การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ

Object Oriented Programming

1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเรื่องแนวคิดเชิงวัตถุ
1.2 เพื่อให้นักศึกการวิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุ ลักษณะสำคัญขององค์ประกอบพื้นฐานของวัตถุ
1.3 เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุได้อย่างถูกต้องตามทฤษฎี
1.4 เพื่อให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของการใช้แนวคิดเชิงวัตถุเพื่อการเขียนโปรแกรม
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุในระดับที่สูงขึ้นและให้สอดคล้องกับสาระวิชาในกรอบหลักสูตรมาตรฐานของรายวิชา
ศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดเชิงวัตถุ คลาสออบเจ็กต์ การซ่อนสารสนเทศ การห่อหุ้ม ความสามารถในการสร้างตัวแทน กรรมวิธีการถ่ายทอดคุณสมบัติ ภาวะที่มีหลายรูปแบบ ยูเอ็มแอล และภาษาสัญลักษณ์ที่ใช้ในการอธิบายโมเดล และการเขียนโปรแกรม ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมโดยใช้แนวคิดเชิงวัตถุ
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
    พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลสงวนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟแวร์ และ ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา มีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม
1.1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจต่อบุคคลองค์กรและสังคม
1.1.7 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2.1 อาจารย์ผู้สอนสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพในการสอน
1.2.2 กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย
1.2.3 เน้นการเข้าชั้นเรียนตรงเวลาและการแต่งกายให้เป็นตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
1.2.4 มอบหมายงานกลุ่มที่เสริมสร้างการวางแผนการทางาน การทำงานเป็นทีม การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
1.3.1 การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
1.3.2 การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
1.3.3 การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม และความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
2.1.1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ วิธีทำงานของภาษาเชิงวัตถุ
2.1.2 มีความรู้ความเข้าใจ วิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุ ลักษณะสำคัญขององค์ประกอบพื้นฐานของวัตถุ
2.1.3 มีทักษะเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมโดยใช้แนวคิดเชิงวัตถุ
2.2.1 เน้นการเรียนการสอนที่เป็น active learning
2.2.2 จัดให้มีการเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติตามใบงาน
2.2.3 ฝึกปฏิบัติการเขียนโปรแกรมโดยใช้แนวคิดเชิงวัตถุ
2.3.1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2 ประเมินจากผลงานการทำแบบฝึกหัดและฝึกปฏิบัติในห้องเรียน
2.3.3 ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้า
2.3.4 ความรับผิดชอบในการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย
3.1.1 คิดและจำอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.3 สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
3.2.1 มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าทำรายงานตามหัวข้อที่กำหนดให้และนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า
3.2.2 จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ จากกรณีศึกษา
3.2.3 สาธิตตัวอย่างและกรณีศึกษา
3.3.1 สอบกลางภาคและสอบปลายภาค
3.3.2 ประเมินจากงานที่มอบหมายทั้งงานกลุ่มและงานรายบุคคล
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วยตามกำหนดเวลา
4.2.1 จัดการเรียนการสอนที่เน้นการทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4.2.2 สอดแทรกความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย
4.3.1 ประเมินความรับผิดชอบตามงานที่ได้รับมอบหมายทั้งงานกลุ่มและงานรายบุคคล
5.1.1 พัฒนาทักษะการคิดคำนวณเชิงตัวเลข
5.1.2 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงานและนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.1.4 พัฒนาทักษะในการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.5 พัฒนาทักษะในการนำเสนอรายงาน โดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากแหล่งความรู้ต่างๆ
5.2.2 นำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
5.3.2 ประเมินจากรายงาน และการนำเสนอรายงานด้วยสื่อเทคโนโลยี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1-3 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 4 10%
2 1-6 สอบกลางภาค 8 25%
3 7-10 ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 12 10%
4 7-12 สอบปลายภาค 16 25%
5 1-16 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า, การนำเสนอรายงาน, การทำงานกลุ่มและผลงาน, การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
6 1-16 การเข้าชั้นเรียน, การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน, การแต่งกายและความประพฤติ ตลอดภาคการศึกษา 10%
ธีรวัฒน์ ประกอบผล. (2559). เขียนโปรแกรมเชิงวัตถุภาษา JAVA ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ซิมพลิฟาย.
บัญชา ปะสีละเตสัง. (2559). การเขียนโปรแกรม Java และ Andriod. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด.
พนิดา พานิชกุล. (2554). การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ด้วยภาษา Java. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ เคทีพี.
สุดา เธียรมนตรี. (2558). คู่มือเรียนเขียนโปรแกรมภาษา Java ฉ.สมบูรณ์ 2nd Edition. นนทบุรี: บริษัท ไอดีซี พรีเมียร์ จำกัด.
อรพิน ประวัติบริสุทธิ์. (2560). คู่มือเขียนโปรแกรมด้วยภาษา JAVA ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: บริษัท โปรวิชั่น จำกัด.
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น http://www.w3schools.com/
1.1 การสังเกตจากพฤติกรรมของผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการจัดการเรียนการสอนระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
2.1 การสังเกตการณ์สอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และการให้คะแนนพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำงาน
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ