งานเครื่องมือกล

Machine Tool

เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับชนิดของเครื่องมือกลและการใช้งาน เช่น เครื่องมือกลสำหรับการหล่อโลหะ การขึ้นรูปโลหะ การตัดเฉือนเนื้อของวัสดุออก และเครื่องมือกลพิเศษสำหรับงานเฉพาะ เป็นต้น โครงสร้างของเครื่องมือกล หน่วยต้นกำลังและการขับเคลื่อนทางกล รางเลื่อน รองลื่นและตลับลูกปืน การปรับตั้งเครื่องมือกล ระบบควบคุมเครื่องมือกล เช่น ซีเอ็นซี พีแอลซี เป็นต้น เพื่อนักศึกษาจะได้นำความรู้ ความสามารถไปใช้ในการประกอบอาชีพทางด้านวิศวกร
เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้พื้นฐานในด้านการใช้งานเครื่องมือกลต่างๆซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานของวิศวกร ทางอาจารย์ผู้สอนจึงได้ดำเนินการจัดทำแผนการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ทุกหัวข้อของรายวิชาและเป็นแนวทางให้นักศึกษาได้มีการเตรียมความพร้อมในการศึกษาล่วงหน้าและทางผู้สอนเองก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้ทันต่อเทคโนโลยีการผลิตซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ศึกษาเกี่ยวกับชนิดของเครื่องมือกลและการใช้งาน เช่น เครื่องมือกลสำหรับการหล่อโลหะ การขึ้นรูปโลหะ การตัดเฉือนเนื้อของวัสดุออก และเครื่องมือกลพิเศษสำหรับงานเฉพาะ เป็นต้น โครงสร้างของเครื่องมือกล หน่วยต้นกำลังและการขับเคลื่อนทางกล รางเลื่อน รองลื่นและตลับลูกปืน การปรับตั้งเครื่องมือกล ระบบควบคุมเครื่องมือกล เช่น ซีเอ็นซี พีแอลซี เป็นต้น
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
1. นักศึกษาต้องเข้าชั้นเรียน และส่งงานที่มอบหมายตามกำหนดเวลา 2. ชี้แจงวิธีการปฏิบัติในการเรียนการสอน และกฎระเบียบข้อบังคับ 3. บรรยายเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือกลที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม 4. มอบหมายงานประจำวิชา ค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และรายงาน
1. พิจารณาพฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งผลงานที่ได้รับมอบหมายตรงตามกำหนดเวลา 2. มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงานอย่างถูกต้องและเหมาะสม 3. การร่วมกิจกรรมระหว่างเรียนการร่วมอภิปรายที่มีเหตุผลถูกต้องเหมาะสมและสร้างสรรค์
มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
1. บรรยาย อภิปราย ยกตัวอย่าง 2. มีกิจกรรม ประเด็นปัญหาเพื่อการถาม–ตอบในระหว่างการเรียนการสอน 3. การนำเสนอผลงานและรายงาน การวิเคราะห์ผลงานที่นักศึกษาทำ
1. ทดสอบกลางภาคและสอบปลายภาคด้วยข้อสอบที่เน้นวัดหลักการและทฤษฎี 2. ประเมินผลจากงานที่มอบหมาย 3. นำเสนอสรุปผลจากรายงานที่มอบหมาย และการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
-สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ -สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
1. การบรรยาย/อภิปราย/ซักถาม 2. ปฏิบัติงานและวิเคราะห์งานที่ได้ปฏิบัติ 3. การทำงานกลุ่ม การนำส่งผลงาน 4. การสรุปบทเรียน
1. ตรวจผลการสอบกลางภาคและสอบปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้เครื่องมือกลในงานอุตสาหกรรม 2. วัดผลจากการทดสอบและการส่งผลงาน 3. สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานและการแก้ไขปัญหารวมถึงการทำงานกลุ่ม
รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสมสามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
1. มอบหมายงานกลุ่ม และรายบุคคล 2. ปฏิบัติตามใบงานที่ได้รับมอบหมาย 3. การนำเสนอรายงาน
1. ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด 2. ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 3. ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
1. มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำการเขียน การใช้สัญลักษณ์ จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ 2. นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1. ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี 2. ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและการวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงาน
ไม่มี
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตนในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้ สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
1 ENGIE202 งานเครื่องมือกล
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1-1.4 1.1-2.6 3.1-4.4 3.1-6.3 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 5 9 14 17 10 25 10 25
2 1.1-6.3 การส่งงานตามที่มอบหมาย ตรงต่อเวลา รายงาน ตลอดภาคการศึกษา 20
3 1.1-6.3 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10
มานพ ตัณตระบัณฑิตย์. กรรมวิธีการผลิต. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย–ญี่ปุ่น), 2542. สมศักดิ์ อิทธิโสภณกุล. อุตสาหกรรมการผลิตเหล็ก. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย–ญี่ปุ่น), 2555. ณรงค์ศักดิ์ ธรรมโชติ. กระบวนการผลิต. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2559. ณรงค์ ตันชีวะวงศ์. ระบบ PLC. พิมพ์ครั้งที่ 27. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย–ญี่ปุ่น), 2560. ไชยชาญ หินเกิด. มอเตอร์ไฟฟ้าและการควบคุม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย–ญี่ปุ่น), 2560. ศุภชัย สุรินทร์วงศ์. เครื่องกลไฟฟ้า 1 ตอน 2: มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย–ญี่ปุ่น), 2541. ชลอ การทวี. งานเครื่องมือกลเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เอมพันธ์, 2548. พิชัย จันทะสอน และคณะ. งานเครื่องมือกลเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมอาชีวะ, 2550. ศุภชัย รมยานนท์ และฉวีวรรณ รมยานนท์. ทฤษฎีเครื่องมือกล 1. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2539. อำพล ซื่อตรง. ชิ้นส่วนเครื่องกล. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ, 2545.
มานพ ตัณตระบัณฑิตย์. งานซ่อมบำรุงชิ้นส่วนเครื่องจักรกล. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย–ญี่ปุ่น), 2540. ออมรอน อีเลคทรอนิคส์. การใช้งาน PLC ระดับ 1. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2552. เดชฤทธิ์ มณีธรรม และคณะ. คัมภีร์การใช้งาน พีแอลซี เบคฮอฟฟ์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2559. ธวัชชัย อัตถวิบูลย์กุล. ทฤษฎีมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมอาชีวะ, 2540. ณรงค์ ชอนตะวัน. มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมอาชีวะ, 2554. เธียรชัย บุณยะกุล และศิริชัย อยู่ภักดี. เครื่องมือกลงานช่างยนต์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย–ญี่ปุ่น), 2536.
-เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์ -เว็บไซต์ สำหรับการสืบค้นข้อมูลและรูปภาพ เช่น Google -เว็บไซต์ ที่เกี่ยวข้องกับสื่อวีดีโอเครื่องจักรและการใช้งาน เช่น Youtube
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ