สุนทรียศาสตร์

Aesthetics

นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในความหมาย ความสำคัญ และคุณค่าของสุนทรียะ ประเภทต่างๆ ของงานศิลปะ ทางด้านศิลปกรรม สถาปัตยกรรม การออกแบบ ดนตรี วรรณกรรม นาฏลักษณ์ รวมทั้งศิลปะพื้นบ้าน แนวคิดของการแสดงออกของความรู้สึกทางสุนทรียะ การสร้างสรรค์และประเมินค่าความงาม ของสุนทรียศาสตร์ตะวันออก และตะวันตก
เพื่อพัฒนากระบวนการให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความงาม และสุนทรียะ ประเภทของงานศิลปะ ในแขนงต่างๆ ทั้งที่เป็นสากล และที่เป็นศิลปะพื้นบ้านของท้องถิ่น สามารถวิเคราะห์ วิจารณ์ผลงานทางด้านศิลปะด้วยมุมมองทางสุนทรียะ
ศึกษาเกี่ยวกับ ความหมาย ความสำคัญและคุณค่าของสุนทรียศาสตร์ แนวคิดเกี่ยวกับความรู้สึกและการแสดงออก ปัญหาเกี่ยวกับความมีอยู่ของความงาม การสร้างสรรค์และการประเมินความงาม รวมทั้งสุนทรียศาสตร์ตะวันออกและตะวันตก
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาภายในชั้นเรียน
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ อย่างน้อย 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
1.1.2 มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง
1.1.3 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.4 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคมมีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างเกี่ยวกับประเด็นทางคุณธรรม และจริยธรรม ในงานศิลปกรรม และการแสดงออกทางความคิด
พฤติกรรมในการเรียน การแสดงออก จากงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
มีความรู้และเข้าใจสามารถอธิบายถึงความหมาย คุณค่า การแสดงออกทางความคิด ความรู้สึก ตลอดจนการสร้างสรรค์ การประเมินค่าทางสุนทรียศาสตร์ของทั้งตะวันตก และตะวันออก
บรรยาย อธิบาย  ยกตัวอย่าง ประกอบสื่อแบบต่างๆ และให้รายงานโครงงาน Problem – based Learning
2.3.1   สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดความรู้ ความเข้าใจ หลักการ และแนวคิด
2.3.2   ประเมินจากผลรายงาน หรือโจทย์จาก Problem – based Learning
พัฒนาความรู้ ความเข้าใจสามารถคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อเข้าใจ และแก้ไขปัญหาทางสุนทรียศาสตร์ที่เกิดขึ้น
3.2.1   บรรยาย อธิบาย ยกตัวอย่าง ประกอบสื่อ และให้นักศึกษาจัดทำรายงานในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง
3.2.2   การสะท้อนแนวความคิดจากการรายงานหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย
3.3.1   สอบปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์แนวคิดในการแก้ไขปัญหาอย่างมีระบบโดยใช้ข้อมูลจากการเรียนรู้ ศึกษา ค้นคว้า รายงาน
3.3.2   วัดผลจากการรายงานผลการค้นคว้าหัวข้อรายงานที่เกี่ยวข้อง
3.3.3   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้สอน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง
4.1.2   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนด และเงื่อนไข
4.2.1  มอบหมายงานศึกษาค้นคว้ารายบุคคล หรืองานกลุ่ม
4.2.2  ให้มีการนำเสนอรายงานเดี่ยว หรือกลุ่มตามแผนกำหนดการส่งงาน
4.2.3  การศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้ทางศิลปะและสุนทรียะนอกสถานที่
4.3.1  ประเมินตนเอง และประเมินจากกลุ่ม ตามแผนที่กำหนด
4.3.2  ประเมินจากงานที่นำเสนอ ตามกำหนด
4.3.3  ประเมินความสำเร็จจากผลงานแต่ละขั้นตอนตามแผน   
5.1.1   ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
5.1.2   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง  การเขียน
5.1.4   พัฒนาทักษะในการสืบค้นข้อมูลทั้งแบบเอกสาร และทางอินเตอร์เน็ต
5.1.5   ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1   กำหนดให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง หรือแบบกลุ่มจากแหล่งข้อมูล หรือเว็บไซต์ โดยมีการนำตัวเลข หรือสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2   นำเสนอผลงานในแต่ละขั้นตอนโดยใช้ข้อมูลเชิงสถิติที่มีรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1   ประเมินจากการรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปราย และวิธีการอภิปราย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สอบปลายภาค 17 30%
2 การปฏิบัติงานและผลงานตามแผนงาน การนำเสนอและผลงาน ตลอดภาคการศึกษา 65 %
3 - การเข้าชั้นเรียน - การแต่งกาย - การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน - การส่งงานตามเวลาที่กำหนด ตลอดภาคการศึกษา 10%
1.  กำจร  สุนพงษ์ศรี.  สุนทรียศาสตร์.  กรุงเทพ .  2555.
2.  กำจร  สุนพงษ์ศรี.  ประวัติศาสตร์สิลปะตะวันตก. กรุงเทพ. 2551.
3.  วนิดา  ขำเขียว.  สุนทรียศาสตร์.  กรุงเทพฯ.  2543.  
4.  วิรุณ  ตั้งเจริญ.  ประวัติศาสตร์ศิลป์และการออกแบบ.  กรุงเทพ : สำนักพิมพ์สันติศิริ.  2544.  
5.  วิรุณ  ตั้งเจริญ.  สุนทรียศาสตร์เพื่อชีวิต.  กรุงเทพ : สำนักพิมพ์สันติศิริ.  2546.  
6.  วิบูลย์  ลี้สุวรรณ.  ศิลปะชาวบ้าน.  กรุงเทพฯ : อัมรินทร์.  2546.  
7.  ปัญญา  เทพสิงห์.  ศิลปะเอเชีย.  กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.  2548.  
8.  ธีรยุทธ  บุญมี.  ถอดรื้อปรัชญาศิลปะแบบตะวันตกเป็นศูนย์กลาง.  กรุงเทพฯ : สานธาร.  2546.  
9.  วิบูลย์  ลี้สุวรรณ.  ศิลปะชาวบ้าน.  กรุงเทพฯ : อัมรินทร์.  2546.
10.  ชลูด  นิ่มเสมอ.  องค์ประกอบของศิลปะ .  กรุงเทพ :  ไทยวัฒนาพานิช.  2531.
11. สุชาติ  เถาทอง.  ศิลปะวิจารณ์.  กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์. 2537.
12. สมชาย  พรหมสุวรรณ.  หลักการทัศนศิลป์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2548.
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในการทำโครงการของแต่ละบุคคล
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาไว้ดังนี้
- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
- แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 ศึกษาดูงาน ค้นคว้า และหาแนวการสอนเพิ่มเติม
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยคณาจารย์ในกลุ่มผู้สอนวิชาสุนทรียศาสตร์
4.2 มีกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอน และรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี ตามข้อเสนอแนะ และผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์