พิจารณาจากการร่วมอภิปรายที่มีเหตุผลถูกต้อง เหมาะสม และสร้างสรรค์
1.3.3. ประเมินผลการนำเสนอกรณีศึกษาที่มอบหมาย
2.1.1. มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2. สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
2.1.3. สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์ให้ตรงตามข้อกำหนด
2.1.4. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์
2.1.5. รู้ เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง
2.1.6. มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ
2.1.7. มีประสบการณ์ในการพัฒนาและหรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง
2.1.8. สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.2.1. บรรยายประกอบการยกตัวอย่าง
2.2.2. การทำงานกลุ่มและนำเสนอรายงานจากการค้นคว้า
2.2.3. การศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นหลักในการเรียนและค้นคว้า
2.3.1. ทดสอบเก็บคะแนนกลางภาคและปลายภาคโดยเน้นที่หลักการและวิธีการคิด โดยข้อสอบมีให้ออกแบบฐานข้อมูล
2.3.2. ประเมินผลจากรายงานที่ค้นคว้า
3.1.1. คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
3.1.2. สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
3.1.3. สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.4. สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
3.2.1. มอบหมายให้ทำโครงงานเพื่อให้นักศึกษาฝึกวิเคราะห์ วางแผน
3.2.2. ให้นักศึกษานำเสนอผลงานที่ได้พัฒนา
3.3.1. ทดสอบเก็บคะแนนกลางภาคและปลายภาคโดยเน้นที่หลักการและวิธีการคิด โดยข้อสอบมีให้ออกแบบฐานข้อมูล
3.3.2. ประเมินผลจากรายงานที่ศึกษาค้นคว้า
4.1.1. สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.2. สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ในกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นำหรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
4.1.3. สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.1.4. มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
4.1.5. สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
4.1.6. มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.2.1. มอบหมายให้ทำโครงงานเพื่อให้นักศึกษาฝึกวิเคราะห์ วางแผน
4.2.2. มอบหมายงานเป็นรายบุคคล และรายงานกลุ่ม
4.3.1. จากรายงานที่นักศึกษานำเสนอหน้าชั้นเรียน
4.3.2. พฤติกรรมภายในชั้นเรียน
5.1.1. มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
5.1.2. สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
5.1.3. สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม
5.1.4. สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารอย่างเหมาะสม
5.2.1. มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองและทำรายงานโดยมีแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2. มอบหมายงานให้สร้างไดอะแกรมและอีอาร์โดยใช้ซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม
5.2.3. มอบหมายโครงงานให้ออกแบบและสร้างฐานข้อมูลโดยใช้ซอฟต์แวร์ระบบจัดการฐานข้อมูล
5.2.4. นำเสนอโครงงานโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1. จากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายเมื่อเพื่อนนำเสนอเสร็จแล้ว
5.3.2. จากไดอะแกรมและอีอีอาร์ที่สร้างขึ้นจากซอฟต์แวร์
5.3.3. จากรายงานที่ส่งและการนำเสนอผลงานที่สร้างขึ้น
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 2.2, 2.3, 2.4, 2.5, 2.6 3.1, 3.2, 3.3, 3.4 5.1, 5.2, 5.4 สอบกลางภาค 9 30%
2 2.1, 2.2, 2.3, 2.4, 2.5, 2.6 3.1, 3.2, 3.3, 3.4 5.1, 5.2, 5.4 สอบปลายภาค 17 30%
3 1.3, 1.4, 1.5, 1.6, 1.7 4.1, 4.2, 4.3, 4.4, 4.5, 4.6 5.3 นำเสนองานกลุ่ม และรายบุคคล ตลอดภาคการศึกษา 30%
4 1.1, 1.2 การเข้าชั้นเรียน และการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
วิเชียร  เปรมชัยสวัสดิ์. (2546). ระบบฐานข้อมูล. สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี : กรุงเทพฯ.
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2546). การออกแบบและจัดการฐานข้อมูล. ซีเอ็ดยูเคชั่น : กรุงเทพฯ.
อัจฉรา ธารอุไรกุล และคนอื่น ๆ. (2541). ระบบฐานข้อมูลเบื้องต้น. บริษัทเนติกุลการพิมพ์ : กรุงเทพฯ.
1.1 การสังเกตจากพฤติกรรมของผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการจัดการเรียนการสอนระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
2.1 การสังเกตการณ์สอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และการให้คะแนนพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำงาน
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองที่หลากหลาย