การวางแผนการทดลองทางการเกษตร

Experimental Designs for Agriculture

1.1 รู้จรรยาบรรณของนักวิจัย ประเภทของงานวิจัย และเทคนิคการดำเนินงานวิจัย
1.2 เข้าใจองค์ประกอบของการทดลอง การประมาณและการควบคุมความแปรปรวน การอธิบายผลที่เหมาะสม
1.3 เข้าใจแผนการทดลองแบบปัจจัยเดียวและการวิเคราะห์ความแปรปรวน
1.4 เข้าใจแผนการทดลองแบบสองปัจจัยและการวิเคราะห์ความแปรปรวน
1.5 เข้าใจแผนการทดลองแบบหลายปัจจัยและการวิเคราะห์ความแปรปรวน
1.6 เข้าใจการเปรียบเทียบผลการทดลอง
1.7 เข้าใจการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงเส้นและสหสัมพันธ์
1.8 เข้าใจเทคนิคและปัญหาการทดลองทางการเกษตร
1.9 เข้าใจการนำเสนอผลการทดลอง
มีการปรับปรุงโดยเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาและสื่อการสอนภาคปฏิบัติให้ทันสมัยและสอดคล้องกับการนำไปใช้ในการวิจัยและประกอบอาชีพ รวมทั้งสามารถศึกษาเพิ่มเติมด้วยตนเองได้
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการวิจัยเชิงทดลอง หลักการวางแผนการทดลอง สมมุติฐานของการทดลอง แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ แผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ แผนการทดลองแบบลาตินสแควร์ การจัดแผนการทดลองแบบแฟคทอเรียล แผนการทดลองประยุกต์ทางการเกษตร การเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ย สหสัมพันธ์ สมาการถดถอย การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม และใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับวิเคราะห์ผลทางสถิติ และใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เสนอผลงานได้
- จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
- ตระหนักในความรับผิดชอบต่อจรรยาบรรณของนักวิจัย
- มีวินัยต่อการเรียน ส่งมอบงานที่มอบหมายตามเวลาที่กำหนด
- ใช้การสอนแบบสื่อสารสองทาง เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือตอบคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้อง
- ยกตัวอย่างการวิจัย
- อาจารย์ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง การมีวินัยเรื่องเวลา การเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา การเคารพและให้เกียรติแก่อาจารย์อาวุโส เป็นต้น
-ประเมินผลจากพฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียน
-การตรวจสอบการมีวินัยต่อการเรียน การตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียนและการส่งรายงาน
ประเภทของงานวิจัย เทคนิคการดำเนินงานวิจัย แผนการทดลองต่าง ๆ ในการวิจัยทางเทคโนโลยีการเกษตร การวิเคราะห์ข้อกำหนดทางสถิติ การแปลงข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา การวิเคราะห์ความแปรปรวน ความแปรปรวนร่วม สหสัมพันธ์และการถดถอย การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปช่วยวิเคราะห์ข้อมูล การแปลผล การสรุปและวิจารณ์ การเขียนรายงานวิจัยและการนำเสนอ
-ใช้การสอนแบบเน้นการสอนโดยผู้สอน (teacher-centered approach) ร่วมกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (PjBL, PBL and child-centered approach) ได้แก่ การสอนบรรยายร่วมกับการสื่อสารสองทาง โดยเน้นให้นักศึกษาหาทางค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ การสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง การสอนแบบร่วมปฏิบัติการและการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
- การสอบย่อย สอบกลางภาคและสอบปลายภาค
- การทำรายงานรายบุคคล
- สามารถคิดวิเคราะห์ แสดงความคิดเห็นต่อปัญหาทั้งในและนอกชั้นเรียน
- สามารถใช้ความรู้ทางทฤษฏีเพื่อการพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติงานการวิจัยในสถานการณ์จริง
- ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา
- มอบหมายงานกลุ่มจัดทำกรณีศึกษาด้านการวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลจากสถานการณ์จริง
- ประเมินจากการตอบปัญหาและการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน ทั้งรายบุคคลและกลุ่ม
- รายงานกลุ่ม
- การสอบย่อย การสอบข้อเขียนกลางภาคและปลายภาค
- มีความรับผิดชอบในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย
- สามารถปรับตัวในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ในทุกสถานภาพ
- วางตัวและร่วมแสดงความคิดเห็นในกลุ่มได้อย่างเหมาะสม
- จัดกิจกรรมเสริมในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนที่นักศึกษามีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
- มอบหมายงานแบบกลุ่ม เพื่อให้นักศึกษาทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
- ประเมินการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
- ประเมินความรับผิดชอบจากรายงานกลุ่มของนักศึกษา -
- สามารถใช้ Power point ในการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย
- สามารถคัดเลือกแหล่งข้อมูล และสังเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ประโยชน์เชิงตัวเลขได้
- สามารถค้นคว้าหาข้อมูล/ติดตามการเปลี่ยนแปลงทางอินเตอร์เน็ต
- สามารถใช้ภาษาไทยในการนำเสนอด้วยการเขียนและการพูดได้อย่างเหมาะสม
- ใช้ PowerPoint ที่น่าสนใจ ชัดเจน ง่ายต่อการติดตามทำความเข้าใจ ประกอบการสอนในชั้นเรียน
- การสอนโดยมีการนำเสนอข้อมูลจากการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นตัวอย่างกระตุ้นให้นักศึกษาเห็นประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอและสืบค้นข้อมูล
- การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูลและแหล่งข้อมูล
- การมอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
- การมอบหมายงานที่ต้องมีการนำเสนอทั้งในรูปเอกสารและด้วยวาจาประกอบสื่อเทคโนโลยี
- ประเมินทักษะการใช้ภาษาเขียนจากเอกสารรายงาน
- ประเมินทักษะการใช้สื่อและการใช้ภาษาพูดจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
- ประเมินรายงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย 4 8 12 18 ตลอดภาคการศึกษา 10% 15% 10% 15% 40%
Statistical Procedures for Agricultural Research (K & A Gomez)
All research paper in Agri. Experiment
เอกสารการวิจัยสาขาต่างๆ รายงานปัญหาพิเศษระดับ ป ตรี
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งรวมถึง วิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ และเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชาผ่านระบบคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย
2.1 การประเมินการสอนจากการสังเกตขณะสอน และการสัมภาษณ์ตัวแทนนักศึกษา
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา แล้วจัดทำรายงานรายวิชาตามรายละเอียดที่ สกอ.กำหนดทุกภาคการศึกษา มีการประชุมอาจารย์เพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์หรือผู้ทรงคุณวุฒิ
4.2 การตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชาตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
- ทบทวนและปรับปรุงรายวิชาทุก 3 หรือ 5 ปี ตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์
- การพัฒนาคุณภาพและประสบการณ์ของผู้สอน